สวนที่ไม่เหมือนใคร ณปราสาทวิลล็องดรี ในฝรั่งเศส
Les Jardins pas comme les autres à Villandry
นำชมปราสาทริมฝั่งแม่น้ำลัวร์ (la Loire) ที่นั่นในปริมณฑลของเมืองตูรส์ (Tours) เมืองบลัวส์ (Blois) เมืองอ็องเจส์ (Angers) เมืองชีนง (Chinon) เมืองออร์เล-องส์ (Orléans) เป็นต้น มีปราสาทและสวนสวยงามจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นในสไตล์เรอแนสซ็องส์ สะท้อนอุดมการณ์ของ “ยุคแสงสว่าง”(ทางปัญญา) ที่รู้จักกันในนามว่า The Enlightment Period
Les Jardins pas comme les autres à Villandry
นำชมปราสาทริมฝั่งแม่น้ำลัวร์ (la Loire) ที่นั่นในปริมณฑลของเมืองตูรส์ (Tours) เมืองบลัวส์ (Blois) เมืองอ็องเจส์ (Angers) เมืองชีนง (Chinon) เมืองออร์เล-องส์ (Orléans) เป็นต้น มีปราสาทและสวนสวยงามจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นในสไตล์เรอแนสซ็องส์ สะท้อนอุดมการณ์ของ “ยุคแสงสว่าง”(ทางปัญญา) ที่รู้จักกันในนามว่า The Enlightment Period
ลุ่มแม่น้ำลัวร์เป็นถิ่นที่นักท่องเที่ยงต่างชาติไปเยือนมากที่สุดถิ่นหนึ่งในฝรั่งเศส
สะดวกด้วยเพราะไม่ไกลจากกรุงปารีส มีรถไฟความเร็วสูงตรงไปที่เมือง Tours เลย
ส่วนใหญ่ก็มักจะพักที่เมืองนั้นเพราะเป็นเมืองใหญ่
แล้วนั่งรถลัดเลาะไปเยือนปราสาทวันละสองสามแห่ง แล้วแต่เวลาที่มีกัน ส่วนรถสาธารณะนั้นไม่มีหรือเกือบใช้ไม่ได้
บริการสาธารณะตามต่างจังหวัด แม้เส้นทางไปสู่ปูชนียสถานสำคัญๆระดับชาติ ก็ไม่มีให้
หรือมีเฉพาะหน้าเช่นหน้าร้อน ประเภทวันละรอบสองรอบ
ส่วนใหญ่จึงต้องไปด้วยรถทัวร์หรือรถเช่า
เช่นนี้ทำให้การไปเยือนของนักเดินทางคนเดียวลำบากและแพง ชาวฝรั่งเศสเองไม่ค่อยใช้บริการรถสาธารณะตามต่างจังหวัดเพราะเกือบทุกคนขับรถ
ทำให้ไม่มีการส่งเสริมบริการสาธารณะด้านนี้
ซึ่งเท่ากับตัดสิทธิ์คนไม่มีรถและคนไม่มีเงินไปเองด้วยการเช่ารถแท็กซี่ ประเทศฝรั่งเศสแหล่งกำเนิดของสิทธิมนุษยชนแท้ๆ
กลับไม่ใส่ใจการบริการสาธารณะที่เป็นสิทธิของพลเมืองที่พึงได้ตามกฎหมาย ...
แต่นั่นแหละ กี่สิบปีมาแล้วก็ยังคงเป็นเช่นนั้น
ปราสาท Villandry ที่จะนำเสนอข้างล่างนี้
อาจมิใช่ปราสาทที่หรูหราที่สุดในสายตาคนหลายคน
แต่เป็นปราสาทที่น่าทึ่งที่สุดที่ไม่มีปราสาทในลุ่มแม่น้ำลัวร์เทียบเคียงได้
(แม้พระราชวังแวร์ซายส์ก็มีได้ไม่เหมือน ใหญ่กันคนละระดับ ระดับกษัตริย์ที่คิดตนว่าเป็นสุริยะเทพ
หรือระดับคนที่มีศิลป์มีศาสตร์แต่อยู่ติดดิน) ในแผนที่ข้างบน A คือปราสาทเดิมในศตวรรษที่ 16. B คือปราสาทที่สร้างในศตวรรษที่18. C คือธารน้ำแชร์(Cher) สาขาของแม่น้ำลัวร์.
ตำบลวิลล็องดรี (Villandry) อยู่ไม่ไกลจากเมือง ตูรส์ (Tours) ที่เป็นประตูทางเข้าสู่หมู่ปราสาทริมฝั่งแม่น้ำ ลัวร์ (la Loire). วิลล็องดรีตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำแชร์ (Cher สาขาของแม่น้ำลัวร์). มีประชากรราว 679 คน. ที่นั่นมีปราสาทเก่าที่ จ็อง-เดอ-เบรอ-ตง (Jean de Breton) เป็นผู้ให้สร้างขึ้นในต้นศตวรรษที่ 16. เขาเป็นราชเลขานุการ(ฝ่ายการคลัง)ของพระเจ้าฟร็องซัวส์ที่หนึ่ง (François Ier ผู้ครองราชย์ระหว่างปี 1515-1547). ปราสาทวิลล็องดรีเพิ่งได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นในต้นศตวรรษที่20 นี่เอง โดยรักษาแบบแปลนสมัยศตวรรษที่ 16 ไว้ได้. ปราสาท Villandry มีสวนแบบฝรั่งเศสที่โดดเด่นมากจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่เลื่องลือไกลของปราสาทนี้. เป็นสวนที่อาจหาดูที่อื่นใดในโลกไม่ได้. พิเศษอย่างไรนั้น ขอให้ติดตามอ่านต่อไปข้างล่างนี้.
ปราสาทวิลล็องดรีสร้างแล้วเสร็จในปี 1536 เป็นปราสาทใหญ่หลังสุดท้ายที่สร้างขึ้นบนฝั่งแม่น้ำลัวร์. ยุคนั้นเป็นยุคเรอแนสซ็องส์ ที่ทุกประเทศในยุโรปตื่นตัวฟื้นฟูพัฒนาศิลปะทุกแขนงและเป็นยุคเริ่มต้นของอุดมการณ์แนวมนุษยนิยม ที่เน้นบทบาทและความสำคัญของคนในฐานะผู้รู้คิด รู้ทำ รู้เลือกและรู้คุณธรรม. จ็องเดอเบรอตง เป็นราชเลขานุการของพระเจ้าฟร็องซัวส์ที่หนึ่ง เขามีหน้าที่ด้านการคลังของแผ่นดิน. เขาเช่นกันเป็นผู้บริหารตรวจตราและควบคุมการก่อสร้างปราสาทช็องบอรด์ (Chambord). เขาเคยเป็นราชทูตฝรั่งเศสประจำณกรุงโรม ทำให้เขามีโอกาสได้รู้ เห็นและศึกษาศิลปะอุทยานในอิตาลี. พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งปราสาทวิลล็องดรีนี้ เคยมีป้อมเก่าสมัยศตวรรษที่ 12 ซึ่งไม่เหลือร่องรอยแล้วในปัจจุบัน ยกเว้นฐานหินที่อยู่ลึกลงใต้ดิน. ในตอนนั้นวิลล็องดรีมีชื่อว่า โกลมบีเยส์ (Colombiers). มีเอกสารยืนยันว่า ณป้อมนี้เองที่พระเจ้าเฮนรีที่สองแห่งอังกฤษ (ที่มีชื่อในจารึกประวัติศาสตร์ว่า พระเจ้า เฮนรีเดอปล็องตาเจอเนต์ - Henri II Plantagenet ) มาพบพระเจ้าฟิลิปโอกุสต์ (Philippe-Auguste) กษัตริย์ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปี 1189 การมาพบครั้งนี้มีนัยยะว่าอังกฤษยอมรับแสนยานุภาพของกษัตริย์ฝรั่งเศสราชวงศ์กาเปเซียง (la Monarchie Capétienne) เหนือรัฐขุนนางศักดินาต่างๆ. ตอนนั้นราชตระกูลปล็องตาเจอเนต์ มีดินแดนมากมายบนแผ่นดินที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ที่แผ่จากเหนือลงใต้เกือบตลอดฝั่งตะวันตก. การพบปะครั้งนั้นจึงนับเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกในการแผ่แสนยานุภาพของฝรั่งเศส.
เมื่อ จ็องเดอเบรอตง เลือกสร้างปราสาทของตนที่นั่น ได้ปราบพื้นที่ให้ราบเรียบทั้งหมด. ตระกูลของเขายังคงอยู่ในปราสาทนั้นสืบต่อกันมาถึงปี 1754 จึงตกทอดไปถึงตระกูล เดอกาสเตลยาน (de Castellane). ตอนนั้นท่าน มาร์กีซ์เดอกาสเตลยาน (Marquis de Castellane) เป็นราชทูตของกษัตริย์ฝรั่งเศส เขามาจากตระกูลผู้ดีชั้นสูงในแดน โพรว้องส์ (Provence) ทางใต้ของฝรั่งเศส. ตระกูลนี้ได้ก่อสร้างตึกใหม่ๆขึ้นตามสถาปัตยกรรมคลาซสิก สองข้างลานกว้างหน้าบริเวณตำหนักเดิม และปรับปรุงภายในตำหนักเดิมตามแนวนิยมในสมัยศตวรรษที่ 18. ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีการรื้อปราบพื้นที่สวนเก่าแล้วทำเป็นสวนแบบอังกฤษรอบๆปราสาท. แต่ปราสาทวิลล็องดรีกลับเสื่อมลงๆเพราะขาดคนดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด จนในที่สุดปราสาทถูกวางขายทอดตลาด.
ด็อกเตอร์ โจอาคิม การ์วัลโย (Joachim Carvallo ชาวสเปนโดยกำเนิด เกิดปี1869) ได้ซื้อปราสาทนี้ในปี1906. เขาเป็นทวดของเจ้าของวิลล็องดรีคนปัจจุบัน. โจอาคิม เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในสังคมบัณฑิตย์ เขาทำงานใกล้ชิดกับศาสตราจารย์ ชารลส์ ริเชต์ (Charles Richet ผู้ได้รางวัลโนเบิลสาขาการแพทย์ในปี 1913). หลังจากที่โจอาคิมซื้อปราสาทวิลล็องดรีแล้ว ได้เริ่มศึกษาค้นหาประวัติและแผนผังสถาปัตยกรรมของปราสาท ทำให้เขาสามารถจินตนาการความงามและศิลปะที่เคยงามวิจิตรในอดีตบนพื้นแผ่นดินนั้น. ความรักหลงใหลในผินแผ่นดินที่เขาซื้อไว้ ทำให้เขาตั้งใจแน่วแน่ว่าจะฟื้นฟูปราสาทนี้ให้กลับสู่ความงามในยุคศตวรรษที่ 16 ให้ได้. เขาตัดสินใจทิ้งงานศึกษาค้นคว้าและมาบริหารดูแลการบูรณะวิลล็องดรี. โจอาคิมจึงเป็นผู้กู้ชีวิตวิลล็องดรีไว้ และสามารถเนรมิตสวนแบบต่างๆให้เข้ากับสถาปัตยกรรมเรอแนสซ็องส์ของอาคารได้อย่างดีที่สุด. โจอาคิม อีกเช่นกันที่เป็นผู้รณรงค์และก่อตั้งสมาคมรวมเจ้าของอาคารและหรือคฤหาสน์ในประวัติศาสตร์ทั้งหมดเข้าเป็นสมาคมเดียวกันในปี 1924 เขาถือว่า ทั้งหมดต้องอนุรักษ์ไว้เป็นปูชนียสถานของชาติ. เขาเป็นเจ้าของปราสาทคนแรกที่เปิดปราสาทส่วนตัวให้ประชาชนทั่วไปมีโอกาสเข้าชม เพราะปราสาทนั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของชาติ. และนั่นกลายเป็นอุดมการณ์ที่ทุกชาติในยุโรปถือปฏิบัติคล้อยตามกันโดยถ้วยหน้า อีกทั้งยังเป็นการหารายได้มาช่วยการทำนุบำรุงปูชนียสถานเหล่านั้นด้วย.
ตัวอาคารที่เป็นปราสาทวิลล็องดรี ที่สร้างในศตวรรษที่ 16 นั้นเป็นอาคารบนพื้นที่สี่เหลี่ยม แต่ด้านหนึ่งของตึกติดกับลานแคบๆ ไม่เปิดให้เข้าออกด้านนั้นได้ ตัวอาคารเป็นห้องยาวแบบแกลลอรีประกอบด้วยอารเขต. หน้าต่างลูกกรงทั้งหลังขนาบด้วยเสาสองข้างที่มีลวดลายประดับงดงาม. หลังคาลาดเอียงมาก ปูด้วยหินชนวนทั้งหลัง. มีหน้าต่างเป็นช่องบนหลังคาด้วย ขอบหน้าต่างจำหลักลวดลายเช่นกัน. สถาปนิกหาวิธีลดความเบื่อตาที่เขาคิดว่าคนมักรู้สึกเมื่อมองดูอะไรที่ได้สัดส่วนตรงเผงเสมอต้นเสมอปลายเป็นเวลานานๆหรือเป็นประจำ. ตัวอย่างเช่น การขุดสร้างคูให้ผ่านหน้าปราสาทและข้างปราสาทด้านที่ติดกับสวน ทำให้เกิดเงาของปราสาทในธารน้ำเล็กๆนั้น เงาในน้ำไหวระริกๆ เพิ่มเสน่ห์แก่ตัวอาคารดีกว่าสิ่งใด และเหมือนเพิ่มชีวิตแก่อาคารแก่หินด้วย น้ำจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในปราสาททุกแห่ง เป็นตัวที่ทำให้สรรพสิ่งดูมีชีวิตชีวา เปลี่ยนแปลง ไม่จำเจสายตา หรือการจัดลักษณะเหลี่ยมของตัวตึก ให้มีมุมแหลมบ้างทู่ๆบ้างไม่เหมือนกันโดยตลอด. ปีกตึกสองข้างตัวปราสาทก็ยาวไม่เท่ากัน. หน้าต่างตรงกลางอาคารก็ไม่ได้จัดให้อยู่ตรงกึ่งกลางพอดีของอาคาร. แม้ร่มเงาที่เกิดขึ้นภายในบริเวณปราสาท ในแต่ละเวลาของวัน ก็ดูเหมือนได้คิดคำนวณไว้อย่างพิถีพิถันเช่นกัน. เจ้าของปราสาทบอกว่า ปราสาทสวยที่สุดสองชั่วโมงก่อนอาทิตย์ตกดิน. จุดเด่นของวิลล็องดรี คือแบบสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย ผิดปราสาทอื่นๆในลุ่มแม่น้ำลัวร์.
ลานสี่เหลี่ยมหน้าวังศตวรรษที่ 16
ตึกที่สร้างในศตวรรษที่ 18
บริเวณลานที่จัดเป็นทางเข้าออกสำหรับผู้เข้าชม
ป้อมเก่าจากสมัยศตรรษที่ 12 ที่เจ้าของบูรณะและอนุรักษ์ไว้
ธารน้ำที่ไหลในอาณาบริเวณปราสาทชื่อแชร์เป็นสาขาของแม่น้ำลัวร์
แปลนสวนของวิลล็องดรี วางและสร้างสรรค์ขึ้นในต้นศตวรรษที่ 20. ต่อมาการจัดสรรที่ดินภายในบริเวณที่รัดกุมขึ้น ทำให้เกิดพื้นที่และมุมมองใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีก. เช่นเดี๋ยวนี้ ผู้เข้าชมปราสาทสามารถเดินขึ้นเนินไปในสวนป่าในหมู่ต้นไม้ใหญ่ๆ และจากตรงนั้น สายตาสามารถ โอบรอบสวนได้ทั้งหมด ให้มุมมองที่กว้างมากกว่าการมองจากระดับพื้นเดียวกับสวน. และเมื่อเดินไปจนสุดลงสู่ระดับล่าง จะเห็นอาคารเรือนกระจกอนุบาลพืชพรรณหรือกรีนเฮาส์ในแบบสถาปัตยกรรมสมัยศตวรรษที่ 18 (โปรดดูรายละเอียดต่อข้างล่าง). และสุดเขตทางตะวันตกเฉียงใต้มีสนามกว้างจัดเป็นสนามเด็กเล่นและมุมสำหรับลาของหมู่บ้านที่ไปเล็มหญ้าที่นั่น. และยังมีสวนวงกต (le labyrinthe [เลอ ลาบีแร็งตฺ]) เส้นทางเดินภายในสวนวงกต ขนาบสองข้างด้วยแนวต้นไม้เป็นแนวกำแพงที่วกวนไปมาสู่จุดศูนย์กลางของสวน. ตรงกลางสวนวงกตมีแท่นสูงให้คนขึ้นไปชมทิวทัศน์ของสวนรอบข้าง.
เมื่อคำนึงถึงการจัดสรรค์ สร้างมุมมองต่างๆในบริเวณปราสาทวิลล็องดรี อาจบอกได้ว่านี่เป็นปราสาทหลังเดียว (เท่าที่ข้าพเจ้าได้รู้ได้เห็นมา) ที่คำนึงถึงผู้เข้าชมด้วยการเปิดโอกาสให้ได้เห็นภาพลักษณ์รวมของสวนจากที่สูง ไม่ว่าจากห้องภายในปราสาทเอง จากหน้าต่างชั้นบนในห้องหนึ่งห้องใดที่เปิดให้เข้าไปได้ หรือจากเนินสูง จากระเบียง หรือบนหลังคาป้อมที่สูงติดปราสาทอยู่ด้านหลัง. เจ้าของมีใจเอื้อเฟื้อมากกว่าผู้ใด. เพราะมีปราสาทน้อยแห่งมากในโลกที่ปล่อยให้นักท่องเที่ยว มีโอกาสแบบเดียวกันด้วยเหตุผลนานัปการ.
ปราสาทวิลล็องดรีมีพื้นที่ทั้งหมด 17 เอเครอหรือ 68,797 ตารางเมตร. ลักษณะพื้นที่เป็นหุบเขาย่อมๆนั้น เอื้ออำนวยให้จัดสรรค์สวนเป็นสามระดับ (terraced gardens). ระดับล่างสุดจัดเป็นสวนครัว. ระดับกลางเป็นสวนประดับกับสวนสมุนไพรที่มีพื้นที่ติดต่อกันด้านหนึ่ง. และระดับสูงที่สุดจัดเป็นสวนน้ำ. การดูแลสวนดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นไปตามโครงการที่จัดวางไว้อย่างละเอียดชัดเจนที่สุด. อย่างไรนั้น โปรดติดตามต่อไป.
1 สวนระดับหนึ่งเป็นสวนครัวหรือสวนผัก (Kitchen garden).
2 สวนระดับสอง(ใกล้ขอบบนของภาพ) เป็น"สวนรัก".
2a ที่อยู่ถัดไปทางขวา จัดเป็นสวนที่เสนอรูปลักษณ์ของไม้กางเขนแบบต่างๆ.
2b บริเวณนี้คือ"สวนดนตรี".
2c (ติดขอบล่างของภาพ) อยู่ในระดับสองเช่นกัน เป็นพื้นที่ยาวแคบจัดเป็น"สวนสมุนไพร".
3 (ติดขอบขวาค่อนไปทางมุมของภาพ) พื้นที่ยกระดับขึ้น เป็นระดับที่สาม จัดเป็น"สวนน้ำ".
สวนครัว
มีพื้นที่ทั้งหมด 12.500 ตารางเมตร เป็นสวนครัวแบบเรอแนสซ็องส์. แบ่งออกเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเก้าแปลงเท่าๆกัน. แต่ละแปลงจัดปลูกเป็นลวดลายเรขาคณิตที่ไม่เหมือนกัน. การทำสวนผักในยุโรปมีมาแต่โบราณกาลและโดยเฉพาะในยุคกลางที่มีเอกสารลายลักษณ์ยืนยัน. บาทหลวงตามวัดวาอารามเคยปลูกผักเป็นแปลงๆ ปลูกเป็นแถวเป็นแนวตามรูปลักษณ์เรขาคณิต. ทั้งยังประดับแปลงผักด้วยการปลูกต้นกุหลาบแทรกด้วย. ตามระบบสัญลักษณ์ในคริสตศาสนายุคกลางนั้น กุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของพระแม่มารี. ที่วิลล็องดรี(ดังจะได้กล่าวต่อไป) มีลวดลายของไม้กางเขนแบบต่างๆ แทรกอยู่ด้วย รวมทั้งปลูกต้นกุหลาบไว้ตรงกลางแปลงผัก เป็นต้น. เตือนให้ระลึกถึงขนบเก่าที่ปฏิบัติกันมาตามวัดและวิหาร ที่เจ้าของวิลล็องดรีต้องการสืบทอดต่อมา. อิทธิพลศิลปะอิตาเลียนอันมีการทำสระน้ำพุ การแต่งเล็มหรือดัดต้นไม้และการจัดปลูกดอกไม้เป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น. ชาวสวนฝรั่งเศสในศตววรษที่16 จึงรวมเอกลักษณ์จากศิลปะสวนในวัดกับศิลปะอุทยานอิตาเลียนและสร้างเป็นสวนผักประดับขึ้น. ทุกอย่างในยุคนั้นสืบสาวเกี่ยวพันอย่างใหล้ชิดกับการเดินเรือทะเลไปในดินแดนใหม่ๆ ทำให้ยุโรปมีพืชพันธุ์ใหม่ๆเข้ามา เกิดความจำเป็นในการหาวิธีถนอมพันธุ์ต่างๆด้วย. เกิดแนวโน้มใหม่ในการทำสวน ที่เคยเป็นเพียงสวนผักสวนสมุนไพรเท่านั้น มาเป็นสวนผักประดับ (potager decoratif) เปิดนำออกไปสู่อุดมการณ์แนวใหม่. โจอาคิมได้แรงบันดาลใจจากงานเขียนพรรณนาสวนในสมัยนั้นของตระกูลสถาปนิกชื่อ Androuet du Cerceau (ตระกูลฝรั่งเศสที่เด่นขึ้นมาในศตวรรษที่ 16 ผู้สร้างตำหนักของเจ้านาย สะพานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งมีส่วนสร้างพระราชวังลูเวรอ-Le Louvre กรุงปารีส ที่เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติในปัจจุบัน).
การเพาะปลูกผักคิดเตรียมกันระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม. เป็นงานซับซ้อนและใช้เวลามาก.
เจ้าของปราสาทกับชาวสวนทุกคน(ของปราสาท)ทำงานด้วยกันทั้งหมด. โครงการปลูกสวนครัวนี้มีสองโครงการในแต่ละปี. โครงการฤดูใบไม้ผลิ (ผักอยู่กับที่ บนพื้นสวนครัว ระหว่างเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน) กับโครงการฤดูร้อน (ผักอยู่กับดินในสวนครัว ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน).
โครงการฤดูร้อน คนสวนจะกำหนดภาพลักษณ์และสีสันของดอกและใบผัก ที่จะนำปลูกลงในสวนครัว ตามแบบที่ต้องการไม่เปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงฤดูใบไม้ร่วง. ผักสำคัญๆที่ปลูกกันคือ ผักกาด กะหล่ำประดับที่มีใบเขียวและใจกลางสีแดง กะหล่ำแดง ฟักทองรูปยาวรีแบบหมวกชาวเติร์กและรูปลักษณ์อื่นพันธุ์เดียวกัน บวบ หัวไชเท้าสีม่วงแดง หัวสีเขียวด้วยเซเลรีสีทอง(ขึ่นไฉ่ฝรั่ง), กะหล่ำดาว, แคร็อต, กระเทียมใบ, มะเขือแดง, พริก, มะเขือเทศเชอรี, หอมจีน, ผักชีฝรั่ง, ใบแมงลัก, หัวบีตรู้ตประเภทกลมกับประเภทยาว, แอปเปิลพันธุ์ขม, ชิคอรี และเอ็นดิฟเป็นต้น. ส่วนดอกไม้ที่ประดับขอบสวนผักแต่ละแปลง เป็นดอกไม้ประจำปี เช่นดอกเปตูเนีย (petunias) ดอกแวรเบนา(verbena) และดอกเซจสีน้ำเงิน (blue sage) กับมีต้นส้มพันธุ์ rudbeckia ล้อมรอบสวนครัว.
โดยสรุปแล้ว ใช้พืชพันธุ์ดอกประมาณ 30.000 ต้นและพืชพันธุ์ผักอีก 50.000 ต้นในฤดูใบไม้ผลิ และอีก 30.000 ต้นในฤดูร้อน นั่นคือสวนครัววิลล็องดรีปลูกพืชผักปีละประมาณ 110.000 ต้นจึงเต็มพื้นที่ทั้งหมดของสวนครัวที่นั่น. ผักที่ปลูกมีประมาณสี่สิบชนิดจากผักตระกูลต่างๆแปดตระกูล. ที่วิลล็องดรีไม่ปลูกมันฝรั่ง
เพราะสวนศตวรรษที่ 16 ย่อมยังไม่รู้จักมันฝรั่งที่ค้นพบและนำเข้าต่อมาในยุโรป(ในสเปนก่อนที่อื่นใด)
จากทวีปอเมริกาใต้ในศตวรรษที่ 16 มันฝรั่งในยุคนั้นมาในฐานะของพืชประหลาด มีการนำไปประดับ และในศตวรรษที่ 18 เท่านั้นที่คนปลูกมันฝรั่งอย่างแพร่หลายทั่วไปเพื่อเป็นอาหารพื้นฐานอย่างหนึ่งของคนยุโรป.
การปลูกตามโครงการสองรอบดังกล่าว ยึดหลักการการปรับเข้ากับวิธีการด้านเทคนิคและแนวสุนทรีย์ที่ต้องการด้วย. ด้านเทคนิคนั้นยึดการปลูกพืชสลับเป็นสำคัญ.
เช่นไม่ปลูกต้นแคร็อตลงในพื้นที่ที่ปลูกเซเลรีในปีก่อน. ทั้งนี้เพราะพืชทั้งสองในความเป็นจริงเชิงชีวศาสตร์
คือพืชตระกูลเดียวกัน (ตระกูล umbelliferae) ดังนั้นทั้งสองชนิดจะดูดเกลือแร่ประเภทเดียวกันจากดิน
และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อประเภทเดียวกันจากดินด้วย. การรู้จักพืชพันธุ์ตระกูลต่างๆจึงเป็นความรู้สำคัญที่ช่วยจัดระบบการปลูกพืชลงในสวนครัว.
การปลูกพืชสลับจึงจำเป็นสำหรับการธำรงคุณภาพดิน และเป็นการช่วยพันธุ์พืชให้มีกำลังสู้กับภัยจากโรคพืชชนิดต่างๆด้วย. ผักสำคัญๆ(ในโลก) แบ่งย่อยออกเป็นตระกูลพืชแปดตระกูล. ตามหลักการที่ดีและถูกต้องที่สุดนั้น ควรปล่อยที่ดินให้เว้นว่างไว้สามปี ก่อนที่จะปลูกพืชผักในตระกูลใดก็ตามลงในพื้นที่แปลงนั้น.
เมื่อเข้าใจหลักการนี้แล้ว จะเห็นว่าปัญหาการปลูกผักที่วิลล็องดรีนั้นสลับซับซ้อนเพียงใด เพราะที่นั่นปลูกพืชผักสองครั้งต่อปีด้วยการปลูกลงในที่ดินแปลงเดียวกัน.
การเลือกผักที่จะปลูกและการดูแลรักษาดินจึงเป็นปัญหาสำคัญยิ่ง เพราะเกี่ยวกับความอยู่รอดของพืชผักและของดินแต่ละแปลงควบคู่กันไป.
ในด้านสุนทรีย์ของสวนครัว สีและรูปลักษณ์ของผักที่ปลูกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการสร้างหรือประกอบเป็นดีไซนสวนแต่ละแปลง. ปัญหานี้ ก็ยุ่งยากพอสมควร ทั้งนี้เพราะผักหลากหลายพันธุ์นั้น แท้จริงมีสีแตกต่างกันน้อยมาก ตัวอย่างเช่น จะหลีกเลี่ยงไม่ปลูกต้นพริกใกล้ต้นมะเขือเทศ เพราะใบของพืชทั้งสองชนิดมีสีเกือบคล้ายกัน. ที่วิลล็องดรี คนสวนพยายามปลูกพืชผักที่มีสีที่ตัดกันมากที่สุด เช่นให้มีสีเขียวแบบหยกของต้นแคร็อตใกล้กับใบสีเขียวอมน้ำเงินของต้นกระเทียมใบ (Solaise leeks) หรือให้ใบสีแดงของต้นบีตรู๊ตอยู่ใกล้กับใบเขียวออกสีทองของต้นเซเลรี. ผักที่เติบโตเร็วและลำต้นสูงกว่าเช่นต้นบวบแดงและต้นอาร์ติโชก จะปลูกให้อยู่กับผักที่ขึ้นเรี่ยกับดินเช่นผักสลัดเป็นต้น. จุดยืนสำคัญคือ การหยุดใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกผัก และใช้เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ที่คนสวนผลิตขึ้นใช้เองเท่านั้นด้วย
มุมมองต่างๆภายในบริเวณสวนครัว
ในด้านสุนทรีย์ของสวนครัว สีและรูปลักษณ์ของผักที่ปลูกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการสร้างหรือประกอบเป็นดีไซนสวนแต่ละแปลง. ปัญหานี้ ก็ยุ่งยากพอสมควร ทั้งนี้เพราะผักหลากหลายพันธุ์นั้น แท้จริงมีสีแตกต่างกันน้อยมาก ตัวอย่างเช่น จะหลีกเลี่ยงไม่ปลูกต้นพริกใกล้ต้นมะเขือเทศ เพราะใบของพืชทั้งสองชนิดมีสีเกือบคล้ายกัน. ที่วิลล็องดรี คนสวนพยายามปลูกพืชผักที่มีสีที่ตัดกันมากที่สุด เช่นให้มีสีเขียวแบบหยกของต้นแคร็อตใกล้กับใบสีเขียวอมน้ำเงินของต้นกระเทียมใบ (Solaise leeks) หรือให้ใบสีแดงของต้นบีตรู๊ตอยู่ใกล้กับใบเขียวออกสีทองของต้นเซเลรี. ผักที่เติบโตเร็วและลำต้นสูงกว่าเช่นต้นบวบแดงและต้นอาร์ติโชก จะปลูกให้อยู่กับผักที่ขึ้นเรี่ยกับดินเช่นผักสลัดเป็นต้น. จุดยืนสำคัญคือ การหยุดใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกผัก และใช้เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ที่คนสวนผลิตขึ้นใช้เองเท่านั้นด้วย
ต้นสาลี่กับดอกไม้ประดับสวนผักด้วยเพื่อเพิ่มสีสันของสวนผัก.
สวนประดับ
บนระดับสองของพื้นที่
สวนประดับของวิลล็องดรีอยู่บนพื้นระดับเดียวกับห้องนั่งเล่นของปราสาท ที่หันไปทางทิศใต้อันเป็นทิศที่ตั้งสวน. ระหว่างฤดูร้อนมีกระถางต้นส้มประดับเป็นระยะ. จากห้องนั่งเล่นก็ยังมองเห็นวิวสวนครัวได้. สวนประดับจึงเหมือนส่วนหนึ่งของห้องนั่งเล่นที่ยื่นออกไปนอกชายคา. สวนประดับตรงนี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า สวนแห่งความรัก หรือสวนรัก (Jardins d'Amour). สวนรักสี่แปลงแรกที่ใกล้ตำหนักมากที่สุด เป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลวดลายที่สร้างสรรค์ไว้ (ด้วยต้นไม้และดอกไม้) สื่อนัยยะพิเศษตามที่เจ้าของต้องการดังนี้
สวนประดับของวิลล็องดรีอยู่บนพื้นระดับเดียวกับห้องนั่งเล่นของปราสาท ที่หันไปทางทิศใต้อันเป็นทิศที่ตั้งสวน. ระหว่างฤดูร้อนมีกระถางต้นส้มประดับเป็นระยะ. จากห้องนั่งเล่นก็ยังมองเห็นวิวสวนครัวได้. สวนประดับจึงเหมือนส่วนหนึ่งของห้องนั่งเล่นที่ยื่นออกไปนอกชายคา. สวนประดับตรงนี้มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า สวนแห่งความรัก หรือสวนรัก (Jardins d'Amour). สวนรักสี่แปลงแรกที่ใกล้ตำหนักมากที่สุด เป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ลวดลายที่สร้างสรรค์ไว้ (ด้วยต้นไม้และดอกไม้) สื่อนัยยะพิเศษตามที่เจ้าของต้องการดังนี้
แปลงที่สอง เรียกชื่อว่า L'Amour volage สื่อความรักอันฉาบฉวยชั่วครู่ชั่วยามไม่จริงจัง. เปรียบได้กับความหอมที่ล่องลอยหายไปในเวลาอันรวดเร็ว. ภาพลักษณ์ของต้นไม้เป็นรูปพัดที่ปลูกในสี่มุมสื่อความรักแบบนี้. ระหว่างลวดลายรูปพัด มีลายที่แยกออกเป็นมุมแหลมสองข้างคั่นไว้. เน้นนัยของความรักที่ถูกทรยศหักหลัง เหมือนสองเขาที่ปรากฏใช้ในสำนวนทั้งฝรั่งเศสและไทยในความหมายว่าคู่รักมีชู้ ถูกสวมเขา เป็นต้น.
แปลงที่สาม เรียกว่า L'Amour tendre สื่อความรักอันบริสุทธิ์อ่อนโยน. มีเปลวไฟขนาบสองข้างลายหัวใจ. ตรงกลางแปลงสื่อหน้ากากที่ชาววังใช้ปิดหน้าเมื่อออกงานเต้นรำ และทำให้สามารถพูดคุยได้ทุกอย่างในเมื่อปิดบัง"ความเป็นตนหรือฐานะที่แท้จริงของตน"แล้ว. การสนทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น จึงมีทั้งเรื่องคอขาดบาดตายหรือเรื่องฉาบฉวย.
แปลงที่สี่ เรียกว่า L'Amour tragique สื่อความรักรันทดอันแสนสลดใจ. ลวดลายเป็นรูปลักษณ์ของมีดสองคมของดาบที่ใช้ต่อสู้กันยามที่ต้องชิงตัวนางผู้เป็นที่รักกับคู่แข่งคนอื่นๆ. ระหว่างฤดูร้อนดอกไม้ในแปลงนี้จะเป็นสีแดง สื่อเลือดที่แผ่กระจายหลังการดวลดาบ.
นี่เป็นตัวอย่างชัดเจนว่า การพรรณนาด้วยภาษา(และโดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศส) สุดละเอียดลึกซึ้ง ทั้งยังแฝงด้วยปรัชญาเข้าไปด้วย ต่อเมื่อเราคุ้นเคยกับการคิดตามคนฝรั่งเศส(หรือชาวตะวันตก) จนสามารถเจาะลึกเข้าไปในกระเป๋าจินตนาการของชาวตะวันตก เมื่อนั้นแหละที่เราพูดได้ว่า เราเข้าถึงวัฒนธรรมตะวันตกเกิน 50%
นี่ก็เป็นอุทาหรณ์ว่า การจะเข้าใจงานสร้างสรรค์ของศิลปินต้องให้เวลา
ต้องติดตามฟังคำวิพากษณ์วิจารณ์ของนักวิจารณ์ศิลป์ชาวตะวันตกที่เขาเข้าใจเกินกว่า 80-90% (อย่างน้อยก็มากกว่าเราชาวเอเชีย)
เมื่อได้ฟังได้อ่าน มันจะช่วยให้เราเข้าถึงและมองดูงานศิลป์นั้นแบบจับแรงบันดาลใจมาไว้เป็นประโยชน์แก่เราได้
(เหมือนดวงตาเห็นธรรมเรืองรองอยู่ข้างหน้า) วิธีฝึกทักษะของเราแบบง่ายที่สุด คือเมื่อไปงานแสดงศิลป์ที่ใด
ไปพิพิธภัณฑ์ใด ต้องฉวยโอกาสให้ความรู้แก่ตนเอง ด้วยการเช่าคำบรรยายที่เขามีไว้พร้อมบริการ
เปิดฟังไปขณะที่ดูงานศิลป์ตามตัวอย่างที่เขาเลือกเสนอ คนที่ให้เวลาตัวเองแบบนี้เท่านั้น จึงจะได้เห็นแสงเรืองรองที่แผ่ออกมาจากงานชิ้นนั้นและที่อาจดลใจคนนั้นในการสร้างสรรค์ในโลกส่วนตัวของเขา
สวนรักนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 5.000 ตารางเมตร มีต้นบ๊อกส์ (box tree) สูง 70 เซ็นติเมตร ตัดและเล็มเป็นขอบและเป็นกรอบของแต่ละแปลง
และต้นยิว (yew) สูง 2 เมตรปลูกให้แทนเสาหลักสี่ทิศของแต่ละแปลง
โดยมีดอกไม้สีๆปลูกเต็มช่องว่างระหว่างลาย. เช่นเดียวกับพืชผักในสวนครัว
ดอกไม้ในสวนรักนี้เปลี่ยนสองครั้งต่อปี. สำหรับฤดูใบไม้ผลิ เป็นดอกไม้พันธุ์หัวอันมีทิวลิปเป็นดาราเด่นที่มีทั้งสีชมพู แดง เหลืองและขาว. นอกจากทิวลิปยังมีดอกฟอร์เก็ตมีน็อต.
ดอกไม้ที่ปลูกสำหรับฤดูใบไม้ผลิรวมกันเป็นจำนวน 40.000 ต้น. ดอกไม้สำหรับฤดูใบไม้ผลิ คนสวนนำหัวทิวลิปปักลงดินแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อนหน้านั้นภายในห้องเพาะเย็นและนำลงดินในสวนครัวกลางเดือนมีนาคม. ดอกไม้สำหรับฤดูร้อนนั้นใช้ดอกดาเลีย(dahlia)เท่านั้น ทั้งหมด20.000 ต้น. ขอบของสวนรักที่เรียบฝั่งธารน้ำปลูกต้นลิลลีเป็นแนวไปโดยตลอด. (วันที่ไปเยือนที่นั่นในเดือนกันยายนไม่มีดอกลิลลีแล้ว)
ในพื้นที่อีกแปลงหนึ่งที่ขนาบเหนือแปลงที่สามและสี่ของสวนรัก ใกล้สระน้ำพุภายในอาคารเล็กๆสีขาวที่เห็นในภาพ) จัดเป็นสวนแห่งศรัทธา ตรงกลางแปลงจัดลวดลายเป็นสัญลักษณ์ของไม้กางเขนแบบมัลต์ (la Croix de Malte) ไม้กางเขนสีเขียวบนพื้นสีแดง. มุมขวาเป็นไม้กางเขนแบบล็องเกอด็อก (la Croix de Languedoc) และในมุมซ้ายเป็นลายไม้กางเขนแบบเปยีบัซก์ (la Croix du Pays Basque).
เมื่อข้ามธารน้ำไปบนฝั่งตรงข้ามซึ่งยังคงอยู่ในพื้นดินระดับสองเดียวกันนี้ เป็นสวนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งฉากกับสวนรัก. บริเวณนี้ จัดลวดลายสวนให้เป็นสัญลักษณ์ของดนตรี(ที่ดูไม่ชัดเจนนัก) โดยใช้ต้นบ็อกส์เป็นขอบเป็นกรอบและต้นยิวแทนเสาที่ปลูกไว้สี่มุมของแต่ละกรอบ เหมือนในสวนรัก. "สวนดนตรี" นี้ มีพื้นที่ 6.500 ตารางเมตร.
ภายในช่องว่างระหว่างลาย
ปลูกต้นไม้ดอกประเภทเดียวกับที่ใช้ในสวนครัวบนพื้นระดับหนึ่ง (ใช้ประมาณ 13.000 ต้น) และยังมีต้นแอสเตอร์ (asters ที่มีทั้งสีขาวเหลืองและม่วง มีใจกลางดอกสีเหลือง) อีก 1000 ต้น กับต้นลาเวนเดอร์และต้นกุหลาบ.
นอกจากนี้ ยังมีสวนสมุนไพร ที่เรียกชื่อว่า Jardin des Simples ที่เราอยากจะแปลว่าสวนชาวบ้าน. บนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวขนานไปกับสวนครัว
สุดอาณาเขตของวังทางทิศตะวันตก ไกลออกไปคือที่ตั้งของหมู่บ้านวิลล็องดรี.
บนพื้นที่ผืนยาวสูงเป็นเทอเรสนี้ (ยังอยู่ในระดับสอง) จัดสรรค์เป็นวงกลมสามวง ที่ใช้เป็นที่ปลูกพืชสมุนไพร.วิลล็องดรีปลูกพืชสมุนไพรทั้งหมด
32 ชนิด (เช่น chervil
chartreuse-ที่บาทหลวงใช้ทำเหล้า Grande Chartreuse ที่มีกลิ่นหอมชื่นใจดีทีเดียว ส่วนประกอบของเหล้า
Chartreuse นั้นเช่น tarragon, fennel,
germander, hyssop, marjoram, Melissa, mallow, white mint, horseradish, medicinal verbena เป็นต้น). สวนสมุนไพรเป็นสวนชนิดเดียวที่ยุโรปปลูกกันมาจนถึงศตวรรษที่ 16-17. เป็นสวนที่บาทหลวงตามวัดและวิหารต่างๆเป็นผู้เริ่มขึ้น พืชพันธุ์ที่ปลูกตั้งแต่ยุคกลางมานั้นส่วนใหญ่เพื่อใช้เป็นยา
ตามด้วยการปลูกพืชที่นำมาปรุงแต่งรสในการประกอบอาหาร. เมื่อสวนสมุนไพรออกจากรั้ววัดวาอารามสู่ชาวบ้าน พืชสมุนไพรกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน.
สวนน้ำ
สวนน้ำจัดอยู่บนพื้นที่ 12.500 ตารางเมตรบนความสูงระดับสาม มีต้นไลม(lime tree/tilleul) ปลูกเป็นสองแถวบนทางเดินที่ล้อมรอบพื้นที่สวนน้ำ ที่สร้างเป็นสระจมลงจากเนินที่ปลูกต้นไลม. มีทั้งหมด 1260 ต้น. ร่มไม้เอื้ออำนวยต่อการเดินเล่นพักผ่อนหรือปล่อยความคิดคำนึงถึงหัวข้อต่างๆทั้งความฝันหรือปรัชญาชีวิต. บนพื้นที่ที่จัดทำสวนน้ำ มีสนามหญ้ากว้าง. ตรงกลางเป็นสระน้ำใหญ่ไม่มีน้ำพุขนาด 3000 ตารางเมตร. เจ้าของต้องการให้สระน้ำเป็นกระจก เป็นกระจกในสไตล์ของพระเจ้าหลึยส์?สิบห้า ที่เรียกกันว่า le miroir Louis XV. สระกระจกนี้เก็บน้ำทั้งหมดที่ใช้สำหรับการชลประทานในสวนวิลล็องดรี รวมน้ำพุต่างๆด้วย. ในสมัยก่อนน้ำในสระมาจากตาน้ำบาดาลที่อยู่ใต้หมู่บ้านวิลล็องดรี. ตาน้ำนี้มีปริมาณน้ำมากเพียงพอและไหลเข้าสู่คูที่ล้อมรอบปราสาท. แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีโรงงานมาตั้งอยู่ในวิลล็องดรีและอาศัยน้ำจากตาน้ำบาดาสเดียวกัน ทำให้มวลน้ำที่อยู่ใต้ดินในวิลล็องดรีลดปริมาณลงมาก จนในที่สุดปราสาทวิลล็องดรีต้องปั๊มน้ำขึ้นใช้ในฤดูร้อน (ในปริมาณ7คิวบิคเมตรต่อชั่วโมง).
สวนน้ำ
สวนน้ำจัดอยู่บนพื้นที่ 12.500 ตารางเมตรบนความสูงระดับสาม มีต้นไลม(lime tree/tilleul) ปลูกเป็นสองแถวบนทางเดินที่ล้อมรอบพื้นที่สวนน้ำ ที่สร้างเป็นสระจมลงจากเนินที่ปลูกต้นไลม. มีทั้งหมด 1260 ต้น. ร่มไม้เอื้ออำนวยต่อการเดินเล่นพักผ่อนหรือปล่อยความคิดคำนึงถึงหัวข้อต่างๆทั้งความฝันหรือปรัชญาชีวิต. บนพื้นที่ที่จัดทำสวนน้ำ มีสนามหญ้ากว้าง. ตรงกลางเป็นสระน้ำใหญ่ไม่มีน้ำพุขนาด 3000 ตารางเมตร. เจ้าของต้องการให้สระน้ำเป็นกระจก เป็นกระจกในสไตล์ของพระเจ้าหลึยส์?สิบห้า ที่เรียกกันว่า le miroir Louis XV. สระกระจกนี้เก็บน้ำทั้งหมดที่ใช้สำหรับการชลประทานในสวนวิลล็องดรี รวมน้ำพุต่างๆด้วย. ในสมัยก่อนน้ำในสระมาจากตาน้ำบาดาลที่อยู่ใต้หมู่บ้านวิลล็องดรี. ตาน้ำนี้มีปริมาณน้ำมากเพียงพอและไหลเข้าสู่คูที่ล้อมรอบปราสาท. แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีโรงงานมาตั้งอยู่ในวิลล็องดรีและอาศัยน้ำจากตาน้ำบาดาสเดียวกัน ทำให้มวลน้ำที่อยู่ใต้ดินในวิลล็องดรีลดปริมาณลงมาก จนในที่สุดปราสาทวิลล็องดรีต้องปั๊มน้ำขึ้นใช้ในฤดูร้อน (ในปริมาณ7คิวบิคเมตรต่อชั่วโมง).
ให้สังเกตแนวต้นไลมที่ปลูกไว้สองแถวโดยรอบบริเวณสวนกระจกนี้.
สระน้ำรูปกระจกพระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้า
ในด้านสุนทรีย์ น้ำในสระเป็นกระจกใสสะท้อนแสงและท้องฟ้า ในด้านเทคนิค สระนี้ยังทำหน้าที่สำคัญของการปรับอุณหภูมิน้ำที่ขึ้นมาจากใต้บาดาล(ซึ่งเย็นมาก) และเป็นที่ที่มวลน้ำใหม่จากใต้บาดาลได้หายใจปรับอณูภายในเมื่อสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน. แต่ละข้างตามแนวสูงของสระกระจก มีสระน้ำพุรูปกลมสองสระ. สถาปัตยกรรมสวนน้ำนี้ แบบเรียบง่าย และสบายตาสบายใจเมื่อไปเดินในบริเวณนั้น. น้ำจากสระไหลลงคูยาวที่ขนาบสวนรัก เลียบลานหน้าปราสาทออกไป. ตรงทางลงจากสระกระจก จัดเป็นขั้นบันได ให้เหมือนขั้นน้ำตก มีประติมากรรมประดับ.
ให้สังเกตว่ามีซุ้มทำเป็นแนวยาวโดยตลอดคูน้ำและระหว่างสวนระดับที่หนึ่งและที่สอง
เป็นซุ้มปลูกต้นองุ่น ปลูกทั้งองุ่นแดงและองุ่นขาว.
สุดบริเวณไปในทิศตะวันออกเฉียงใต้
มีกรีนเฮาส์สามหลังที่ปรับอุณหภูมิด้วยเครื่องทำความร้อน รวมเป็นพื้นที่ราว 150 ตารางเมตร มีอุโมงค์ต้นไม้
(ใช้ต้นไม้ใหญ่ๆปลูกสร้างเป็นพื้นที่ภายในแบบเดียวกับลักษณะของอุโมงค์) มีพื้นที่ 130 ตารางเมตร. ยังมีโครงสร้างเป็นเนื้อที่คลุมกันลมแต่ไม่มีเครื่องปรับอุณหภูมิ
ยาวถึง 500 เมตร เรียกกันว่าเป็น "ที่เพาะเย็น". ทั้งหมดนี้เพื่อเลี้ยงดูและเพาะต้นไม้ ดอกไม้พืชผักใหม่ๆสำหรับสวนวิลล็องดรี. 70 %ของพืชพันธุ์ทั้งหมดในสวนวิลล็องดรี เป็นต้นที่เกิดและเติบโตในกรีนเฮาส์นี่เอง.
การสร้างเป็นเต๊นท์หลังคาทรงกลมก็เพื่อเก็บรักษาหรือเพาะพันธุ์พืชแบบหนึ่ง ยังมีพื้นที่ด้านหลังสระกระจกที่ใช้ปลูกผักเป็นแปลงคิดว่าเพื่อใช้แทนต้นที่แย่ๆในสวนผัก. ปุ๋ยที่ใช้ที่นี่ส่วนใหญ่มาจากมูลวัวที่เน่าเปื่อยที่สลายตัวลงแล้วมากที่สุดที่จะเป็นไปได้. มูลนี้มีปริมาตรประมาณ 60 คิวบิคเมตร. นอกจากนี้ยังมีปุ๋ยที่ทำจากพืชผักในสวนครัว. ที่นั่นไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในการปลูกผัก
และใช้เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ที่คนสวนผลิตขึ้นใช้เองเท่านั้นด้วย. พืชผักทั้งหลายที่กินได้เมื่อถึงเวลาจะแจกจ่ายไปในหมู่คนสวนของที่นี่ ใครกินได้เท่าไรก็เอาไปได้เลย. เขาไม่มีโครงการจะขายผลผลิตใดๆของสวนที่นี่(ข้อมูลปี
2003). ส่วนที่เหลือนั้นก็ไม่เสียเปล่า เพราะจะนำไปทิ้งให้เปื่อยสลายตัวลงเป็นปุ๋ยและกลับคืนสู่สวนไปในที่สุด.
ตารางเคร่าๆของงานสวนในปราสาทวิลล็องดรี
เดือนมกราคม เล็มและตัดต้นไลมทั้งหมด 1260 ต้น ทำกันแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม. ตัดเล็มกิ่งก้านของต้นผลไม้ที่ปลูกในสวนครัว. ในสวนครัวแต่ละแปลงนั้น(มีเก้าแปลง) มีต้นสาลี่ที่ปลูกค้ำ(ให้อยู่ในรูปลักษณ์ที่ต้องการ) 16 ต้น แอปเปิลที่ผูกกิ่งทอดเป็นระย้าไป 40 ต้น และต้นกุหลาบแบบมาตรฐานอีก 36 ต้น. ดูแลโครงสร้างไม้ ลักษณะกระโจมหลังคากลม (ที่ปลูกพันธุ์ไม้เลื้อยขึ้นคลุมหลังคา) และที่มีม้านั่งภายใน. โครงสร้างแบบนี้อยู่เป็นชุดๆละสี่กระโจม ตั้งตรงมุมแปลงสวนผักสี่แปลงที่อยู่คู่ขนานกัน. ตรงกลางชุดหรือบนทางเดินที่ตัดเชื่อมกับแปลงอื่นนั้นมีสระน้ำพุขนาดเล็กๆ. ดูแลป่าบนเนินเขาสูงที่อยู่เหนือพื้นที่ปราสาทวิลล็องดรีทางทิศตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 7 ตารางกิโลเมตร.
เดือนกุมภาพันธ์ ตัดเล็มต้นไลมต่อในเดือนนี้ ใบต้นไลมที่ตกเกลื่อนในฤดูใบไม้ผลิจะถูกกวาดเอาไปผสมกับมูลม้า ประมาณ 100 คิวบิคเมตรทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใช้ในสวนวิลล็องดรีต่อไป. ตัดกิ่งต้นองุ่นที่ปลูกเป็นแนวยาวบนพื้นที่ที่ต่อ ระหว่างสวนครัวกับสวนดนตรีและแถวสวนครัวด้านที่ติดกับกำแพงสู่ภายนอกวัง. หว่านเมล็ดต้นเปตูเนีย แวรบีนา ฯลฯในกรีนเฮาส์ ที่ปรับอุณหภูมิให้อบอุ่นพอ. ถึงปลายเดือนต้นไลมถูกตัดเล็มได้ขนาดเสมอกันทุกต้นแล้ว.
เดือนมีนาคม หว่านเมล็ดผักจำนวน 30.000 ต้น (ได้แก่ผักจำพวกกะหล่ำและผักสลัด) ใน"ที่เพาะเย็น" เพื่อนำออกไปปลูกลงดินในสวนครัวในฤดูใบไม้ผลิ. ในขณะเดียวกันก็ดูแลต้นผลไม้และตัดกิ่งต้นกุหลาบรวมทั้งเล็มแนวต้นบ็อกส์เตี้ยๆในสวนครัว ซึ่งถ้ารวมกันเป็นเส้นตรงแล้วจะยาวถึง 5.000 เมตร. กลางเดือนมีนาคม คนสวนนำต้นไม้ตามโครงการฤดูใบไม้ผลิลงดินในสวน.
ตารางเคร่าๆของงานสวนในปราสาทวิลล็องดรี
เดือนมกราคม เล็มและตัดต้นไลมทั้งหมด 1260 ต้น ทำกันแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม. ตัดเล็มกิ่งก้านของต้นผลไม้ที่ปลูกในสวนครัว. ในสวนครัวแต่ละแปลงนั้น(มีเก้าแปลง) มีต้นสาลี่ที่ปลูกค้ำ(ให้อยู่ในรูปลักษณ์ที่ต้องการ) 16 ต้น แอปเปิลที่ผูกกิ่งทอดเป็นระย้าไป 40 ต้น และต้นกุหลาบแบบมาตรฐานอีก 36 ต้น. ดูแลโครงสร้างไม้ ลักษณะกระโจมหลังคากลม (ที่ปลูกพันธุ์ไม้เลื้อยขึ้นคลุมหลังคา) และที่มีม้านั่งภายใน. โครงสร้างแบบนี้อยู่เป็นชุดๆละสี่กระโจม ตั้งตรงมุมแปลงสวนผักสี่แปลงที่อยู่คู่ขนานกัน. ตรงกลางชุดหรือบนทางเดินที่ตัดเชื่อมกับแปลงอื่นนั้นมีสระน้ำพุขนาดเล็กๆ. ดูแลป่าบนเนินเขาสูงที่อยู่เหนือพื้นที่ปราสาทวิลล็องดรีทางทิศตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 7 ตารางกิโลเมตร.
เดือนกุมภาพันธ์ ตัดเล็มต้นไลมต่อในเดือนนี้ ใบต้นไลมที่ตกเกลื่อนในฤดูใบไม้ผลิจะถูกกวาดเอาไปผสมกับมูลม้า ประมาณ 100 คิวบิคเมตรทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใช้ในสวนวิลล็องดรีต่อไป. ตัดกิ่งต้นองุ่นที่ปลูกเป็นแนวยาวบนพื้นที่ที่ต่อ ระหว่างสวนครัวกับสวนดนตรีและแถวสวนครัวด้านที่ติดกับกำแพงสู่ภายนอกวัง. หว่านเมล็ดต้นเปตูเนีย แวรบีนา ฯลฯในกรีนเฮาส์ ที่ปรับอุณหภูมิให้อบอุ่นพอ. ถึงปลายเดือนต้นไลมถูกตัดเล็มได้ขนาดเสมอกันทุกต้นแล้ว.
เดือนมีนาคม หว่านเมล็ดผักจำนวน 30.000 ต้น (ได้แก่ผักจำพวกกะหล่ำและผักสลัด) ใน"ที่เพาะเย็น" เพื่อนำออกไปปลูกลงดินในสวนครัวในฤดูใบไม้ผลิ. ในขณะเดียวกันก็ดูแลต้นผลไม้และตัดกิ่งต้นกุหลาบรวมทั้งเล็มแนวต้นบ็อกส์เตี้ยๆในสวนครัว ซึ่งถ้ารวมกันเป็นเส้นตรงแล้วจะยาวถึง 5.000 เมตร. กลางเดือนมีนาคม คนสวนนำต้นไม้ตามโครงการฤดูใบไม้ผลิลงดินในสวน.
เดือนเมษายน หว่านเมล็ดต้นเล็นทิล (lentils ถั่วแขก). เอากะหล่ำฤดูใบไม้ผลิที่หว่านไว้ในที่เพาะเย็นหรือในพื้นที่อุ่นลงกระถางและยังเก็บไว้ในกรีนเฮาส์. ตัดเล็มกิ่งของต้นบ็อกส์ขนาดเล็กที่มีในสวนครัว(รวมกันเป็นความยาวถึง
7,000 เมตร).
เดือนพฤษภาคม ต้นเดือนหว่านเมล็ดพืชผักตามโครงการฤดูร้อนลงในบริเวณที่เพาะเย็นเช่นต้นพริก, บวบแดง, กะหล่ำ, ใบแมงลัก, เซเลรีใบทองและมะเขือเทศเป็นต้น.
เดือนมิถุนายน พืชตามโครงการฤดูใบไม้ผลิถูกย้ายออกจากสวน. พืชผักตามโครงการฤดูร้อนเข้าแทนที่. พืชผักฤดูร้อนพวกนี้ หว่านและเพาะมาจากกรีนเฮาส์แล้ว ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 30.000 ต้น.และดอกไม้บางชนิดก็นำมาลงดินในสวนครัวด้วยเช่น เปตูเนีย, เบโกเนีย ฯลฯ รวมกันมีถึง15.000 ต้น.
เดือนกรกฎาคม หว่านพืชประเภทอายุนานเกินสองปีอันมี ฟอร์เก็ตมีน็อต, เดซีและแพนซี พืชเหล่านี้จะนำออกปลูกลงดินในสวนในฤดูใบไม้ร่วงเพื่อที่มันจะออกดอกในฤดูใบไม้ผลิปีต่อไป. ตัดกิ่งรั้วต้นไม้ในสวนรัก. ตัดและจัดกิ่งต้นสาลี่และแอปเปิลในสวนครัวเป็นครั้งที่สอง และผูกกิ่งก้านของต้นองุ่นและชำกิ่งด้วย.
เดือนสิงหาคม กำจัดวัชพืชและหญ้าแพรก. เปิดน้ำรดต้นไม้สม่ำเสมอ. ตัดดอกตูมๆของดาเลียออกทิ้งบ้าง (เหมือนต้นเบญจมาศ กิ่งหนึ่งมีดอกตูมๆเกิดติดกันเป็นกระจุก ดอกตูมเหล่านี้จะไม่บาน จึงตัดทิ้งออกบ้าง เพื่อให้อาหารไปสู่ดอกตูมไม่กี่ดอกที่จะบานสวยงาม). ตัดและจัดกิ่งพุ่มดอกลาเวนเดอร์.
เดือนกันยายน ตัดเล็มต้นยิวที่มีประมาณ 140 ต้นและต้นบ็อกส์ในสวนประดับ. โครงการฟื้นฟูสวนเช่นปลูกต้นไม้ เลี้ยงสนามหญ้า ฯลฯ ที่จะทำในระหว่างฤดูหนาวนั้น เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนนี้.
เดือนตุลาคม ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปลายเดือน คนสวนดึงดอกไม้ฤดูร้อนในสวนออกทิ้งและนำดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วงไปปลูกลงแทนที่ เหง้าทิวลิปประมาณ 20.000 หัวและเหง้าฟอร์เก็ตมีน็อตอีกประมาณ 20.000 หัว ทั้งหมดจะนำลงดิน ปลูกในสวนประดับทั้งในสวนรักและสวนดนตรี ต้นไม้ดอกเหล่านี้จะมีดอกในฤดูใบไม้ผลิปีถัดไป.
เดือนพฤษศจิกายน จบการปลูกเหง้าทิวลิปและฟอร์เก็ตมีน็อต. ได้เวลาที่คนสวนย้อนกลับมาดูแลสวนป่าบนเนินและเริ่มนำกระถางต้นส้มเข้าเก็บในตึกอนุบาลพืชพรรณ. ตระเตรียมโครงการเพาะปลูกสวนสำหรับปีต่อไป.
เดือนธันวาคม ดึงผักต่างๆที่ยังเหลืออยู่ออกจนหมด. แผ่ปุ๋ยกระจายไปบนพื้นสวน. ขุดดินกลับดินและเกลี่ยดินให้พร้อมแต่ละแปลงไว้. และได้เวลาเริ่มตัดกิ่งต้นไลมอีกครั้งแล้ว.
ที่วิลล็องดรี ระบบการรดน้ำอัตโนมัติควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รดน้ำสวนทุกสวน. ระบบนี้จัดฝังไว้ใต้ดินทั้งสวน. น้ำจะกระจายออกจากพื้นดินเป็นฝนฝอยละเอียดและหมุนไปเป็นวงกลม. ในหนึ่งชั่วโมง น้ำประมาณ 7 มิลลิเมตรจะซึมลงในพื้นสวน. ในสวนครัว ระบบรดน้ำอัตโนมัตินี้ มีหัวรดน้ำฝังไว้ 44 หัวต่อพื้นที่สวนผักหนึ่งแปลง. หัวรดน้ำสามารถทำงานพร้อมกันในคราวเดียว 50 หัว.จำนวนน้ำที่ใช้ทั้งหมดมาจากสวนกระจก และใช้น้ำประมาณ 30 คิวบิคเมตรต่อชั่วโมง. สวนทุกหย่อมจะได้รับการฉีดรดน้ำแบบนี้ระหว่างเวลา 9 นาฬิกาตอนค่ำและระหว่างตีห้า. ในช่วงที่อากาศร้อนและแห้งมาก จะรดน้ำสวนครัวทุกสองวัน. ระบบรดน้ำอัตโนมัตินี้ช่วยลดงานของคนสวนลงไปมาก. ถึงกระนั้นงานดูแลบำรุงสวนที่นี่เป็นงานหนัก. ดังที่เห็นจากตารางงานสวนข้างต้นการตัดเล็มกิ่งต้นไลมที่มีทั้งหมด 1260 ต้น ใช้คนสวนสี่คนและใช้เวลาทำ 2-3 เดือน. ต้นบ๊อกส์ที่ปลูกและจัดเป็นลายแบบต่างๆในสวนทั้งหมดนั้น รวมกันเป็นความยาวถึง 52 กิโลเมตร. คนสวนจะตัดเล็มในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม. หญ้าแพรกหรือวัชพืชที่ขึ้นแทรกที่นั่นที่โน่นในสวนและไม่เป็นที่ปรารถนานั้น คนสวนจะถอนออกทีละต้นด้วยมือ เพื่อไม่ให้ไปกระทบรากต้นบ๊อกส์ที่ค่อนข้างเปราะ. จึงเป็นงานที่กินเวลามากที่สุดและต้องทำติดต่อกัน แม้ในต้นฤดูใบไม้ผลิที่ต้องนำพืชผักต่างๆลงดินแล้วตามโครงการฤดูใบไม้ผลิ. ต้นบ็อกส์เตี้ยๆที่ปลูกเป็นขอบและกรอบของแต่ละแปลงนั้น ใช้คนสี่คน และใช้เวลาสามอาทิตย์ตัดเล็มตกแต่ง ส่วนต้นบ็อกส์ที่สูงๆ(ในสวนประดับ)ใช้เวลาตัดเล็มหนึ่งเดือน. ต้นบ็อกส์นั้นเริ่มตัดเล็มตั้งแต่เดือนมีนาคมและอีกครั้งหนึ่งในระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม. แต่ละปี คนสวนปลูกต้นไม้พืชพันธุ์ทั้งหมดกว่า 250.000 ต้นในสวนวิลล็องดรี เหมือนเริ่มสร้างสวนใหม่ทุกปี.
การบูรณะตัวอาคารปราสาทวิลล็องดรี ดำเนินติดต่อกันมาสม่ำเสมอทุกปี เช่นปีกตะวันตกของวังบูรณะขึ้นใหม่ทั้งหมด ปีกตะวันออกก็เช่นกันในเวลาต่อมา(ระหว่างปี1999-2000) ต้นไม้ประดับสวนก็ทำใหม่หมดอีกในปี1998 และสวนในทิศใต้ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2000. ที่วิลล็องดรีโดยเฉพาะ มีสวนเป็นระดับต่างกัน และมีที่ให้มองโอบภูมิทัศน์กว้างใหญ่ของสวนได้ ต้นไม้กิ่งก้านอะไรที่ยื่นระเกะระกะหรือแทรกขึ้นมาโดยไม่เป็นที่ต้องการนั้น เห็นได้ชัดเจนจากที่สูง การดูแลสวนทุกกระเบียดนิ้วจึงกลายเป็นข้อบังคับของคนสวนไปในตัว. รวมถึงการกำจัดพืชพวกกาฝากหรือต้นที่ติดเชื้อนั้น เป็นสิ่งที่คอยไม่ได้ มิฉะนั้นสวนทั้งสวนอาจเสียโฉมไปเลย. จำนวนคนสวนที่ทำงานประจำที่นั่น มีเก้าคนและมีผู้ช่วยอีกสามคนที่มาเรียนงานสวนด้วยการปฏิบัติและช่วยงาน. สมัยก่อนสงครามโลกมีคนสวนสิบห้าคน. เครื่องมือสมัยใหม่ได้ช่วยลดงานลงไปมากเช่นการรดน้ำและการตัดเล็มต้นบ็อกส์. ปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนที่สูงมาก ทำให้ต้องจำกัดจำนวนคนสวนและบางทีรวมไปถึงการเลือกปลูกพืชพันธุ์ที่ดูแลง่ายกว่าและที่ไม่เปราะบางเกินไป.
เดือนพฤษภาคม ต้นเดือนหว่านเมล็ดพืชผักตามโครงการฤดูร้อนลงในบริเวณที่เพาะเย็นเช่นต้นพริก, บวบแดง, กะหล่ำ, ใบแมงลัก, เซเลรีใบทองและมะเขือเทศเป็นต้น.
เดือนมิถุนายน พืชตามโครงการฤดูใบไม้ผลิถูกย้ายออกจากสวน. พืชผักตามโครงการฤดูร้อนเข้าแทนที่. พืชผักฤดูร้อนพวกนี้ หว่านและเพาะมาจากกรีนเฮาส์แล้ว ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 30.000 ต้น.และดอกไม้บางชนิดก็นำมาลงดินในสวนครัวด้วยเช่น เปตูเนีย, เบโกเนีย ฯลฯ รวมกันมีถึง15.000 ต้น.
เดือนกรกฎาคม หว่านพืชประเภทอายุนานเกินสองปีอันมี ฟอร์เก็ตมีน็อต, เดซีและแพนซี พืชเหล่านี้จะนำออกปลูกลงดินในสวนในฤดูใบไม้ร่วงเพื่อที่มันจะออกดอกในฤดูใบไม้ผลิปีต่อไป. ตัดกิ่งรั้วต้นไม้ในสวนรัก. ตัดและจัดกิ่งต้นสาลี่และแอปเปิลในสวนครัวเป็นครั้งที่สอง และผูกกิ่งก้านของต้นองุ่นและชำกิ่งด้วย.
เดือนสิงหาคม กำจัดวัชพืชและหญ้าแพรก. เปิดน้ำรดต้นไม้สม่ำเสมอ. ตัดดอกตูมๆของดาเลียออกทิ้งบ้าง (เหมือนต้นเบญจมาศ กิ่งหนึ่งมีดอกตูมๆเกิดติดกันเป็นกระจุก ดอกตูมเหล่านี้จะไม่บาน จึงตัดทิ้งออกบ้าง เพื่อให้อาหารไปสู่ดอกตูมไม่กี่ดอกที่จะบานสวยงาม). ตัดและจัดกิ่งพุ่มดอกลาเวนเดอร์.
เดือนกันยายน ตัดเล็มต้นยิวที่มีประมาณ 140 ต้นและต้นบ็อกส์ในสวนประดับ. โครงการฟื้นฟูสวนเช่นปลูกต้นไม้ เลี้ยงสนามหญ้า ฯลฯ ที่จะทำในระหว่างฤดูหนาวนั้น เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนนี้.
เดือนตุลาคม ตั้งแต่ต้นเดือนถึงปลายเดือน คนสวนดึงดอกไม้ฤดูร้อนในสวนออกทิ้งและนำดอกไม้ฤดูใบไม้ร่วงไปปลูกลงแทนที่ เหง้าทิวลิปประมาณ 20.000 หัวและเหง้าฟอร์เก็ตมีน็อตอีกประมาณ 20.000 หัว ทั้งหมดจะนำลงดิน ปลูกในสวนประดับทั้งในสวนรักและสวนดนตรี ต้นไม้ดอกเหล่านี้จะมีดอกในฤดูใบไม้ผลิปีถัดไป.
เดือนพฤษศจิกายน จบการปลูกเหง้าทิวลิปและฟอร์เก็ตมีน็อต. ได้เวลาที่คนสวนย้อนกลับมาดูแลสวนป่าบนเนินและเริ่มนำกระถางต้นส้มเข้าเก็บในตึกอนุบาลพืชพรรณ. ตระเตรียมโครงการเพาะปลูกสวนสำหรับปีต่อไป.
เดือนธันวาคม ดึงผักต่างๆที่ยังเหลืออยู่ออกจนหมด. แผ่ปุ๋ยกระจายไปบนพื้นสวน. ขุดดินกลับดินและเกลี่ยดินให้พร้อมแต่ละแปลงไว้. และได้เวลาเริ่มตัดกิ่งต้นไลมอีกครั้งแล้ว.
ที่วิลล็องดรี ระบบการรดน้ำอัตโนมัติควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่รดน้ำสวนทุกสวน. ระบบนี้จัดฝังไว้ใต้ดินทั้งสวน. น้ำจะกระจายออกจากพื้นดินเป็นฝนฝอยละเอียดและหมุนไปเป็นวงกลม. ในหนึ่งชั่วโมง น้ำประมาณ 7 มิลลิเมตรจะซึมลงในพื้นสวน. ในสวนครัว ระบบรดน้ำอัตโนมัตินี้ มีหัวรดน้ำฝังไว้ 44 หัวต่อพื้นที่สวนผักหนึ่งแปลง. หัวรดน้ำสามารถทำงานพร้อมกันในคราวเดียว 50 หัว.จำนวนน้ำที่ใช้ทั้งหมดมาจากสวนกระจก และใช้น้ำประมาณ 30 คิวบิคเมตรต่อชั่วโมง. สวนทุกหย่อมจะได้รับการฉีดรดน้ำแบบนี้ระหว่างเวลา 9 นาฬิกาตอนค่ำและระหว่างตีห้า. ในช่วงที่อากาศร้อนและแห้งมาก จะรดน้ำสวนครัวทุกสองวัน. ระบบรดน้ำอัตโนมัตินี้ช่วยลดงานของคนสวนลงไปมาก. ถึงกระนั้นงานดูแลบำรุงสวนที่นี่เป็นงานหนัก. ดังที่เห็นจากตารางงานสวนข้างต้นการตัดเล็มกิ่งต้นไลมที่มีทั้งหมด 1260 ต้น ใช้คนสวนสี่คนและใช้เวลาทำ 2-3 เดือน. ต้นบ๊อกส์ที่ปลูกและจัดเป็นลายแบบต่างๆในสวนทั้งหมดนั้น รวมกันเป็นความยาวถึง 52 กิโลเมตร. คนสวนจะตัดเล็มในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคม. หญ้าแพรกหรือวัชพืชที่ขึ้นแทรกที่นั่นที่โน่นในสวนและไม่เป็นที่ปรารถนานั้น คนสวนจะถอนออกทีละต้นด้วยมือ เพื่อไม่ให้ไปกระทบรากต้นบ๊อกส์ที่ค่อนข้างเปราะ. จึงเป็นงานที่กินเวลามากที่สุดและต้องทำติดต่อกัน แม้ในต้นฤดูใบไม้ผลิที่ต้องนำพืชผักต่างๆลงดินแล้วตามโครงการฤดูใบไม้ผลิ. ต้นบ็อกส์เตี้ยๆที่ปลูกเป็นขอบและกรอบของแต่ละแปลงนั้น ใช้คนสี่คน และใช้เวลาสามอาทิตย์ตัดเล็มตกแต่ง ส่วนต้นบ็อกส์ที่สูงๆ(ในสวนประดับ)ใช้เวลาตัดเล็มหนึ่งเดือน. ต้นบ็อกส์นั้นเริ่มตัดเล็มตั้งแต่เดือนมีนาคมและอีกครั้งหนึ่งในระหว่างเดือนกันยายนและตุลาคม. แต่ละปี คนสวนปลูกต้นไม้พืชพันธุ์ทั้งหมดกว่า 250.000 ต้นในสวนวิลล็องดรี เหมือนเริ่มสร้างสวนใหม่ทุกปี.
การบูรณะตัวอาคารปราสาทวิลล็องดรี ดำเนินติดต่อกันมาสม่ำเสมอทุกปี เช่นปีกตะวันตกของวังบูรณะขึ้นใหม่ทั้งหมด ปีกตะวันออกก็เช่นกันในเวลาต่อมา(ระหว่างปี1999-2000) ต้นไม้ประดับสวนก็ทำใหม่หมดอีกในปี1998 และสวนในทิศใต้ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2000. ที่วิลล็องดรีโดยเฉพาะ มีสวนเป็นระดับต่างกัน และมีที่ให้มองโอบภูมิทัศน์กว้างใหญ่ของสวนได้ ต้นไม้กิ่งก้านอะไรที่ยื่นระเกะระกะหรือแทรกขึ้นมาโดยไม่เป็นที่ต้องการนั้น เห็นได้ชัดเจนจากที่สูง การดูแลสวนทุกกระเบียดนิ้วจึงกลายเป็นข้อบังคับของคนสวนไปในตัว. รวมถึงการกำจัดพืชพวกกาฝากหรือต้นที่ติดเชื้อนั้น เป็นสิ่งที่คอยไม่ได้ มิฉะนั้นสวนทั้งสวนอาจเสียโฉมไปเลย. จำนวนคนสวนที่ทำงานประจำที่นั่น มีเก้าคนและมีผู้ช่วยอีกสามคนที่มาเรียนงานสวนด้วยการปฏิบัติและช่วยงาน. สมัยก่อนสงครามโลกมีคนสวนสิบห้าคน. เครื่องมือสมัยใหม่ได้ช่วยลดงานลงไปมากเช่นการรดน้ำและการตัดเล็มต้นบ็อกส์. ปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลสวนที่สูงมาก ทำให้ต้องจำกัดจำนวนคนสวนและบางทีรวมไปถึงการเลือกปลูกพืชพันธุ์ที่ดูแลง่ายกว่าและที่ไม่เปราะบางเกินไป.
กล่าวโดยรวมแล้ว ทุกอย่างที่ถือปฏิบัติกันในสวนวิลล็องดรี ไม่มีอะไรซับซ้อนเกินขอบเขตที่คนรักสวนจะทำเองไม่ได้. ความลำบากอยู่ที่อาณาบริเวณที่ต้องดูแลที่กว้างมากเท่านั้น.
การจัดระบบดูแลบำรุงสวนนั้น เป็นเรื่องที่ต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด. ความงามของปราสาทวิลล็องดรีจึงขึ้นกับจิตสำนึกของคนสวน ความรู้งานของเขา ความรักใยดีที่เขามีต่อสวน ความภูมิใจในหน้าที่ที่เขาทำ และในผลงานที่เขาเห็น. หากคนสวนของวิลล็องดรีไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว
สวนวิลล็องดรีย่อมสิ้นชีพสลายลงในที่สุด เหมือนมีแต่ผืนผ้าใบแต่ขาดจิตรกร ย่อมไม่มีงานศิลป์ใดๆออกสู่สายตาคนอื่นได้เลย.
ปัจจุบัน เสาร์อาทิตย์ของสัปดาห์สุดท้ายในเดือนกันยายนทุกปี ปราสาท Villandry จัดให้มีการฉลองสวนผัก โดยมีผักทั้งหลายเป็นดารา
เป็นแขกเกียรติยศ ที่นั่นเรียกว่า Les Journées du potager หรือ Kitchen Garden
Days
ต้นเดือนกรกฎาคม (เช่นปี 2014 คือวันที่ 4 และ 5 กรกฎาคม) ระหว่างสองวันพิเศษนี้ ปราสาท Villandry เปิดสวนเป็นพิเศษเพิ่มจากเวลาปกติ
(09:00-19:30)
คือยืดต่อไปถึงเที่ยงคืน มีการจุดดอกไม้ไฟ ผู้ไปเดินชมสวนท่ามกลางแสงไฟและแสงเทียน
ชื่นชมภาพสะท้อนระยิบระยับจากสระน้ำและมวลน้ำทั้งหมดในสวน
ในบรรยากาศที่ไม่มีที่ใดเหมือน
พิเศษสุดในปี 2014 นี้ปราสาท Villandry เปิดให้นักวิ่งในการแข่งขันวิ่งแข่งมาราธอนครั้งแรกที่จัดขึ้นในปีนี้
เป็นเส้นทางมาราธอนในจังหวัดตูรส์-ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Touraine-Loire
Valley Marathon) เส้นทางนี้ออกจากกลางเมืองตูรส์ มาตามหุบเขาลุ่มแม่น้ำลัวร์
ผ่านเข้าไปในสวนครัวของปราสาทวิลล็องดรี
แล้วเลาะหมู่บ้านต่างๆบนเส้นทางไปจนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นที่เมืองตูรส์
บันทึกเดินทางของโชติรส
โกวิทวัฒนพงศ์ เมื่อครั้งไปเยือนที่นั่นวันที่ 5
กันยายนปี
2003.
Villandry et ses jardins (histoires et description générale)
Les jardins de Villandry : les techniques et les plantes. R. Cavallo - SCI
du Chateau de Villandry. 1991.
Il était une fois Villandry... เขียนโดยลูกสาวของด็อกเตอร์กาวัลโย (Marguerite Carvallo Galichon 1997) เล่าชีวิตวัยเด็กของเธอ ณปราสาทนี้.
Il était une fois Villandry... เขียนโดยลูกสาวของด็อกเตอร์กาวัลโย (Marguerite Carvallo Galichon 1997) เล่าชีวิตวัยเด็กของเธอ ณปราสาทนี้.
http://www.chateauvillandry.fr/ (official web site in French and English)
----------------------------------------
มีกระดาษว่างเปล่าตามท้ายยาวมาก พยายามลบทิ้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จ----------------------------------------
comment จึงไปอยู่อีกไกลข้างล่างหน้านี้ ขออภัย มือใหม่ค่ะ
ยาวมากนะ สำหรับคนชอบสวนและทำสวน ส่วนคนอื่นๆ ดูภาพเท่านั้นก็พอ เป็นสวนผักที่ไม่มีที่ใดเทียบ แม้สวนผักรพะเจ้าแผ่นดิน (Le Potager du Roi) สำหรับพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่และกษัตริย์องค์อื่นๆ ในอาณาเขตหนึ่งของพระราชวังแวร์ซายส์ ก็สู้ไม่ได้
ReplyDeleteAnonymous said...
ReplyDeleteโชคะ ในภาษาฝรั่งเศษเขาเรียก "swiss chard" ว่าอะไรคะ แล้วก็อยากทราบว่าคนฝรั่่งเศษเขา prepareเป็นอาหารอย่างไร
ที่อยากจะทราบก็เพราะว่าเห็นรูปที่โช postไว้ (รูปอยู่เหนือผักที่ดูเหมือนฟักทอง มีทั้งชนิดก้านสีแดงและสีเหลือง แต่ที่จริงแล้วแป๋วชอบชนิดก้านขาวมากกว่า )
ผักชนิดนี้ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนักในอเมริกาเพราะว่าถ้้าปรุงสุกไม่นานพอก็จะมีรสขื่นเลยไม่ค่อยมีคนนิยม แต่ถ้าเก็บตั้งแต่ก้านและใบยังอ่อนจะมีรส"หวาน"อร่อย คนอเมริกันเพิ่งจะเริ่มมาทำความรู้จักเมื่อไม่นานมานี่เองเพราะความต้องการที่จะหาผักที่มีกากเเละธาตุเหล็กสูง แป๋วปลูกอยู่ที่สวนที่บ้านมาเป็นประจำทุกปี จะงามมากในระยะฤดูใบไม้ผลิเพราะผักพันธ์นี้ชอบอากาศเย็น เวลาที่ใบมันยังอ่อนแป๋วเพียงแต่ต้มหรือลวกแล้วก็คลุกนํ้ามันมะกอกกับผงกระเทียมและพริกไทยก็อร่อยแล้ว พออากาศเริ่มรอ้นแห้งแล้งมันก็หยุดโต แต่มันก็ไม่ตาย เริ่มงอกกันใหม่อีกทีเมื่ออากาศเย็นลงตอนใกล้ปลายปี พอเริ่มหนาวมากหน่อยมันถึงจะตายไป
ขอบคุณค่ะ
ผักที่ถามมานั้น ถ้าจำไม่ผิดคือต้น bette หรือ blette เขากินกันเป็นสลัด เราเอาใบอ่อนมาผัดไฟแรงแป๊บๆ แบบผักบุ้งไฟแรงก็อร่อย หรือแบบที่แป๋วทำกินก็อร่อยดีเช่นกัน ใบแก่เรานำมาทำเป็นแกง ต้มเดือดใส่เนื้อสดลง ปรุงให้ถูกใจ เราใส่พริกขี้หนูลงไปด้วย ก็ไม่เลวนะ
Delete