มองย้อนไปในอดีตยุคทองสัมฤทธิ์
ชุมชนบางเผ่า ตัดต้นไม้ใหญ่มาต้นหนึ่ง
ตัดลำต้นช่วงพอเหมาะแล้วขุดลงเป็นโพรงในรูปยาวเพียงพอสำหรับวางศพผู้ตายลงในลำต้นนั้น ก่อนจะนำไปฝังหรือเผา เป็นโลงขุดในต้นไม้ (treetrunk coffin) และใช้ไม้จากต้นเดียวกันนั้นทำฝาปิดด้วย ต่อมาเมื่อประชากรเพิ่มขึ้น ต้นไม้ใหญ่ๆน้อยลงๆ
เพราะถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างที่พักอาศัย
เป็นเครื่องมือเครื่องไม้และเป็นเชื้อเพลิงฯลฯ
อย่างไรก็ดีธรรมเนียมนี้ได้สืบทอดมาจนถึงยุคกลาง ดังหลักฐานที่พบโลงขุดในต้นไม้หลายแห่งในประเทศอังกฤษ
เช่นเล่ากันว่า ร่างของพระเจ้าอาร์เธอร์ค้นพบในปี 1191 ที่วัดกล๊าสเถิ่นบรี แอ๊บี้
(Glastonbury Abbey)
นั้น ร่างนั้นอยู่ในหีบที่ทำจากลำต้นโอ๊คขนาดใหญ่ การใช้ลำต้นของต้นไม้ขนาดใหญ่ๆ
ทำให้คิดถึงความจริงอีกประการหนึ่งในชีวิตของชนชาวโบราณ ที่ใช้ลำต้นใหญ่ๆมาทำเรือ
เป็นเรือขุด
การนำศพลอยน้ำก็เป็นประเพณีฌาปนกิจแบบหนึ่งมาตั้งแต่ยุคโบราณ
การใช้ลำต้นไม้ใหญ่มาเป็นหีบศพปรากฏในขนบธรรมเนียมของชนหลายเผ่า รวมทั้งอีจิปต์ในศตวรรษที่หนึ่งด้วย
ต่อมาการทำหีบศพไม้ (coffin) มีขนาดและรูปลักษณ์มาตรฐานมากขึ้น เป็นหีบสี่เหลี่ยมผืนผ้า[1] ในขนบเดิม
หีบศพเป็นแบบเรียบๆ
ต่อมาในสมัยใหม่เพิ่มสิ่งประดับลงบนฝาหีบบ้างเช่น รูปนกพิลาบขาว ไม้กางเขน หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายสำหรับผู้ตายและหรือตระกูลของผู้ตาย ค่านิยมของกลุ่มความเชื่อบางกลุ่ม
ต้องการใช้ไม้ทำหีบศพเท่านั้น และจะไม่ใช้ตะปูเหล็กหรือโลหะใด (ในจีนหรือญี่ปุ่น
นิยมใช้ไม้เนื้อหอมเช่นไม้แก่นจันทน์
หรือไม้อื่นที่ผุพังช้าเช่น ไม้ไซเพรสเป็นต้น) ในสมัยใหม่ฝาหีบศพบางทีเป็นแก้วหรือกระจกเนื้อดี
เพื่อเปิดให้คนเห็นใบหน้าหรือทั้งร่างของผู้ตายตลอดไป เช่นกรณีหีบศพของเลนิน (Vladimir Lenin, 1870-1924) ที่ตั้งประดิษฐานในอาคารที่เปิดเพื่อการนี้โดยเฉพาะณจัตุรัสแดง
กรุงมอสโคว (Red
Square, Moscow) ในสมัยใหม่ หีบศพอาจทำจากวัสดุอื่นๆก็ได้ เช่นโลหะ
ไม้ชนิดต่างๆหรือไฟเบอร์กลาส (fiberglass หรือเส้นไยแก้ว)
ขึ้นอยู่กับรสนิยมหรือความมั่งคั่งของตระกูล
ที่แน่นอนคือหีบจะเก็บร่างผู้ตายไว้ภายในได้อย่างดี มักจะปิดสนิทแน่นหนาอากาศเข้าออกไม่ได้ วัสดุที่ใช้
บางทีก็เร่งการเน่าเปื่อยของร่างกาย
บางทีก็ชะลอการเน่าเปื่อยให้ช้าลงไปมาก
เนื้อหนังที่เน่าเปื่อยจะอยู่ภายในหีบรวมทั้งเชื้อโรคหรือแบ็คทีเรียอื่นใดที่มากับร่างผู้ตาย
จะไม่มีการเปิดหีบศพนอกจากกรณีจำเป็นสุดๆเท่านั้นเช่นเพื่อชันสูตรหรือตรวจหาดีเอ็นเอของผู้ตายเพื่อประโยชน์ทางกฎหมายในกรณีพิเศษต่างๆเป็นต้น
ในสมัยใหม่
วิธีการออกแบบโลงศพรวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆ ที่ผิดธรรมเนียมเดิมๆที่เคยทำกันมา
แต่หากเป็นความพอใจของญาติหรือของผู้ตายเอง ก็ไม่มีใครคัดค้าน
เช่นภายในหีบศพประดับด้วยภาพธรรมชาติอันสงบและรื่นรมย์ ภาพพระอาทิตย์ตกดิน ชายฝั่งทะเลกับเปลือกหอยแบบต่างๆ เทวดาองค์น้อยๆ ธงชาติเป็นต้น
ลักษณะหีบก็เปลี่ยนไป เช่นเหมือนหีบใส่เครื่องดนตรี
ภายนอกหีบอาจประดับสัญลักษณ์หรือเอกลักษณ์ใดที่ผู้ตายสนใจและชื่นชอบ
การเลือกและการประดับหีบศพคำนึงถึงผู้ตายเป็นสำคัญ
มิได้โยงไปถึงคติความเชื่อศาสนามากเท่าในยุคกลางแล้ว
เป็นการยกระดับผู้ตายขึ้นเป็นเนื้อหาเด่นเกือบเนื้อหาเดียว
และในที่สุดหีบศพเหมือนสรรพสิ่งในชีวิตคนก็กลายเป็นธุรกิจแบบหนึ่ง
เป็นอุตสาหกรรมแบบหนึ่ง มีห้องโชว์สินค้าเช่นกัน
โลงศพหินขนาดใหญ่(sarcophagus) ที่ทำจากหินก้อนมหึมาก้อนเดียวนั้น
ปกติมีประติมากรรมจำหลักนูนประดับด้านหน้าและด้านข้างสองด้าน
ส่วนด้านที่จะตั้งติดกำแพงปล่อยให้ว่างเปล่า อาจเป็นฉากในเทพปกรณัมกรีกหรือโรมัน ต่อมาในจักรวรรดิโรมัน
ประติมากรรมประดับโลงศพหิน มีเนื้อหาเพิ่มขึ้นที่อาจเป็นฉากชีวิตหรือชัยชนะในสงคราม และในยุคคริสตกาล
ก็เป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตพระเยซู
ยังมีโลงศพหินตั้งแต่ยุคโรมันลงมาให้เห็นอีกมากตามพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆของแต่ละประเทศในยุโรป
โดยเฉพาะในอิตาลี (เช่นที่สุสานกัมโปะซานโตะ-Campo
Santo (ที่แปลว่า
sacred field) ที่เมืองปิซา (Pisa)
เป็นที่รวมโลงหินและแผ่นหินประดับเหนือหลุมศพตั้งแต่ยุคกรีกโบราณลงมา ที่ผู้สนใจไปศึกษาหาความรู้ได้)
โลงศพหินที่เหลือมาให้เห็นจากปลายศตวรรษที่ 5 จากวิหารซันต์อโปลินาเร อิน กลาสเซ (Sant’Apollinare In Classe) เมืองราเว็นนา (Ravenna) ประติมากรรมจำหลักนูนรอบทั้งสี่ด้านของโลงหิน เป็นแบบเรียบ ฝาโลงหินแบบโค้งกลมขนาดปิดโลงหินได้พอเหมาะพอดี จำหลักลวดลายด้วยเช่นกัน
ภาพวัดเอเรมิตาหนิ
(Chiesa
degli Eremitani) เมืองปาโดวา
(Padova)
ในอิตาลี เห็นโลงหินถูกยกขึ้นไปตั้งติดกำแพงด้านหนึ่งของวัดเลย มีรูปปั้นนอนเหนือโลง
และรูปปั้นเล็กประดับสามด้านของโลงหิน บนกำแพงซีกเดียวกันนี้
ยังมีแบบสถาปัตยกรรมย่อส่วนของด้านหน้าวัด
ที่แบ่งเป็นซุ้มสามซุ้มใต้หลังคาโค้งครึ่งวงกลม
มีหลังคาสูงประดับด้วยรูปปั้น
ภายในซุ้มกลางมีจิตรกรรมภาพพระแม่มารีอุ้มพระเยซูองค์น้อย
ส่วนในซุ้มสองข้าง เป็นรูปปั้นของนักบุญฟิลิปและนักบุญเจมส์
ถัดไปเป็นมุมที่ตั้งของอ่างน้ำหิน(เหมือนครกหินขนาดใหญ่) สำหรับประกอบพิธีศีลจุ่ม มีฝาสัมฤทธิ์สูงแหลมปิดครอบยามที่ไม่ใช้ วัดนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 13 ชื่อวัดหมายถึง “วัดของนักบวชผู้ทรงพรต”
ในวัดมีโลงหินสองโลง ของเจ้านายตระกูลเก่าของเมืองปาโดวา คือยาโกโป ที่หนึ่ง(Jacopo I, 1324) และของ อุแบร์ติเนลโล
ดา การารา (Ubertinello da Carrara, 1345)
โลงหินพร้อมประติมากรรมจำหลักตำนานโปรเมเตโอ (il mito di Prometeo) มีรูปปั้นนอนบนโลงด้วย เหมือนเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เป็นโลงจากศตวรรษที่ 3 พบที่วิลลาดอเรีย
พัมฟีลี (Villa Doria Pamphili) แถวประตูเมืองเอาเรเลีย - Porta Aurelia ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กะปิโตลีนี (Musei Capitolini) ในกรุงโรมประเทศอิตาลี
ตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดว่าประติมากรรมโรมันมีความละเอียดเพียงใด
ประติมากรรมประดับโลงหินเป็นศิลปะที่ชาวโรมันนิยมชื่นชมและจรรโลงไว้เสมอมา
ที่หน้าเทศบาลเมืองปาโดวา (Padova) ในอิตาลี
โลงศพหินยังถูกนำมาประดับเมือง
ดังภาพนี้
โลงศพมิได้เป็นสิ่งน่ากลัว แต่เป็นสิ่งแสดงอำนาจ แสดงวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง
ส่วนศพที่นำเข้าไปฝังในวัด นอกจากการฝังลึกลงใต้พื้นวัดแล้ว อาจนำโลงหินของผู้ตาย(อภิสิทธิชน)
เข้าไปตั้งในมุมใดมุมหนึ่งภายในพื้นที่ของวัด อาจสร้างหลังคาครอบเหนือโลงศพนั้น ในยุคหลัง ชนชั้นสูงไม่ค่อยบริจาคเงินสร้างแท่นบูชาหรือซื้องานศิลป์แบบใดมาประดับวัด
เพราะสนใจที่จะตกแต่งประดับหลุมฝังศพของครอบครัวตนเองมากกว่า มีการเช่าซื้อพื้นที่ภายในวัดหรือโบสถ์
เพื่อตั้งโลงศพ จัดทำแท่นบูชา หางานศิลป์แบบหนึ่งแบบใดมาประดับ
ล้อมที่บริเวณนั้นให้เป็นที่ส่วนตัวด้วยประตูรั้วเหล็กดัดเป็นต้น กลายเป็นวัดเล็ก (chapel) ในวัดใหญ่ (church,
cathedral) และที่สมาชิกครอบครัวอาจใช้เป็นที่ประกอบพิธีศาสนาต่างๆได้
ภาพโลงศพของพระนักบวชชื่อกีแล็ง ลูกาส์ (Guillain Lucas ผู้เสียชีวิตในปี 1628 กลุ่มประติมากรรมทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของ นิกอลาส์ บลาเซต์ (Nicolas Blasset ในปี 1636 บลาเซต์ทำงานให้โบสถ์เมืองอาเมียงส์ระหว่างปี 1630-1659) ประติมากรรมชุดนี้ตั้งแทรกเข้าไปในพื้นที่ระหว่างสองเสาใหญ่(ยังมีเสาอื่นๆ)ที่ล้อมแท่นบูชาเอกของโบสถ์ อันเป็นจุดใจกลางและเป็นบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของลำตัวโบสถ์ นั่นคือด้านตรงข้ามของกลุ่มประติมากรรมหลุมศพนี้คือ ที่ตั้งของแท่นบูชาเอกของโบสถ์ ที่ประดับด้วยประติมากรรมใหญ่หัวข้อ การรับศีลมหาสนิทเป็นความงามพิลาศล้ำ (la Gloire eucharistique) รัศมีอันบรรเจิดที่แสดงเป็นลำแสงอาทิตย์ กระจายออกไปทั่ว เหมือนแสงสว่างอันอบอุ่นที่ล้อมรอบแท่นบูชาเอกไว้ (ดูภาพบริเวณหน้าแท่นบูชาต่อไปข้างล่างนี้) จากด้านหลุมศพของพระกีแล็ง นี้เราเห็นด้านหลังของประติมากรรมการรับศีลฯเหนือขึ้นไประหว่างสองเสา หลุมศพของพระกีแล็ง ฝังลึกเข้าไปในซุ้มลึกบนกำแพง (เรียกกันด้วยคำฝรั่งเศสว่า enfeu [อ็องเฟอ]) มีรูปปั้นนอนเหนือโลงศพ ที่จัดให้เป็นฐานของประติมากรรมกลุ่มนี้ นักบวชนอนพนมมือ เหนือขึ้นไป ยังมีรูปปั้นของพระกีแล็งในท่าคุกเข่าตรงหน้าพระแม่มารีกับพระเยซูองค์น้อย ตรงกลางระหว่างรูปปั้นของพระกีแล็งกับพระแม่มารี มีรูปปั้นเล็กของเทวทูตทารกน้อยกำลังร้องไห้ ท่าทางเสียใจเหมือนหมดกำลังใจในการตายของพระกีแล็งและเสียดายว่าชีวิตนั้นแสนสั้น
ภาพโลงศพของพระนักบวชชื่อกีแล็ง ลูกาส์ (Guillain Lucas ผู้เสียชีวิตในปี 1628 กลุ่มประติมากรรมทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของ นิกอลาส์ บลาเซต์ (Nicolas Blasset ในปี 1636 บลาเซต์ทำงานให้โบสถ์เมืองอาเมียงส์ระหว่างปี 1630-1659) ประติมากรรมชุดนี้ตั้งแทรกเข้าไปในพื้นที่ระหว่างสองเสาใหญ่(ยังมีเสาอื่นๆ)ที่ล้อมแท่นบูชาเอกของโบสถ์ อันเป็นจุดใจกลางและเป็นบริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของลำตัวโบสถ์ นั่นคือด้านตรงข้ามของกลุ่มประติมากรรมหลุมศพนี้คือ ที่ตั้งของแท่นบูชาเอกของโบสถ์ ที่ประดับด้วยประติมากรรมใหญ่หัวข้อ การรับศีลมหาสนิทเป็นความงามพิลาศล้ำ (la Gloire eucharistique) รัศมีอันบรรเจิดที่แสดงเป็นลำแสงอาทิตย์ กระจายออกไปทั่ว เหมือนแสงสว่างอันอบอุ่นที่ล้อมรอบแท่นบูชาเอกไว้ (ดูภาพบริเวณหน้าแท่นบูชาต่อไปข้างล่างนี้) จากด้านหลุมศพของพระกีแล็ง นี้เราเห็นด้านหลังของประติมากรรมการรับศีลฯเหนือขึ้นไประหว่างสองเสา หลุมศพของพระกีแล็ง ฝังลึกเข้าไปในซุ้มลึกบนกำแพง (เรียกกันด้วยคำฝรั่งเศสว่า enfeu [อ็องเฟอ]) มีรูปปั้นนอนเหนือโลงศพ ที่จัดให้เป็นฐานของประติมากรรมกลุ่มนี้ นักบวชนอนพนมมือ เหนือขึ้นไป ยังมีรูปปั้นของพระกีแล็งในท่าคุกเข่าตรงหน้าพระแม่มารีกับพระเยซูองค์น้อย ตรงกลางระหว่างรูปปั้นของพระกีแล็งกับพระแม่มารี มีรูปปั้นเล็กของเทวทูตทารกน้อยกำลังร้องไห้ ท่าทางเสียใจเหมือนหมดกำลังใจในการตายของพระกีแล็งและเสียดายว่าชีวิตนั้นแสนสั้น
นอกจากนี้ในประวัติของเมืองอาเมียงส์
เทวทูตองค์น้อยนี้ยังเป็นสิ่งเตือนความทรงจำว่า
พระกีแล็งเป็นผู้สถาปนาบ้านสงเคราะห์เด็กกำพร้า(Maison de Charité) ที่ชาวเมืองเรียกว่าเป็น โรงเรียนเด็กสีฟ้า (École des enfants bleus การเจาะจงสีของบ้านสงเคราะห์ว่าเป็นสีฟ้า
เพราะสีฟ้าเป็นสีแห่งสันติภาพ ความสงบสุข
สร้างภาพพจน์ให้บ้านสงเคราะห์เด็กกำพร้าว่า
เด็กๆจะพบที่อยู่ที่คุ้มหัวที่ให้ความอบอุ่นและความสุขของบ้าน) เทวทูตทารกน้อย(ภาพ 7) มีมือข้างหนึ่งยันหัวไว้เหมือนกำลังสะอึกสะอื้นตัวโคลงไปมา
ข้อศอกวางอยู่บนหัวกะโหลกที่เป็นสัญลักษณ์ของความตาย
มืออีกข้างหนึ่งวางบนนาฬิกาทรายที่สื่อความสั้นของชีวิต ที่น่าสนใจคือ
ชาวเมืองและทุกคนที่ได้เห็นเทวทูตทารกนี้แล้ว ต่างรู้สึกสะเทือนใจสุดแสน
ได้ถ่ายรูป ทำเป็นโพสต์การ์ดจำนวนพันๆใบ หรือเป็นเหรียญที่ระลึก
หรือวัตถุสะสมแบบอื่นที่มีรูปเทวทูตทารกองค์นี้ประดับ
สิ่งของทั้งหมดนี้ได้แพร่ออกไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ภาพที่ตั้งของแท่นบูชาเอกในโบสถ์น็อตเตรอดามเมืองอาเมียงส์ เห็นพื้นหลังที่เป็นประติมากรรมจำหลักชุด การรับศีลมหาสนิทเป็นความงามพิลาศล้ำ (la Gloire eucharistique) แสดงสวรรค์ในแสงสว่างบรรเจิดฉายออกรอบทิศทาง
ในหมู่เมฆบางๆ มีเทวทูตองค์ใหญ่องค์น้อย ชี้ไปในที่สูง
มีนกกางปีกออกมาจากกลางท้องฟ้า
สื่อพระจิตที่จักดลบันดาลความสุขสงบและความหวังแก่ชาวคริสต์ กำแพงด้านหลังของประติมากรรมสวรรค์นี้
เป็นที่ตั้งของโลงศพของพระกีแล็ง และกลุ่มประติมากรรมพร้อมเทวทูตทารก รูปปั้นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรูปหนึ่งในโลกศิลปะดังอธิบายไว้ในสองภาพข้างบนนี้
ลำตัวโบสถ์จากประตูใหญ่ทิศตะวันตกตรงไปยังแท่นบูชาเอกของโบสถ์เมืองฟุลดา
(Fulda ประเทศเยอรมนี) เสาสองข้าง(ที่มีประติมากรรมพื้นสีดำๆประดับ)
ที่กำหนดเขตแบ่งส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่อยู่ลึกเข้าไปเป็นส่วนหัวของโบสถ์และเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก
บนเสาสองข้างมีโลงศพหินตั้งประชิดติดเข้าไปบนเสาที่เว้าเข้าไปในกำแพงเล็กน้อย โลงศพและแผ่นหินตั้งทั้งสองทำจากหินสีดำ มีรูปปั้นประดับเหนือโลงทำจากหินสีอ่อนเกือบขาว (ภาพถ่ายนี้เป็นงานของ Sven Teschke, Büdingen เมื่อวันที่ 19 มกราคม ปี 2008)
โลงศพที่อยู่ติดเสาด้านซ้าย(หากสังเกตให้ดี) จะเห็นโครงกระดูกผู้ตายจำหลักครึ่งนั่งครึ่งนอนเหนือโลง
ส่วนทางด้านขวา รูปปั้นประดับเหนือโลงศพ อยู่ในท่าคุกเข่าพนมมือ แสดงให้เห็นแบบการทำรูปปั้นประดับโลงศพสองแบบพร้อมกัน ลักษณะการตกแต่งหัวเสาหรือส่วนต่อตอนบนของเสาเป็นแบบบาร็อคที่เริ่มแพร่หลายในยุโรปหลังยุคเรอแนสซ็องส์
อารามเบเนดิคตินที่นั่น เจ้าอาวาสคนแรกของเมืองไม้นส์ (Mainz) ชื่อบอนีฟัส (Bonifaz ในภาษาเยอรมัน) ได้สถาปนาขึ้นแล้วในปี 744 นักบุญบอนีฟัสเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเยอรมนี และเป็นผู้วางรากฐานของการครองตนของนักบวชตามคติเบเนดิคตินตั้งแต่นั้น และมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมพันธไมตรีระหว่างสถาบันสันตะปาปากับราชวงศ์คาโรลินญ์ (Karolinger) ที่ปกครองยุโรปในยุคนั้น ได้ไปช่วยการศาสนาที่เมืองฟรีเซีย (Frisia อยู่ในประเทศเนเธอแลนด์ปัจจุบัน) และถูกฆ่าสังเวยความเชื่อในปี 754 อัฐิและอังคารของนักบุญได้ถูกย้ายมาเก็บไว้ที่เมืองฟุลดานี้ตามความหวังของนักบุญ อังคารของนักบูญได้ถูกฝังไว้ในวัดใต้พื้น(crypt) ตรงกับที่ตั้งของแท่นบูชาเอกในวัดชั้นบนที่เห็นนี้ ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนจากทั่วทิศในเยอรมนี ออสเตรียและแดนอื่นในยุโรป เดินทางจาริกไปคารวะนักบุญ ณ หลุมศพของเขา หอสมุดของอารามเบเนดิคตินที่นี่ก็มีหนังสือจารึกโบราณจำนวนมากที่ทำให้กลายเป็นศูนย์แห่งศาสตร์วิชาในยุคนั้นด้วย ชาวแคทอลิกถือว่านักบุญบอนีฟัสเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติของเยอรมนี
โลงศพที่อยู่ติดเสาด้านซ้าย(หากสังเกตให้ดี) จะเห็นโครงกระดูกผู้ตายจำหลักครึ่งนั่งครึ่งนอนเหนือโลง
ส่วนทางด้านขวา รูปปั้นประดับเหนือโลงศพ อยู่ในท่าคุกเข่าพนมมือ แสดงให้เห็นแบบการทำรูปปั้นประดับโลงศพสองแบบพร้อมกัน ลักษณะการตกแต่งหัวเสาหรือส่วนต่อตอนบนของเสาเป็นแบบบาร็อคที่เริ่มแพร่หลายในยุโรปหลังยุคเรอแนสซ็องส์
อารามเบเนดิคตินที่นั่น เจ้าอาวาสคนแรกของเมืองไม้นส์ (Mainz) ชื่อบอนีฟัส (Bonifaz ในภาษาเยอรมัน) ได้สถาปนาขึ้นแล้วในปี 744 นักบุญบอนีฟัสเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเยอรมนี และเป็นผู้วางรากฐานของการครองตนของนักบวชตามคติเบเนดิคตินตั้งแต่นั้น และมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมพันธไมตรีระหว่างสถาบันสันตะปาปากับราชวงศ์คาโรลินญ์ (Karolinger) ที่ปกครองยุโรปในยุคนั้น ได้ไปช่วยการศาสนาที่เมืองฟรีเซีย (Frisia อยู่ในประเทศเนเธอแลนด์ปัจจุบัน) และถูกฆ่าสังเวยความเชื่อในปี 754 อัฐิและอังคารของนักบุญได้ถูกย้ายมาเก็บไว้ที่เมืองฟุลดานี้ตามความหวังของนักบุญ อังคารของนักบูญได้ถูกฝังไว้ในวัดใต้พื้น(crypt) ตรงกับที่ตั้งของแท่นบูชาเอกในวัดชั้นบนที่เห็นนี้ ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนจากทั่วทิศในเยอรมนี ออสเตรียและแดนอื่นในยุโรป เดินทางจาริกไปคารวะนักบุญ ณ หลุมศพของเขา หอสมุดของอารามเบเนดิคตินที่นี่ก็มีหนังสือจารึกโบราณจำนวนมากที่ทำให้กลายเป็นศูนย์แห่งศาสตร์วิชาในยุคนั้นด้วย ชาวแคทอลิกถือว่านักบุญบอนีฟัสเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติของเยอรมนี
(ภาพจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ภาพถ่ายของ Sven Teschke, Büdingen เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ปี 2010)
ตรงกับที่ตั้งของแท่นบูชาเอกในภาพบน ใต้พื้นลงไปในส่วนที่เป็นวัดใต้พื้นดิน(crypt) คือที่ตั้งของแท่นบูชาพร้อมโลงศพของนักบุญ บอนีฟัส ที่เก็บอัฐิอังคารของนักบุญไว้ ในภาพนี้เห็นโลงศพหินและประติมากรรมจำหลักพร้อมส่วนสถาปัตยกรรมแบบบาร็อค ทั้งหมดประกอบกันเป็นแท่นบูชาในวัดใต้พื้นดินของอารามเมืองฟุลดา(Fulda) โลงหินที่เป็นฐานใหญ่ทำหน้าที่ของแท่นบูชาไปด้วย ประติมากรรมหินอ่อนจำหลักให้เห็นฝาโลงเปิดยกขึ้น มีรูปปั้นเหมือนของนักบุญโผล่ออกมา ศีรษะสวมหมวกทรงสูงสามเหลี่ยม(บอกยศตำแหน่งของสันตะปาปา) ส่วนประติมากรรมบนแผ่นหินตั้งเหนือโลงนั้น เสนอภาพเหตุการณ์ที่นักบุญถูกฆ่าเสียชีวิตเพื่อศาสนา สองข้างซุ้มโค้งครึ่งวงกลมมีรูปปั้นเทวทูตขนาบ วัดใต้พื้นนี้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีศาสนาด้วย โลงหินของนักบุญจึงทำหน้าที่เป็นแท่นบูชาได้เป็นอย่างดี
ตรงกับที่ตั้งของแท่นบูชาเอกในภาพบน ใต้พื้นลงไปในส่วนที่เป็นวัดใต้พื้นดิน(crypt) คือที่ตั้งของแท่นบูชาพร้อมโลงศพของนักบุญ บอนีฟัส ที่เก็บอัฐิอังคารของนักบุญไว้ ในภาพนี้เห็นโลงศพหินและประติมากรรมจำหลักพร้อมส่วนสถาปัตยกรรมแบบบาร็อค ทั้งหมดประกอบกันเป็นแท่นบูชาในวัดใต้พื้นดินของอารามเมืองฟุลดา(Fulda) โลงหินที่เป็นฐานใหญ่ทำหน้าที่ของแท่นบูชาไปด้วย ประติมากรรมหินอ่อนจำหลักให้เห็นฝาโลงเปิดยกขึ้น มีรูปปั้นเหมือนของนักบุญโผล่ออกมา ศีรษะสวมหมวกทรงสูงสามเหลี่ยม(บอกยศตำแหน่งของสันตะปาปา) ส่วนประติมากรรมบนแผ่นหินตั้งเหนือโลงนั้น เสนอภาพเหตุการณ์ที่นักบุญถูกฆ่าเสียชีวิตเพื่อศาสนา สองข้างซุ้มโค้งครึ่งวงกลมมีรูปปั้นเทวทูตขนาบ วัดใต้พื้นนี้ใช้เป็นที่ประกอบพิธีศาสนาด้วย โลงหินของนักบุญจึงทำหน้าที่เป็นแท่นบูชาได้เป็นอย่างดี
โลงศพของกษัตริย์ฝรั่งเศสอีกแบบหนึ่ง
มีรูปปั้นของนักบุญประดับเต็มความกว้างยาวของโลง
เหนือขึ้นไปเป็นรูปปั้นเหมือนวางนอนลงพร้อมเครื่องประดับแบบกษัตริย์ จากมหาวิหารแซ็งเดอนีส์ ทิศเหนือนอกกรุงปารีส
อีกตัวอย่างหนึ่งของโลงศพกษัตริย์ที่มหาวิหารแซ็งเดอนีส์ ทิศเหนือของกรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส โดยรอบของโลงหินประดับด้วยรูปปั้นในซุ้มแหลมสูงแบบกอติค
รูปปั้นจำหลักพร้อมหมวกที่ดึงปิดทั้งศีรษะจนเกือบปิดหน้าทั้งหมด ทำหน้าที่เหมือน นางร้องไห้
ในขนบไทย
แต่เป็นได้ทั้งผู้หญิงหรือผู้ชาย
ส่วนใหญ่คือนักบวชนั่นเอง
เหนือโลงหิน มีรูปปั้นเหมือนของผู้ตาย นอนพนมมือ
สถาปัตยกรรมสุสานพร้อมรูปปั้น
ที่อยู่ใต้ซุ้มหินจำหลักเหมือนวัดกอติคขนาดย่อส่วน
ทั้งหมดเป็นแบบศิลปะกอติคแบบสุดท้ายที่เรียกว่าแบบเปลวเพลิง ที่วิจิตรงดงามมาก
อยู่ภายในอารามหลวงบรู ที่ บูร์กอ็องแบร๊ส (Monastère royal de Brou, Bourg-en-Bresse ประเทศฝรั่งเศส) พระนางมาร์เกอริตแห่งออสเตรีย(Marguerite d’Autriche, 1480-1530 พระราชธิดาของจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่หนึ่งแห่งราชวงศ์ฮับสบูร์ก Maximilian I von Habsbourg, 1459-1519) ให้ทรงสร้างอารามหลวงบรู ขึ้น(1506-1532) บนพื้นที่ที่เคยเป็นสุสานโบราณมานานกว่าสองพันปีแล้ว
อารามสร้างขึ้นตามแบบสถาปัตยกรรมกอติครุ่นสุดท้าย เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพของพระสวามี
และเปิดให้คณะนักบวชคติออกุสตินเข้าไปอาศัยเพื่อปฏิบัติกิจและจำวัตร
รวมทั้งสวดมนตร์ภาวนาให้พระสวามีของพระนางด้วย
วัดนี้จักเป็นที่เก็บพระบรมศพของพระสวามี (Philibert II le Beau, 1480-1504) พระสัสสุ (Marguerite de Bourbon, 1438-1483) และของพระนางเอง
เหนือหลุมศพ ได้มีการเนรมิตกลุ่มประติมากรรม เป็นรูปปั้นเหมือนวางนอนลง
สลักจากหินอ่อนวางในชั้นล่างและชั้นที่สอง
ชั้นล่างเป็นรูปปั้นในยามสาว และชั้นบนเป็นรูปปั้นในวัยที่พระนางเสียชีวิต
โลงศพที่อยู่ในวัดคริสต์ บางทีเนรมิตให้ใช้เป็นแท่นบูชาในวัดเล็กส่วนตัว(chapel) ภายในโบสถ์หลังใหญ่ ด้านหน้าของโลงบางทีทำจากแผ่นแก้ว เพื่อให้สามารถมองเข้าไปในโลงศพและเห็นโครงกระดูกผู้ตายได้ชัดเจน ในกรณีที่ทำเช่นนี้ ก็เพราะผู้ตายเป็นนักบุญหรือเป็นบาทหลวงที่ผู้คนเคารพนับถือมาก จึงเปิดโอกาสให้ผู้มาคารวะสุสานได้เห็นโครงกระดูกเป็นสิริมงคล เมื่อโลงศพทำจากหินก้อนใหญ่ บางทีก็จำหลักภาพลักษณ์บนด้านหน้า บางทีก็ปล่อยให้ว่างเรียบๆ แล้วแต่ว่าผู้ตายเป็นใคร และทางวัดมีจุดประสงค์เช่นใดเกี่ยวกับโลงศพหินนั้น ในศิลปะกอติค มีการประดับด้านนอกของโลงศพด้วยรูปปั้นขนาดเล็กเรียงเป็นแถวตามความยาวของโลง เป็นรูปปั้นจำลองเหล่านางร้องไห้ในพิธีฌาปนกิจ เป็นต้น
โลงศพของนักบุญรานีเอรี (San Ranieri, 1115/7 - 1160 เป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเมืองปิซา-Pisa และของนักเดินทาง) มีด้านหน้าของโลงเป็นแก้วหรือกระจกเพื่อให้มองเห็นศพได้ ข้างในบรรจุโครงกระดูกของนักบุญ
โลงแบบนี้นิยมกันมากในยุคกลางเพราะยุคนั้นชาวคริสต์หลงใหล
ศรัทธาและบูชาอัฐิและอังคารของนักบุญ
โลงศพนี้ตั้งอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าระดับสายตา ประชิดติดผนังกำแพงเข้าไปภายในพื้นที่โค้งเว้าลึกเข้าเป็นแอ่ง มีประติมากรรมประดับเต็มตั้งแต่เพดานลงมา ใต้ที่ตั้งของโลงศพ จัดเป็นแท่นบูชา
จึงเป็นที่ประกอบพิธีศาสนาได้เช่นกัน
นักบุญคนนี้ในวัยหนุ่มเป็นนักร้องหรือกวีพเนจรไปในที่ต่างๆ ได้พบผู้ดีคนหนึ่งจากเมืองคอร์สิกา (Corsica) ผู้เดินทางมาที่เมืองปิซา
และเข้าไปรับใช้ศาสนาช่วยเหลือคนจนที่อารามซันวีโตะ (San Vito) ระนีเอริ ประทับใจและตัดสินใจเป็นพ่อค้าเพื่อเก็บเงินสำหรับเดินทางไปในแดนศักดิ์สิทธิ์(เยรูซาเล็ม)ในปี
1146 และเมื่อไปถึงได้จาริกไปยังสังเวชนียสถานทุกแห่งที่เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ เขาสละทรัพย์สินที่มีและอยู่อย่างขอทานนักพรต
และทำทุกข์กิริยาติดต่อกันเจ็ดปี
เล่ากันว่า เขาได้นิมิตจากพระเจ้าหลายครั้ง
เขายึดมั่นในความตั้งใจที่จะทำทุกข์กิริยาล้างบาป
จนพระเจ้าต้องมาบอกให้เขากินอาหารบ้าง
ในปี 1153 ระนีเอริ กลับมาที่เมืองปิซา และเข้าไปอยู่ในอารามซันตันเดรอา
(Sant’Andrea) และต่อมาย้ายไปที่อารามซันวีโตะ เขาเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมาก
และแม้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ชาวคริสต์คารวะยกย่องเขาดุจนักบุญแล้ว เล่ากันว่า
เขาได้ขับไล่มารออกไปจากวิถีชีวิตของชาวบ้านหลายครั้งหลายครา รวมทั้งทำปฏิหาริย์ เมื่อเขาถึงแก่กรรม
ชาวเมืองแห่ศพของเขาไปรอบเมืองแล้วนำร่างเข้าไปฝังไว้ในมหาวิหารเมืองปิซา
เพราะความเชื่อศรัทธาอย่างไม่ลดละของชาวเมืองนี่เอง ที่ทำให้ต้องจัดโลงศพให้มีกระจกใสด้านหน้า
เพื่อให้ทุกคนได้เห็นเป็นสิริมงคล
กษัตริย์หรือเจ้านายบางคนต้องการให้หลุมฝังศพเป็นอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่
ที่มีแบบสถาปัตยกรรมอันสง่างาม และตั้งบนเนินเขาสูง โดดเด่นเหนือปริมณฑลโดยรอบ เรียกว่า mausoleum [มอเสอะลี้เอิม]
อาคารแบบนี้มีขนาดใหญ่มากสำหรับให้คนเข้าไปเยือนไปชมได้
ความยิ่งใหญ่ของอาคารเป็นประเด็นเด่นของการสร้างเพื่อเชิดชูความตายของบุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์สุสานเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมคลาซสิก
ทั้งในอารยธรรมตะวันออก ตะวันออกลางและตะวันตก
ที่สร้างความแปลกใจอย่างล้นพ้น
ความทึ่งอย่างสุดพรรณนาและความชื่นชมอย่างหมดจิตหมดใจ
เมื่อคนได้ค้นพบปิรามิดในอีจิปต์
เมืองสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ (Qin Shi Huang 秦始皇, 259 BC – 210 BC ที่เมืองซีอัน X’ian-西安 40km.ไปทางตะวันออกของเมือง) หรือในยุคใหม่เมื่อโลกได้เห็นสถาปัตยกรรมของทัชมาฮาลเป็นต้น
อนุสาวรีย์สุสานที่มีชื่อเสียงที่สุด (ยกเว้นกรณีของปิรามิด) ที่สร้างขึ้นในราวปี 350 ก่อนคริสตกาล คือ mausoleum ที่เมืองฮาลีคาร์แนซัส (Halicarnassus ปัจจุบันคือเมือง บอ-ดรุม - Bodrum
ในประเทศตุรกี)
เป็นอาคารฝังศพของกษัตริย์ผู้ครองเมืองนั้น ชื่อว่ามอซอลุส (Mausolus)
ความงามและความยิ่งใหญ่ของอาคารทำให้ชื่อเขาถูกนำมาใช้เป็นคำสามัญเรียกอาคารฝังศพขนาดใหญ่ที่หรูหราอลังการ แบบสถาปัตยกรรมของอาคารดังกล่าวสูง 43 เมตร เป็นหินอ่อนสีขาวทั้งหลัง
สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานรูปลักษณ์จากวัฒนธรรมสามเชื้อชาติคือ อีจิปต์
กรีซและลีเซีย
มีประติมากรรมจำหลักนูนประดับเต็มรวมทั้งรูปปั้นต่างๆ อาคารฝังศพนี้ได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณ น่าเสียดายที่แผ่นดินไหวในศตวรรษที่สิบสามได้ทำให้อาคารพังลง อีกทั้งในปี 1522 ยังถูกกองทหารครูเสดทำลายเกือบสิ้นซาก
Mausoleum ที่ Halicarnassus เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ (สร้างขึ้นระหว่างปี 353-350 BC.) ในปี 377 BC. เมืองนี้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกกลางบนฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน เมื่อดูแผนผังอาคารในแนวตัด จะเห็นว่า ที่ตั้งของโลงศพอยู่ในห้องโถงเพดานสูงรูปสามเหลี่ยม นอกนั้นเป็นการก่อให้สูงเหมือนการเนรมิตภูเขาครอบห้องเก็บศพ(ในลักษณะเดียวกับการสร้างปิรามิด) ภายนอกอาคารเท่านั้น จึงมีแบบมีรูปลักษณ์ประติมากรรมต่างๆประดับอย่างอลังการทุกทิศ สถาปัตยกรรมนี้ได้เป็นต้นแบบของเมอซอนิก เท็มเปิล (Masonic temple) ที่กรุงวอชิงตันดีซี ที่สร้างขึ้นในปี 1903[2] นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบของอนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่ประเทศออสเตรเลียสร้างขึ้นในปี 1934 ที่เรียกอนุสรณ์สถานนั้นว่า the Shrine of Remembrance (วัดแห่งความทรงจำ) ที่เมืองเมลเบิร์น(Melbourne)
อาคารอนุสาวรีย์สุสานที่เก็บโลงศพหินของกัลลา ปลาชีเดีย (Galla Placidia) ชื่ออาคารสุสานชื่อเดียวกัน (Mausoleo di Galla Placidia) อยู่ภายในบริเวณวิหารซันวีตาเล
(San Vitale) ที่เมืองราเว็นนา(Ravenna) กัลลา ปลาชีเดีย เป็นลูกสาวของจักรพรรดิเตโอดอซีอุซที่หนึ่ง (Theodosius I) สิ้นพระชนม์ในปีคศ. 450 เล่ากันมาว่า พระนางทรงให้สร้างอาคารสุสารนี้เพื่อเป็นที่ตั้งพระบรมโกศของราชวงศ์ ในปัจจุบันภายในมีโลงศพหินสามโลง โลงหนึ่งบรรจุพระอัฐิของพระนางเอง
แต่ในปัจจุบันไม่มีอะไรภายในโลงหินนั้นแล้ว
มองดูด้านนอกเป็นตัวอาคารทึบๆ แต่เมื่อเข้าไปข้างใน
จะเห็นว่าทั้งผนังและเพดานมีจิตรกรรมโมเสกประดับไว้อย่างสวยสดงดงาม
เป็นศิลปะโมเสกยุคแรกๆที่ได้รับการอนุรักษ์อย่างดีเยี่ยม รวมทั้งเป็นตัวอย่างศิลปะการทำโมเสกที่สวยสมบูรณ์ที่สุด อาคารสุสานนี้รวมทั้งอาคารสถาปัตยกรรมอื่นๆอีกเจ็ดแห่งในเมืองราเว็นนา ได้รับการจดทะเบียบเป็นมรดกโลกของยูเนสโกในปี 1996
ภาพบนนี้คือด้านทิศใต้ภายในอาคาร เห็นจิตรกรรมโมเสกประดับเต็ม บนพื้นมีโลงหินที่เคยบรรจุพระอัฐิของพระนาง กัลลา ปลาชีเดีย
จิตรกรรมโมเสกที่ประดับใต้หลังคาโค้งครึ่งวงกลมที่เสนอภาพของนักบุญลอเรนโซ(San Lorenzo มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 3) มือขวาถือไม้กางเขน มือซ้ายถือพระคัมภีร์วางบนตะแกรง เพื่อสื่อว่า นักบุญผู้นี้ถูกฆ่าตายสังเวยความเชื่อด้วยการถูกย่างไฟทั้งเป็น ภาพตะแกรงเหล็กเหนือกองไฟที่กำลังลุกโพลงตรงกลางก็บอกนัยเช่นเดียวกัน เหนือขึ้นไปเป็นช่องหน้าต่างที่ปิดด้วยแผ่นหินอ่อนแผ่นบางๆ จนแสงสว่างสอดส่องผ่านแผ่นหินอ่อน ทำให้เห็นลวดลายเส้นของเนื้อหินอ่อน ส่วนภาพตู้หนังสือทางซ้าย บานตู้เปิดออกให้เห็นว่า มีคัมภีร์สี่เล่มของนักบุญสี่คนวางอยู่ กำกับชื่ออย่างเฉพาะเจาะจง ของสี่นักบุญผู้แต่งคัมภีร์ใหม่ของคริสต์ศาสนา (Luke, Matthieu, Mark, John) ให้สังเกตลวดลายบนเพดานว่าสวยงามเพียงใด ผลงานจากครึ่งแรกของศตวรรษที่5
จิตรกรรมโมเสกที่ประดับใต้หลังคาโค้งครึ่งวงกลมที่เสนอภาพของนักบุญลอเรนโซ(San Lorenzo มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 3) มือขวาถือไม้กางเขน มือซ้ายถือพระคัมภีร์วางบนตะแกรง เพื่อสื่อว่า นักบุญผู้นี้ถูกฆ่าตายสังเวยความเชื่อด้วยการถูกย่างไฟทั้งเป็น ภาพตะแกรงเหล็กเหนือกองไฟที่กำลังลุกโพลงตรงกลางก็บอกนัยเช่นเดียวกัน เหนือขึ้นไปเป็นช่องหน้าต่างที่ปิดด้วยแผ่นหินอ่อนแผ่นบางๆ จนแสงสว่างสอดส่องผ่านแผ่นหินอ่อน ทำให้เห็นลวดลายเส้นของเนื้อหินอ่อน ส่วนภาพตู้หนังสือทางซ้าย บานตู้เปิดออกให้เห็นว่า มีคัมภีร์สี่เล่มของนักบุญสี่คนวางอยู่ กำกับชื่ออย่างเฉพาะเจาะจง ของสี่นักบุญผู้แต่งคัมภีร์ใหม่ของคริสต์ศาสนา (Luke, Matthieu, Mark, John) ให้สังเกตลวดลายบนเพดานว่าสวยงามเพียงใด ผลงานจากครึ่งแรกของศตวรรษที่5
ภาพนี้เก็บรายละเอียดของจิตรกรรมโมเสกที่ประดับอย่างสวยงาม
และมีสีสันตามขอบตามแนวต่างๆ
ส่วนภาพนี้จากผนังเพดานด้านทิศเหนือ
เป็นจิตรกรรมโมเสกเสนอภาพของพระคริสต์ในฐานะของคนเลี้ยงแกะ(Buon Pastor) ผู้ดูแลเอาใจใส่ลูกแกะทั้งฝูง (มือซ้ายแตะที่หน้าแกะตัวหนึ่ง) มือขวาถือไม้กางเขนตั้งขึ้นขนาดใหญ่
เน้นความหมายของการเชื่อมอาณาจักรสวรรค์กับโลกมนุษย์
ตั้งแต่ศตวรรษที่สิบแปดเป็นต้นมา พื้นที่สุสานต่างๆในยุโรปเหลือน้อยลงๆ
การสร้างอาคารเก็บศพขนาดใหญ่และอลังการแบบในสมัยก่อน
แม้สำหรับตระกูลขุนนางชั้นสูง ก็ทำไม่ได้
อาคารเก็บศพจึงมีขนาดเล็กลงไปมาก
พื้นที่ภายในเพียงพอสำหรับคนเข้าไปได้ไม่เกินสองคน อย่างไรก็ดี อาคารเก็บศพขนาดย่อมๆนี้
ก็แพร่หลายทันที
และแต่ละตระกูลก็สร้างไว้เพื่อใช้เป็นที่ฝังศพของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
หรือหากมีการเผาศพ ก็จะเก็บแผ่นหินจารึกชื่อผู้ตายแต่ละคนไว้ภายในอาคารเก็บศพ ตระกูลหนึ่งอาจเช่าซื้อหรือขอสัมปทานพื้นที่ในสุสานของเมืองเป็นเวลาต่อเนื่องได้นานตั้งแต่
10 ปี 30 ปี 50 ปีหรือไม่มีกำหนด (โปรดดูรายละเอียดใน ระบบสุสานของฝรั่งเศส - ตัวอย่างสวนสุสานแปร์ลาแช้ส โดยไปที่ลิงค์นี้ http://www.chotirosk.blogspot.com/2014/06/blog-post_17.html )
สองภาพนี้จากสวนสุสานแปร์ลาแช้ส (cimetière du Père-Lachaise) กรุงปารีส บนถนนภายในสองสายของสุสาน เห็นอาคารเก็บศพ(caveau)ตั้งเรียงๆกันไป ขนาดย่อม(เหมือนป้อมยาม) มักใช้เป็นที่ฝังหรือเก็บอัฐิของตระกูลหนึ่งไว้ด้วยกัน เพื่อประหยัดพื้นที่
ความตายที่เป็นหัวข้อวัฒนธรรมได้อาศัยศิลปะช่วยลดความน่ากลัวลงและแปลงความตายให้มีรูปลักษณ์อันสง่างาม
สถาปัตยกรรมของอาคารฝังศพหรืออาคารสุสานแบบนี้ได้กลายเป็นแบบประดับแบบหนึ่งในสถาปัตยกรรมสวนและอุทยาน
โดยเฉพาะในอุทยานภูมิทัศน์แบบอังกฤษ เป็นสิ่งเตือนใจ กระตุ้นมรณานุสติ
สวนและอุทยานขนาดใหญ่ทั่วไปในยุโรปจึงมักสร้างอาคารที่ฝังศพแบบนี้เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสวน
เช่นที่ปราสาทฮาเหวิด (Castle Howard) ในประเทศอังกฤษ
เป็นปราสาทพร้อมอุทยานภูมิทัศน์ที่งามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีอาคาร mausoleum ที่เป็นอาคารสุสานของสมาชิกในตระกูลฮาเหวิดมาหลายชั่วคน
อาคารสุสารขนาดใหญ่ (Mausoleum)และภูมิทัศน์แม่น้ำพร้อมสะพาน (New River Bridge) ที่ปราสาทฮาเหวิด (Castle Howard) ในเทศมณฑล North Yorkshire ประเทศอังกฤษ
การสร้างอาคารฝังศพ หรืออนุสาวรีย์สุสาน
หรือแม้การสร้างสังเวชนียสถานภายในสวนหรืออุทยานนั้น สอดคล้องกับจิตสำนึก ค่านิยมและอุดมการณ์สุนทรีย์ตะวันตก เพราะการได้เห็น เร้าและสะเทือนอารมณ์ ที่อาจโดนใจให้สร้างสรรค์งานศิลป์ต่อไปไม่ว่าจะเป็นศิลปะแบบใด ธรรมชาติต้นไม้ดอกที่เปลี่ยนไปในแต่ละวัน
กาลเวลาที่ล่วงผ่านไปในแต่ละนาทีแต่ละวัน
เห็นและจับต้องได้อย่างชัดเจนที่สุดในสวนและอุทยาน
ทั้งหมดประทับลงในความรู้สึกและจิตสำนึกของคนได้อย่างไม่รู้เลือน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องอนุรักษ์ธรรมชาติ
ปลูกสวน สร้างอุทยานควบคู่ไปกับการพัฒนาชุมชน
[1] ในอเมริกาเหนือ
มีคำว่า casket ที่ใช้เรียกหีบศพเช่นกัน
คำนี้ดั้งเดิมหมายถึงหีบใส่เครื่องเพชรพลอย แต่ต่อมานิยมมาใช้เรียกหีบศพ
เพื่อให้ความรู้สึกที่อ่อนโยนกว่าการใช้คำ coffin
และยังนิยมให้มีฝาปิดหีบที่แบ่งเป็นหลายบานต่อๆกันเพื่อเปิดให้ดูได้ในพิธีสวดศพให้คนมาคารวะผู้ตาย
ก่อนการนำไปฝังหรือเผา
[2] ตั้งอยู่ที่ 801Thirteenth St. , NW. Washington , District of Columbia . ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารประติศาสตร์แห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในปี 1987 ดั้งเดิมเพื่อเป็นที่ชุมนุมและพิธีกรรมของกลุ่ม Freemasonry (สมาคมลับที่ช่วยหลือสมาชิกตามคติและอุดมการณ์ของกลุ่ม) ต่อมามีการปรับเปลี่ยนสถานที่และใช้เป็นพิพิธภัณฑ์รวมศิลปินสตรีแห่งชาติ (National Museum of Women in the Arts)
[2] ตั้งอยู่ที่ 801
No comments:
Post a Comment