อย่างไรก็ดีมีหลักฐานแน่นอนว่า เมืองค็อนยาเช่นเดียวกับเมืองอื่นๆในโลกตะวันตกยุคนั้น เคยเป็นที่อยู่ของชาวโรมันตั้งแต่133 BC. หลังจากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทนก่อนที่จะถึงยุคของราชวงศ์สุลต่านทั้งเซลจูกีดส์(Seldjoukides), เซลจุคส์ (Seljuks), รูม(Rum)
ที่ผลัดกันมีอำนาจตั้งแต่ศตวรรษที่10-13 และสุดท้ายของเข้าป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ อ็อตโตมันในระหว่างปีคศ.1453-1923. เมื่อเริ่มมีชาวเตอร์กเข้ามาครอบครองเมืองค็อนยา ก็เริ่มมีสุเหร่าและโรงเรียนสอนอัลกุระอ่าน จำนวนโรงเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับจำนวนสุสาน(turbeh)
และคฤหาสน์
ในศตวรรษที่13 เมื่อ Djalal al-Din Rumi มาอยู่ที่ค็อนยาและตั้งคณะdervishes ขึ้นเป็นคณะใหม่ เมืองค็อนยาจึงกลายเป็นศูนย์เดอวิชที่มีคนนับถือและติดตามมากที่สุด. เมื่อตุรกีเข้าสู่ยุคใหม่โดยล้มระบบศักดินา ระบบสุลต่านลงในปี1923
Mustafa Kemal (Ataturk) ประกาศประเทศเป็นสาธารณรัฐ ไม่ใช้กฎบัญญัติของอิสลามมาเป็นกฎการปกครอง
(ต่างจากประเทศอิสลามอื่นๆเช่นอัฟกานิสถานเป็นต้น). ในปี1925 มุสตาฟาเคมัลประธานาธิบดีคนแรกของตุรกีได้ประกาศยุบคณะเดอวิชที่ค็อนยา. ถึงกระนั้นสปิริตของครูรูมียังคงสืบทอดต่อมา โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกและจรรโลงศิลปะการรำและการร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าและการฝึกสมาธิ. ในประเทศอื่นๆยังคงมีคณะเดอวิชอยู่.
สุเหร่า Alaettin Mosque ที่สร้างขึ้นในปี 1221 เป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญที่สุดที่เมืองค็อนยา
ได้ชื่อว่าเป็น สุเหร่าของบัลลังก์ (ของสุลต่านสายเซลจุก-Seljuq) ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์
และอนุสรณ์สถานเกี่ยวกับลัทธิซูฟีซึมและคณะเดอวิชของค็อนยา (ที่รู้จักกันในนามสามัญว่า the whirling dervishes of
Konya) นิทรรศการบอกเล่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่
การศึกษา เครื่องดนตรี และศาสนากิจของสานุศิษย์ต่างๆ
ก่อนจะได้เป็นเดอวิชเต็มตัว รวมทั้งเป็นที่ประดิษฐานโกศของบรมครู
Mevlâna Jelaleddin Rûmi ผู้สถาปนาคณะซูฟิเดอวิชที่ค็อนยา ค็อนยาจึงกลายเป็นศูนย์รวมจิตสำนึกของซูฟิเดอวิชของโลกอิสลาม
สุเหร่า Alaettin Mosque
แผนที่เมืองค็อนยา สังเกตที่ตั้งของสุเหร่า หมายเลข 1และ3
ภาพสถาปัตยกรรมสุเหร่า ที่ตั้งและบริเวณโดยรอบ
หอสีเขียวคือหมายเลข 2 บนแผนที่ เป็นที่ประดิษฐานโลงหินของบรมครูรูมี
สระน้ำพุสำหรับการล้างหน้าล้างตาล้างเท้าให้สะอาดหมดจดก่อนเข้าไปในสุเหร่า
ในภาพข้างบนเล่าการก่อสร้างหอสูงที่เห็นเป็นสีเขียวๆ (เป็นกระเบื้องเคลือบทำจาก turquoise
หอเทอร์คอยส์เป็นหินสีฟ้าออกเขียว)
ภายในสุเหร่า
ภาพข้างล่างจากภายในหอสุสานสีเขียว
บรรยากาศขลังและขรึมภายในหอสุสาน
นอกจากโลงศพของครูรูมี แล้ว ยังมีโลงศพอีกจำนวนมากของเดอวิชองค์ต่างๆ
รวมทั้งของสมาชิกในครอบครัวของรูมี
โลงศพหินนั้น ห่อหรือคลุมด้วยผ้ากำมะหยี่ปัก อาจเป็นผ้าปักดิ้นลายยกทองแล้วแต่กรณี
ส่วนหัวของโลงหิน ประดับด้วยหมวกทรงสูงของเดอวิช
บางทีก็ทำเป็นหมวกที่ขมวดเหมือนผ้าโพกศีรษะของชาวอาหรับ
มักเป็นสีขาวหรือสีเขียว สีเขียวดูเหมือนจะสำหรับผู้อาวุโสกว่า
สีเขียวเป็นสีสัญลักษณ์ของอิสลาม
สุสานที่อยู่ข้างนอกในบริเวณสุเหร่า แบบเรียบง่ายที่สุด คือเป็นแผ่นหินตั้ง
สมัยก่อนๆยังสลักรูปหมวกเดอวิชประดับด้วย
ในสมัยหลังๆไม่มีแล้ว เพราะสำนักเดอวิชของค็อนยาสิ้นสุดลงในปี 1925.
ภาพข้างล่างนี้ เป็นนิทรรศการชีวิตการเรียนการสอนของเดอวิชที่นั่น
เป็นตู้กระจกใหญ่พร้อมหุ่นแสดงขนาดเท่าคนจริง
กำลังศึกษาพระคัมภีร์
สมาชิกใหม่ผู้ปรารถนาจะเป็นเดอวิชที่ค็อนยา ต้องผ่านข้อทดสอบด้วยการนั่งอยู่กับที่ 3 วันในมุมนั้น เก็บวาจา ถึงเวลาอาหารจะกินก็ต่อเมื่อมีผู้นำอาหารมาวางไว้บนพรมสีแดงตรงหน้าเท่านั้น ตลอดเวลาสามวันเขาคิดพินิจความตั้งใจของตน เชอิคหัวหน้าเฝ้าดูความอดทน ความตั้งใจจริงของผู้สมัคร หลังจากสามวันก็จะถูกถามอีกว่า ยังตั้งใจจะเป็นเดอวิชอยู่อีกไหม...
นิทรรศการเครื่องดนตรีของคณะเดอวิชที่ค็อนยา ดนตรีเป็นเอกลักษณ์เด่นของที่นั่น
ครูรูมี เป็นผู้ริเริ่มใช้ดนตรีและการร่ายรำเป็นทางไปสู่พระเจ้า
Dervish(es) คือใคร ทำอะไร
เพื่ออะไร ทุกคนจะเป็นเดอวิชได้ไหม?
เดอวิชเกิดขึ้นภายในวงซูฟิซึม (sufism) ที่เป็นมิติของจิตหรือการเข้าญาณขั้นสูงในศาสนาอิสลาม มุ่งการเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระเจ้า สมาชิกผู้ติดตามลัทธินี้อาจเป็นผู้ถือศีลภิกขาจารโดดเดี่ยวในป่าหรือในภูเขา(โดยไม่มาเข้าสังกัดที่ศูนย์ของลัทธิ)ก็ได้ หรือผู้มาสมัครเข้าในสังกัดของคณะหนึ่งคณะใดในลัทธินี้ ในวงซูฟิซึมมีคณะเจ้าสังกัดต่างๆหลายคณะ หัวหน้าแต่ละคณะไม่มีใครแต่งตั้ง เป็นผู้ที่มีจิตศรัทธาแก่กล้า มีความคิดลุ่มลึกและใช้ชีวิตอย่างผู้ถือศีล บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ ผู้คนเริ่มนับถือและมาขอพูดคุย มาปรึกษาหรือมาสนทนาธรรม เมื่อมีผู้รู้จักนับน่าถือตามากขึ้นๆ(เท่ากับมีสานุศิษย์) และในที่สุด (เมื่อมีปัจจัยสามประการครบคือมีพระเจ้ากับอัลกุระอ่าน มีผู้สอนกับมีผู้ติดตาม) ก็ประกาศตั้งเป็นคณะหนึ่งของลัทธิซูฟิซึม คณะที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือคณะเดอวิช ซึ่งก็จะมีกลุ่มเดอวิชกลุ่มต่างๆหลายกลุ่มกระจายไปในแดนอิสลาม ซูฟิแต่ละคณะ(sufi)จะมีวิถีการปฏิบัติการเข้าญาณเพื่อสู่พระเจ้าต่างกัน.
ทำไมจึงมีลัทธิซูฟิซึมเกิดขึ้นภายในศาสนาอิสลาม?
เหตุผลหนึ่งก็คือเพื่อเปลี่ยนวิธีการอันเข้มงวดเด็ดขาดในการสอนหรือการสืบศาสนาอิสลาม. ดูเหมือนว่าได้รับอิทธิพลจากแนวทางของพุทธศาสนาด้วย ทำให้เกิดการใฝ่หาแนวทางสู่พระเจ้าแนวทางอื่น. ศตวรรษที่13 เป็นยุคที่ลัทธินี้แพร่หลายมากที่สุด คณะเดอวิชที่มีส่วนช่วยจรรโลงอุดมการณ์ที่สูงส่งของอิสลามคือคณะเดอวิชที่เมืองค็อนยาในตุรกีนี่เอง ผู้ยึดตามอุดมการณ์ของซูฟิซึม ได้เคยปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันในโอกาสที่บ้านเมืองระส่ำระสาย เช่นในศตวรรษที่ 19-20 ได้ช่วยต่อต้านภัยการเมืองในลีเบีย เมื่ออิตาลีพยายามจะเข้ายึดลีเบียเป็นอาณานิคมเป็นต้น. ฝ่ายซูฟิซึมไม่เข้าไปยุ่งกับการเมือง(หรือน้อยมาก) ส่วนใหญ่มุ่งพัฒนาด้านสังคมแบบเข้าไปช่วยบรรเทาทุกข์(โดยเฉพาะทางใจ).
น่าสังเกตว่าช่วงศตวรรษที่13นี้เช่นกัน ในยุโรปก็มีนักบวชที่รวมกลุ่มตั้งเป็นคณะนักบวชแนวใหม่ เช่นคณะนักบวชขอทานฟรันซิสแกน(ซึ่งต่อมามีสำนักนางชีในคติฟรันซิสแกนด้วย). เป็นศตวรรษของกษัตริย์นักบุญแซ็งต์หลุยส์-LouiIXI และเป็นยุคที่คริสต์ศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในทุกด้านรวมทั้งด้านสถาปัตยกรรม. เป็นศตวรรษของการสร้างโบสถ์กอติค-gothicใหญ่ๆในฝรั่งเศส ที่จะเป็นแบบให้แก่โบสถ์อื่นๆในยุโรป สรุปได้ว่าเป็นศตวรรษที่ผู้คนใฝ่หาพระเจ้า ผู้คนนึกถึงบทบาทของศาสนา เสียงสวดมนต์คงดังไม่ได้ขาด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา มีการรบพุ่ง การรุกรานแย่งดินแดนกันไม่ได้ขาด เกิดสงครามครูเสดระหว่างชาวคริสต์กับอาหรับเพื่อกู้เมืองเยรูซาเล็มคืน แต่ไม่นานหลังจากนั้น ซาลาดิน(Saladin)สุลต่านอีจิปต์ ได้ยึดดินแดนคริสต์กลับไปอีก. ชาวคริสต์เข้าโจมตีเมืองคอนสแตนติโนเปิลและฆ่าล้างชาวเมืองอย่างโหดเหี้ยม(1204) ชาวมองโกลโผล่เข้ามาจากเอเชีย (Genghis Khan กับ Kulai Khan) และจะมีอิทธิพลในเอเชียตะวันกลางทั้งหมด นี่อาจใช้อธิบายเปรียบเทียบได้ว่า นักบุญในสมัยนั้นคือ "ศาสดาพยากรณ์-prophet" จากสวรรค์ ที่มาช่วยปลดปล่อยความทุกข์ ความหวาดกลัว ความกังขาที่มีเต็มล้นจิตใจคนยุคนั้น
เดอวิช เป็นคำเปอเชีย(darwich) ความหมายตรงคือ"บ้า" คำนี้เคยใช้เรียกผู้ที่ไร้ที่อยู่ พวกพเนจรไร้สมบัติพัสถาน ไร้หน้าที่การงาน(คณะนักบวชฟรันซิสแกนยึดแนวทางชีวิตของ"ผู้ไร้ทุกอย่าง") ต่อมาใช้เป็นคำเรียกผู้ติดตาม เชื่อตามลัทธิซูฟิซึม ตามลัทธิมิซติสิซึม (mysticism) (ผู้เขียนชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งย้ำเหมือนหยอกว่า คำนี้มีชะตาดี เหมือนได้ลาภลอย คิดดูซิว่าจากความหมายของ"บ้า", ของ"การไร้ทุกอย่าง", ของ"สภาพต่ำสุด" ได้ถูกยกระดับขึ้นสู่ความหมายของ"การบ้าพระเจ้า", ของ"วิญญาณขั้นสูง". เขาสรุปว่าคงไม่มีคำอื่นใดในภาษาใดในโลกที่จะมีโชคลาภด้านอรรถศาสตร์ได้ถึงเพียงนั้น). ดังนั้น Dervish(es) เป็นสมาชิกของสถาบันแนวที่ใฝ่ฌาณกับวิญญาณขั้นสูงสถาบันหนึ่งของอิสลาม เดอวิชคณะแรกที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในศต.ที่12 มีชื่อว่า Qadiriya. หลังจากนั้นก็มีคณะอื่นๆเกิดตามมาอีกเป็นจำนวนมากในโลกอิสลาม. แต่ละคณะมีหลักการและธรรมเนียมของตนเอง หนึ่งในคณะแบบนี้ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดคือคณะ Mevlevi (บางทีก็เขียนเป็น Mawlana) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า whirling dervishes มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองค็อนยาในตุรกี. คณะนี้ใช้วิธีรำหมุนไปตามจังหวะเพลงจนเข้าสู่ภวังค์ลึกล้ำ, เข้าสู่จิตพระเจ้าในที่สุด. นี่คือคณะของ"บรมครู"
เดอวิชเกิดขึ้นภายในวงซูฟิซึม (sufism) ที่เป็นมิติของจิตหรือการเข้าญาณขั้นสูงในศาสนาอิสลาม มุ่งการเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระเจ้า สมาชิกผู้ติดตามลัทธินี้อาจเป็นผู้ถือศีลภิกขาจารโดดเดี่ยวในป่าหรือในภูเขา(โดยไม่มาเข้าสังกัดที่ศูนย์ของลัทธิ)ก็ได้ หรือผู้มาสมัครเข้าในสังกัดของคณะหนึ่งคณะใดในลัทธินี้ ในวงซูฟิซึมมีคณะเจ้าสังกัดต่างๆหลายคณะ หัวหน้าแต่ละคณะไม่มีใครแต่งตั้ง เป็นผู้ที่มีจิตศรัทธาแก่กล้า มีความคิดลุ่มลึกและใช้ชีวิตอย่างผู้ถือศีล บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ ผู้คนเริ่มนับถือและมาขอพูดคุย มาปรึกษาหรือมาสนทนาธรรม เมื่อมีผู้รู้จักนับน่าถือตามากขึ้นๆ(เท่ากับมีสานุศิษย์) และในที่สุด (เมื่อมีปัจจัยสามประการครบคือมีพระเจ้ากับอัลกุระอ่าน มีผู้สอนกับมีผู้ติดตาม) ก็ประกาศตั้งเป็นคณะหนึ่งของลัทธิซูฟิซึม คณะที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือคณะเดอวิช ซึ่งก็จะมีกลุ่มเดอวิชกลุ่มต่างๆหลายกลุ่มกระจายไปในแดนอิสลาม ซูฟิแต่ละคณะ(sufi)จะมีวิถีการปฏิบัติการเข้าญาณเพื่อสู่พระเจ้าต่างกัน.
ทำไมจึงมีลัทธิซูฟิซึมเกิดขึ้นภายในศาสนาอิสลาม?
เหตุผลหนึ่งก็คือเพื่อเปลี่ยนวิธีการอันเข้มงวดเด็ดขาดในการสอนหรือการสืบศาสนาอิสลาม. ดูเหมือนว่าได้รับอิทธิพลจากแนวทางของพุทธศาสนาด้วย ทำให้เกิดการใฝ่หาแนวทางสู่พระเจ้าแนวทางอื่น. ศตวรรษที่13 เป็นยุคที่ลัทธินี้แพร่หลายมากที่สุด คณะเดอวิชที่มีส่วนช่วยจรรโลงอุดมการณ์ที่สูงส่งของอิสลามคือคณะเดอวิชที่เมืองค็อนยาในตุรกีนี่เอง ผู้ยึดตามอุดมการณ์ของซูฟิซึม ได้เคยปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันในโอกาสที่บ้านเมืองระส่ำระสาย เช่นในศตวรรษที่ 19-20 ได้ช่วยต่อต้านภัยการเมืองในลีเบีย เมื่ออิตาลีพยายามจะเข้ายึดลีเบียเป็นอาณานิคมเป็นต้น. ฝ่ายซูฟิซึมไม่เข้าไปยุ่งกับการเมือง(หรือน้อยมาก) ส่วนใหญ่มุ่งพัฒนาด้านสังคมแบบเข้าไปช่วยบรรเทาทุกข์(โดยเฉพาะทางใจ).
น่าสังเกตว่าช่วงศตวรรษที่13นี้เช่นกัน ในยุโรปก็มีนักบวชที่รวมกลุ่มตั้งเป็นคณะนักบวชแนวใหม่ เช่นคณะนักบวชขอทานฟรันซิสแกน(ซึ่งต่อมามีสำนักนางชีในคติฟรันซิสแกนด้วย). เป็นศตวรรษของกษัตริย์นักบุญแซ็งต์หลุยส์-LouiIXI และเป็นยุคที่คริสต์ศาสนาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในทุกด้านรวมทั้งด้านสถาปัตยกรรม. เป็นศตวรรษของการสร้างโบสถ์กอติค-gothicใหญ่ๆในฝรั่งเศส ที่จะเป็นแบบให้แก่โบสถ์อื่นๆในยุโรป สรุปได้ว่าเป็นศตวรรษที่ผู้คนใฝ่หาพระเจ้า ผู้คนนึกถึงบทบาทของศาสนา เสียงสวดมนต์คงดังไม่ได้ขาด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา มีการรบพุ่ง การรุกรานแย่งดินแดนกันไม่ได้ขาด เกิดสงครามครูเสดระหว่างชาวคริสต์กับอาหรับเพื่อกู้เมืองเยรูซาเล็มคืน แต่ไม่นานหลังจากนั้น ซาลาดิน(Saladin)สุลต่านอีจิปต์ ได้ยึดดินแดนคริสต์กลับไปอีก. ชาวคริสต์เข้าโจมตีเมืองคอนสแตนติโนเปิลและฆ่าล้างชาวเมืองอย่างโหดเหี้ยม(1204) ชาวมองโกลโผล่เข้ามาจากเอเชีย (Genghis Khan กับ Kulai Khan) และจะมีอิทธิพลในเอเชียตะวันกลางทั้งหมด นี่อาจใช้อธิบายเปรียบเทียบได้ว่า นักบุญในสมัยนั้นคือ "ศาสดาพยากรณ์-prophet" จากสวรรค์ ที่มาช่วยปลดปล่อยความทุกข์ ความหวาดกลัว ความกังขาที่มีเต็มล้นจิตใจคนยุคนั้น
เดอวิช เป็นคำเปอเชีย(darwich) ความหมายตรงคือ"บ้า" คำนี้เคยใช้เรียกผู้ที่ไร้ที่อยู่ พวกพเนจรไร้สมบัติพัสถาน ไร้หน้าที่การงาน(คณะนักบวชฟรันซิสแกนยึดแนวทางชีวิตของ"ผู้ไร้ทุกอย่าง") ต่อมาใช้เป็นคำเรียกผู้ติดตาม เชื่อตามลัทธิซูฟิซึม ตามลัทธิมิซติสิซึม (mysticism) (ผู้เขียนชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งย้ำเหมือนหยอกว่า คำนี้มีชะตาดี เหมือนได้ลาภลอย คิดดูซิว่าจากความหมายของ"บ้า", ของ"การไร้ทุกอย่าง", ของ"สภาพต่ำสุด" ได้ถูกยกระดับขึ้นสู่ความหมายของ"การบ้าพระเจ้า", ของ"วิญญาณขั้นสูง". เขาสรุปว่าคงไม่มีคำอื่นใดในภาษาใดในโลกที่จะมีโชคลาภด้านอรรถศาสตร์ได้ถึงเพียงนั้น). ดังนั้น Dervish(es) เป็นสมาชิกของสถาบันแนวที่ใฝ่ฌาณกับวิญญาณขั้นสูงสถาบันหนึ่งของอิสลาม เดอวิชคณะแรกที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในศต.ที่12 มีชื่อว่า Qadiriya. หลังจากนั้นก็มีคณะอื่นๆเกิดตามมาอีกเป็นจำนวนมากในโลกอิสลาม. แต่ละคณะมีหลักการและธรรมเนียมของตนเอง หนึ่งในคณะแบบนี้ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดคือคณะ Mevlevi (บางทีก็เขียนเป็น Mawlana) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า whirling dervishes มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองค็อนยาในตุรกี. คณะนี้ใช้วิธีรำหมุนไปตามจังหวะเพลงจนเข้าสู่ภวังค์ลึกล้ำ, เข้าสู่จิตพระเจ้าในที่สุด. นี่คือคณะของ"บรมครู"
Djalal al-Din Rumi ที่เราจะพูดถึงต่อไปข้างล่างนี้ ถ้าจะเทียบไป เราอาจบอกได้ว่าเดอวิชเป็นนักบวชประเภทหนึ่ง เหมือนนักบวชเบเนดิคตินที่ปวารณาตัวให้กับศาสนา อยู่กับวัดและปฏิบัติธรรมกับทำกิจวัตรที่คณะตั้งไว้. แต่นักบวชเบเนดิคตินไม่มีครอบครัวหรือตัดขาดจากครอบครัวตลอดไป ส่วนเดอวิชอิสลามมีครอบครัวได้. มีนักวิเคราะห์หลายคนบอกตรงกันว่าโดยเฉพาะครูรูมี มีอะไรหลายอย่างที่เหมือนนักบุญฟรานซิส ในแง่ที่อยู่อย่างสมถะ ไร้ทุกสิ่งแต่ช่วยผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอ.
(นักบุญฟรานซิสถึงแก่อนิจกรรมเมื่อรูมีมีอายุ19ปี)
ก่อนจะเป็นเดอวิช มีผู้เล่าให้ฟัง (ไม่ขอยืนยันว่าถูกต้อง) ว่าไม่ใช่ใครที่คิดจะเป็นเดอวิชก็ไปเป็นเลย จะต้องผ่านระยะทดสอบก่อนซึ่งมีดังนี้
1) ต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีและสามารถพิสูจน์ว่ามีความตั้งใจจริงที่จะเป็นเดอวิช
2) ไปบำเพ็ญทุกรกิริยา 1001 วัน ลงโทษตนเองในข้อผิดพลาดต่างๆที่เคยทำมาในชีวิต
3) เชอิคหัวหน้าคณะ(sheikh) จะอธิบายถึงความยากลำบากทุกแง่ทุกมุมในการเข้าเป็นเดอวิช ในการเข้าไปใช้ชีวิตใน"คอนแวนต์"ของคณะ (เรียกว่าTakya คำนี้ทำให้นึกถึงคำ"ตักศิลา"นะ) เขาพยายามพูดให้ผู้สมัครเปลี่ยนใจ
4) หลังจากนั้นหากผู้สมัครยังยืนยันอยากเป็นเดอวิชอยู่อีก จะถูกสั่งให้นั่งบนม้านั่ง (ไม่มีพนักให้พิงสบายๆหรอกนะ) ตลอดเวลาสามวัน เปิดโอกาสให้เขาคิดทบทวนความตั้งใจอีกครั้ง ระหว่างนี้เขาต้องเก็บวาจา จะกินเมื่อมีคนนำอาหารมาวางไว้ให้ตรงหน้าเท่านั้น จะนั่งตรงจุดนั้นบนม้านั่งและนั่งหลับ(คือนอน)ตรงจุดนั้นเช่นกันโดยไม่พูดอะไรทั้งสิ้น
5) หลังจากนั้นหัวหน้าคณะจะมาบอกว่าเขายังมีโอกาสเปลี่ยนใจอีก ถ้าไม่เปลี่ยนแน่นอนแล้ว ก็จะได้รับเข้าไปอยู่ในคอนแวนต์ของคณะและเริ่มปฏิบัติตามกฎของคณะ
เมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกคณะเดอวิชแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ใน"คอนแวนต์"ของคณะ. อาจต้องอยู่ในนั้นนานแต่ก็ไม่ใช่ตลอดชีวิต. ทั้งนี้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ที่แต่งงานมีครอบครัวแล้ว. ไม่มีกฎบังคับว่าต้องเป็นโสดถึงจะเป็นเดอวิชได้. ภายในคณะ มีคนคอยกวดขันดูแลสมาชิกใหม่อย่างเคร่งครัด. สมาชิกใหม่จะมีหน้าที่หรืองานรับใช้ที่ต้องรับผิดชอบภายในคณะ. สมาชิกอาวุโสกว่าจะคอยสังเกตดูทักษะความสามารถของสมาชิกใหม่ เพื่อให้ทำหน้าที่ที่เหมาะกับธรรมชาตินิสัยและความถนัด เช่นหากมีพรสวรรค์ทางดนตรีก็จะได้เข้าฝึกการดนตรีต่อไป หากมีเสียงดีก็อาจเป็นนักร้องของคณะ สมาชิกที่มีความพร้อมดีที่สุดเท่านั้นที่จะได้รับพิจารณาให้เป็นผู้รำในพิธี นอกจากนี้ก็มีการศึกษาต่อเนื่องที่สมาชิกทุกคนต้องติดตามคือวิชาภาษา, วรรณกรรม, ศิลปะการเขียนอักษรวิจิตร(calligraphy), ปรัชญากับอัลกุระอ่าน.
กฎในการครองตนของเดอวิชภายในคอนแวนต์ที่มีมาแล้วตั้งแต่ต้นสมัยศตวรรษที่13 เป็นกฎพื้นฐานของซูฟิซึมทุกคณะ ในขณะเดียวกันแต่ละคณะก็อาจเพิ่มกฎอื่นๆเข้าไปอีก กฎทั่วไปมีดังนี้:
I. ต้องมีเสื้อผ้าสะอาดและร่างกายบริสุทธิ์หมดจด
II. ไม่นั่งในสุเหร่าหรือในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นใดเพื่อพูดคุย(เรื่อยเปื่อย)
III. ไม่ละเลยการเข้าร่วมสวดมนต์ภาวนากับผู้อื่น
IV. สละเวลานานมากที่สุดสำหรับการสวดมนต์ในยามดึก
V. ก่อนฟ้าสางให้สวดขอขมาต่อพระเจ้าและอ้อนวอนขอความเมตตาจากพระองค์(นึกถึงพระเจ้าก่อนในทุกเรื่อง)
VI. ตอนเช้าให้อ่านคัมภีร์อัลกุระอ่านให้มากที่สุดที่จะทำได้ และไม่เอ่ยปากพูดก่อนตะวันขึ้น
VII. หลังจากสวดตอนเย็นแล้วและก่อนถึงเวลาสวดก่อนเข้านอน ให้ท่องบทสวด(เช่นบทที่ยังจำไม่ได้)
VIII. ให้ต้อนรับคนจนคนยากไร้หรือคนขัดสน บริการพวกเขาด้วยความอดทน
IX. ไม่กินอะไรทั้งสิ้นคนเดียว นอกจากเมื่อแบ่งปันกันกินกับคนอื่นๆ
X. ไม่หายตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร่วมคณะ
นอกเหนือจากสิบข้อพื้นฐานดังกล่าวแล้ว ยังต้องใช้เวลาว่างเพื่อศึกษาเทวศาสตร์ ประกอบศาสนกิจหรือกุศลกรรมเพื่อช่วยผู้ทุกข์ยากอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในคณะซูฟิซึมของค็อนยา(ใช้ชื่อเรียกกันในเวลาต่อมาว่า เดอวิชคณะแมว์ลานะ (Mevlana หรือ Mawlana) โดยที่คำว่า "แมว์ลานะ" แปลว่า"บรมครู" สมญานามที่สานุศิษย์เรียกรูมี ผู้ก่อตั้งคณะ บรมครูได้ตั้งกฏบัญญัติในการครองตนของเดอวิช เรียกว่า ตารีกา-Tariqa (คำว่าตารีกาในภาษาอาหรับว่า"หนทาง")ไว้ดังนี้:
A. Tchella เหมือนการเข้าเงียบในคริสต์สาสนา การเข้าเงียบในอิสลามติดต่อกัน 40 วัน แต่ในคณะเดอวิชที่ค็อนยา ผู้ที่แสดงความจำนงค์จะเข้าเงียบนั้นจะอยู่ในคอนแวนต์(Takya ดูข้างล่างต่อไปนี้) 1001วัน จะผละออกไปไหนโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้ และถ้าทำผิดกฎข้อบังคับอะไรก็ตาม ก็ต้องเริ่มต้นนับวันใหม่ ตลอดระยะเวลาเกือบสามปีนี้จะใช้ชีวิตอย่างสมถะ ในค็อนยาบรมครูหรือหัวหน้าเชอิค(sheikh) เจาะจงให้สมาชิกใหม่ทำธุระหน้าที่ที่หนักและเหนื่อย เหมือนเป็นการทดสอบความอดทน หรือเป็นการขจัดความจับจดที่อาจมีเหลืออยู่ในธรรมชาตินิสัย งานดังกล่าวเช่นกวาดสถานที่, ล้างห้องส้วม, ซ่อมรองเท้าของผู้อาวุโสกว่าเป็นต้น. (เหมือนๆกับการฝึกในลัทธิเซนที่ญี่ปุ่น) สมาชิกต้องเชื่อฟังทำตามคำสั่งทุกประการ ทำด้วยความตั้งใจและด้วยอารมณ์ดี เขาจะทำงานเหน็ดเหนื่อยทั้งวันจนถึงเวลาสวดมนต์ตอนเย็นจึงหยุด จะนอนในห้องว่างเปล่าคนเดียว ไม่มีเตียง ไม่มีผ้าห่ม ในฤดูหนาวมีสิทธิ์คลุมตัวด้วยเสื้อคลุมหนึ่งตัวและไม่ต้องถอดเสื้อผ้านอน ภายในคอนแวนต์มีคนแก่คนหนึ่งทำหน้าที่ปลุกเดอวิชให้ตื่นก่อนตะวันขึ้น เขาเป็นผู้จุดเทียนในสุเหร่าและร้องเรียกให้ทุกคนมาสวดมนต์ร่วมกัน หากสมาชิกใหม่ทำผิดหรือผิดมารยาทต่อผู้ที่อยู่ก่อน เชอิคจะลงโทษประจานเขาต่อหน้าเดอวิชทุกคน เชอิคจะโบยขาคนผิด สิบถึงยี่สิบทีแล้วแต่กรณี มิใช่เพื่อทำให้เขาเจ็บตัวจริงๆแต่เพื่อให้คนผิดได้อายขายหน้า มื้ออาหารชุดใหญ่เป็นมื้อที่กินร่วมกันรอบวง สำรับกับข้าววางบนแผ่นหนังสีดำผืนหนึ่ง เหล่าเดอวิชทานอาหารจากจานหรือชามใหญ่เดียวกัน จะนั่งตัวเอียงอย่างจงใจเพื่อไม่ให้กินสบายเกินไปและเพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เดอวิชกินแต่พออิ่มหรือเพียงเล็กน้อย บรมครูรูมี ห้ามไม่ให้เดอวิชในคณะออกขอทาน (คณะอื่นอนุญาตให้ทำ) แต่ให้ออกหางานทำแลกเปลี่ยนเป็นอาหารแทนการออกขอทาน และไม่ให้รับเงินบริจาคจากใคร นอกจากว่าไม่ได้กินอะไรมาแล้วสามวันเต็ม
B. การสวดมนต์กับการอดอาหาร ให้กระทำติดต่อกันอย่างต่อเนื่องแม้ท้องจะร้อง(เพราะอยากอาหาร)หรือกายจะซูบผอม เดอวิชที่มีสมาธิแก่กล้าสวดมนต์ภาวนาจะพบขุมทรัพย์อื่น จะอิ่มเอิบในความสุขได้ เพราะวิญญาณที่มุ่งแต่สวดมนต์ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีกรอบจำกัด ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ วิญญาณนั้นจะแทรกซึมเข้าสู่พระผู้เป็นเจ้า เดอวิชจึงควรหมั่นเพียรในการสวดมนต์ภาวนาเสมอ
C. Faqr มีความหมายคล้ายกับการตัดวาง,การไม่ผูกพันกับอะไร. บรมครูอธิบายว่า ผู้มีญาณเข้าถึงจิตขั้นสูง,ไม่มีอะไรจะเข้าไปรังความจิตกับอารมณ์ของเขาได้,เพราะผู้ที่รู้จริงคือผู้ที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว,สิ่งเลวสิ่งร้ายที่เข้าถึงตัวเขา จะถูกฟอกให้เป็นสิ่งสะอาดบริสุทธิ์. เพราะฉะนั้นเดอวิชจึงต้องเป็นผู้ที่มีอารมณ์คงที่สม่ำเสมอ.
ครูเคยยกตัวอย่างว่า หากมีคนมาเล่าให้ฟังถึงความโหดร้ายทารุณของเพื่อนคนหนึ่ง, ต้องตีความคำบอกเล่านั้นไปในทางดี ซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างน้อย70ครั้ง, และถ้ายังไม่อาจเข้าใจการกระทำของเพื่อนไปในทางดีได้, ไม่ว่าจะพยายามอย่างไรก็แล้ว, ถึงยามนั้นต้องบอกตนเองว่า เพื่อนผู้ทำผิดอาจรู้เคล็ดอะไรที่ลึกล้ำกว่าก็ได้,แล้วทำใจให้สบายเสียก็จะไม่สูญเพื่อน. ใครก็ตามที่ใฝ่หาเพื่อนที่เป็นคนดีพร้อมทุกอย่าง ย่อมไม่มีเพื่อน. ครูยังสั่งให้ตัดขาดจากสมบัตินอกกายอีกด้วย เพราะข้อพิสูจน์ความรัก(ต่อพระเจ้า)คือการให้สิ่งที่ดีที่สุด,สิ่งที่รักที่สุด.
Takya-ตักกยา หรือ"คอนแวนต์" ของครูรูมีที่ค็อนยา ได้กลายเป็นศูนย์กลางของทุกสำนักที่สถาปนาขึ้นต่อมาในโลก ที่ค็อนยาเองยังมีคอนแวนต์ขนาดเล็กอีกห้าแห่ง คอนแวนต์แบ่งเป็นสองประเภท ประเภทหนึ่งมีชื่อว่า astanas เป็นคอนแวนต์สำหรับเข้าเงียบกับเป็นที่สั่งสอนอบรมเดอวิช อีกประเภทหนึ่งมีชื่อว่า zawiyas สำหรับกิจกรรมอื่นๆ สมัยนั้นมีร่วมสิบแห่งในตุรกี, ซีเรียและในอีจิปต์ ที่อิสตันบูล มีสำนักของคณะครูรูมีทั้งหมดห้าแห่งและมี zawiyas 66 แห่ง ทุกหมู่บ้านในอานาโตเลียมีสำนักครูแบบนี้ ครูรูมีกับสำนักเดอวิชอยู่ใกล้ชิดชาวบ้านเพื่อสื่อความรู้สึกฉันท์พี่น้อง ความเป็นมนุษย์เดินดินเหมือนกัน กับการรู้จักยอมรับความเป็นอื่นแบบต่างๆ ออกไปช่วยผู้ยากจนหรืออย่างน้อยช่วยผ่อนคลายความทุกข์ ด้วยการฝึกให้รำตามเดอวิชเป็นต้น ทำให้ลืมความเศร้าเสียใจได้หรือมีกำลังใจมากขึ้น เล่ากันว่าแม้แต่ผู้หญิงบางทีก็เข้าร่วมในวงดนตรีของเดอวิช ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในเดอวิชคณะอื่นๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่16 เป็นต้นมา มีสุลต่านหรือเจ้าชายเป็นผู้สถาปนาสำนัก Takya โดยเฉพาะสุลต่าน Selim III ในศต.18 ผู้เป็นทั้งนักดนตรีกับกวี ดังกล่าวไว้ในตอนต้นว่า ตั้งแต่ปี 1925 เป็นต้นมา สำนัก Takya ทุกแห่งถูกยุบตามคำสั่งของอาตาตุค สำนักตักกยาที่เมือง Alep (ในภาษาอาหรับเขียนว่าHalab) ในประเทศซีเรีย จึงได้กลายเป็นศูนย์กลางแทน สำนักตักกยาเดิมถูกแปลงไปเป็นพิพิธภัณฑ์ เช่นที่สำนักของครูรูมีที่ค็อนยา(ดังภาพที่นำมาให้ดูในตอนต้นเรื่อง) ปัจจุบันยังมีศูนย์ที่ยึดอุดมการณ์กับแนวการครองชีวิตของครูรูมีอยู่ในอีจิปต์, ในลีเบียและที่เกาะไซพรัส-Cyprusในทะเลเมดิเตอเรเนียนตะวันออก
รูมี- Djalal al-Din Rumi เป็นใคร?
รูมีเป็นชาวเปอเชีย มีชีวิตระหว่างปีคศ.1210-1273. บิดาได้พาครอบครัวอพยพออกจากเปอเชียเพื่อหนีภัยสงครามกับพวกมองโกล และได้ย้ายมาอยู่เมืองค็อนยา ศึกษาเล่าเรียนกับบิดาแล้วไปศึกษาต่ออีกในประเทศซีเรียก่อนจะกลับมารับหน้าที่สอนเทวศาสตร์ต่อจากบิดาที่เมืองค็อนยา มีผู้ตามมาฟังคำสอนของเขาจากที่ต่างๆเป็นจำนวนมาก เมื่ออายุเพียง 37 ปี เขาได้เป็นแกนชีวิตและจิตใจของเมืองค็อนยาแล้ว ต่อมาเขาได้พบกับ Shams-al-Din Muhammad ibn 'Ali de Tabriz ผู้จะนำเขาเข้าสู่การศึกษาพินิจพิจารณาเกี่ยวศาสตร์แห่งฌาณขั้นสูงหรือmysticism ความรู้ดังกล่าวเปลี่ยนความคิดและจิตสำนึกของรูมีโดยสิ้นเชิง เมื่อ Shams ถึงแก่อสัญกรรม รูมีตัดสินใจตั้งคณะเดอวิชตามลัทธิซูฟิซึม(Sufism) และเผยแพร่คำสอนของ Shams เขาวางระเบียบการครองตนและการปฏิบัติ เพื่อฝึกฝนจิตวิญญาณให้แก่กล้าถึงขั้นสูงที่สุด เพื่อให้เข้าถึงพระเจ้าได้ในที่สุด
ก่อนจะเป็นเดอวิช มีผู้เล่าให้ฟัง (ไม่ขอยืนยันว่าถูกต้อง) ว่าไม่ใช่ใครที่คิดจะเป็นเดอวิชก็ไปเป็นเลย จะต้องผ่านระยะทดสอบก่อนซึ่งมีดังนี้
1) ต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีและสามารถพิสูจน์ว่ามีความตั้งใจจริงที่จะเป็นเดอวิช
2) ไปบำเพ็ญทุกรกิริยา 1001 วัน ลงโทษตนเองในข้อผิดพลาดต่างๆที่เคยทำมาในชีวิต
3) เชอิคหัวหน้าคณะ(sheikh) จะอธิบายถึงความยากลำบากทุกแง่ทุกมุมในการเข้าเป็นเดอวิช ในการเข้าไปใช้ชีวิตใน"คอนแวนต์"ของคณะ (เรียกว่าTakya คำนี้ทำให้นึกถึงคำ"ตักศิลา"นะ) เขาพยายามพูดให้ผู้สมัครเปลี่ยนใจ
4) หลังจากนั้นหากผู้สมัครยังยืนยันอยากเป็นเดอวิชอยู่อีก จะถูกสั่งให้นั่งบนม้านั่ง (ไม่มีพนักให้พิงสบายๆหรอกนะ) ตลอดเวลาสามวัน เปิดโอกาสให้เขาคิดทบทวนความตั้งใจอีกครั้ง ระหว่างนี้เขาต้องเก็บวาจา จะกินเมื่อมีคนนำอาหารมาวางไว้ให้ตรงหน้าเท่านั้น จะนั่งตรงจุดนั้นบนม้านั่งและนั่งหลับ(คือนอน)ตรงจุดนั้นเช่นกันโดยไม่พูดอะไรทั้งสิ้น
5) หลังจากนั้นหัวหน้าคณะจะมาบอกว่าเขายังมีโอกาสเปลี่ยนใจอีก ถ้าไม่เปลี่ยนแน่นอนแล้ว ก็จะได้รับเข้าไปอยู่ในคอนแวนต์ของคณะและเริ่มปฏิบัติตามกฎของคณะ
เมื่อได้เข้าเป็นสมาชิกคณะเดอวิชแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ใน"คอนแวนต์"ของคณะ. อาจต้องอยู่ในนั้นนานแต่ก็ไม่ใช่ตลอดชีวิต. ทั้งนี้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ที่แต่งงานมีครอบครัวแล้ว. ไม่มีกฎบังคับว่าต้องเป็นโสดถึงจะเป็นเดอวิชได้. ภายในคณะ มีคนคอยกวดขันดูแลสมาชิกใหม่อย่างเคร่งครัด. สมาชิกใหม่จะมีหน้าที่หรืองานรับใช้ที่ต้องรับผิดชอบภายในคณะ. สมาชิกอาวุโสกว่าจะคอยสังเกตดูทักษะความสามารถของสมาชิกใหม่ เพื่อให้ทำหน้าที่ที่เหมาะกับธรรมชาตินิสัยและความถนัด เช่นหากมีพรสวรรค์ทางดนตรีก็จะได้เข้าฝึกการดนตรีต่อไป หากมีเสียงดีก็อาจเป็นนักร้องของคณะ สมาชิกที่มีความพร้อมดีที่สุดเท่านั้นที่จะได้รับพิจารณาให้เป็นผู้รำในพิธี นอกจากนี้ก็มีการศึกษาต่อเนื่องที่สมาชิกทุกคนต้องติดตามคือวิชาภาษา, วรรณกรรม, ศิลปะการเขียนอักษรวิจิตร(calligraphy), ปรัชญากับอัลกุระอ่าน.
กฎในการครองตนของเดอวิชภายในคอนแวนต์ที่มีมาแล้วตั้งแต่ต้นสมัยศตวรรษที่13 เป็นกฎพื้นฐานของซูฟิซึมทุกคณะ ในขณะเดียวกันแต่ละคณะก็อาจเพิ่มกฎอื่นๆเข้าไปอีก กฎทั่วไปมีดังนี้:
I. ต้องมีเสื้อผ้าสะอาดและร่างกายบริสุทธิ์หมดจด
II. ไม่นั่งในสุเหร่าหรือในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นใดเพื่อพูดคุย(เรื่อยเปื่อย)
III. ไม่ละเลยการเข้าร่วมสวดมนต์ภาวนากับผู้อื่น
IV. สละเวลานานมากที่สุดสำหรับการสวดมนต์ในยามดึก
V. ก่อนฟ้าสางให้สวดขอขมาต่อพระเจ้าและอ้อนวอนขอความเมตตาจากพระองค์(นึกถึงพระเจ้าก่อนในทุกเรื่อง)
VI. ตอนเช้าให้อ่านคัมภีร์อัลกุระอ่านให้มากที่สุดที่จะทำได้ และไม่เอ่ยปากพูดก่อนตะวันขึ้น
VII. หลังจากสวดตอนเย็นแล้วและก่อนถึงเวลาสวดก่อนเข้านอน ให้ท่องบทสวด(เช่นบทที่ยังจำไม่ได้)
VIII. ให้ต้อนรับคนจนคนยากไร้หรือคนขัดสน บริการพวกเขาด้วยความอดทน
IX. ไม่กินอะไรทั้งสิ้นคนเดียว นอกจากเมื่อแบ่งปันกันกินกับคนอื่นๆ
X. ไม่หายตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ร่วมคณะ
นอกเหนือจากสิบข้อพื้นฐานดังกล่าวแล้ว ยังต้องใช้เวลาว่างเพื่อศึกษาเทวศาสตร์ ประกอบศาสนกิจหรือกุศลกรรมเพื่อช่วยผู้ทุกข์ยากอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในคณะซูฟิซึมของค็อนยา(ใช้ชื่อเรียกกันในเวลาต่อมาว่า เดอวิชคณะแมว์ลานะ (Mevlana หรือ Mawlana) โดยที่คำว่า "แมว์ลานะ" แปลว่า"บรมครู" สมญานามที่สานุศิษย์เรียกรูมี ผู้ก่อตั้งคณะ บรมครูได้ตั้งกฏบัญญัติในการครองตนของเดอวิช เรียกว่า ตารีกา-Tariqa (คำว่าตารีกาในภาษาอาหรับว่า"หนทาง")ไว้ดังนี้:
A. Tchella เหมือนการเข้าเงียบในคริสต์สาสนา การเข้าเงียบในอิสลามติดต่อกัน 40 วัน แต่ในคณะเดอวิชที่ค็อนยา ผู้ที่แสดงความจำนงค์จะเข้าเงียบนั้นจะอยู่ในคอนแวนต์(Takya ดูข้างล่างต่อไปนี้) 1001วัน จะผละออกไปไหนโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้ และถ้าทำผิดกฎข้อบังคับอะไรก็ตาม ก็ต้องเริ่มต้นนับวันใหม่ ตลอดระยะเวลาเกือบสามปีนี้จะใช้ชีวิตอย่างสมถะ ในค็อนยาบรมครูหรือหัวหน้าเชอิค(sheikh) เจาะจงให้สมาชิกใหม่ทำธุระหน้าที่ที่หนักและเหนื่อย เหมือนเป็นการทดสอบความอดทน หรือเป็นการขจัดความจับจดที่อาจมีเหลืออยู่ในธรรมชาตินิสัย งานดังกล่าวเช่นกวาดสถานที่, ล้างห้องส้วม, ซ่อมรองเท้าของผู้อาวุโสกว่าเป็นต้น. (เหมือนๆกับการฝึกในลัทธิเซนที่ญี่ปุ่น) สมาชิกต้องเชื่อฟังทำตามคำสั่งทุกประการ ทำด้วยความตั้งใจและด้วยอารมณ์ดี เขาจะทำงานเหน็ดเหนื่อยทั้งวันจนถึงเวลาสวดมนต์ตอนเย็นจึงหยุด จะนอนในห้องว่างเปล่าคนเดียว ไม่มีเตียง ไม่มีผ้าห่ม ในฤดูหนาวมีสิทธิ์คลุมตัวด้วยเสื้อคลุมหนึ่งตัวและไม่ต้องถอดเสื้อผ้านอน ภายในคอนแวนต์มีคนแก่คนหนึ่งทำหน้าที่ปลุกเดอวิชให้ตื่นก่อนตะวันขึ้น เขาเป็นผู้จุดเทียนในสุเหร่าและร้องเรียกให้ทุกคนมาสวดมนต์ร่วมกัน หากสมาชิกใหม่ทำผิดหรือผิดมารยาทต่อผู้ที่อยู่ก่อน เชอิคจะลงโทษประจานเขาต่อหน้าเดอวิชทุกคน เชอิคจะโบยขาคนผิด สิบถึงยี่สิบทีแล้วแต่กรณี มิใช่เพื่อทำให้เขาเจ็บตัวจริงๆแต่เพื่อให้คนผิดได้อายขายหน้า มื้ออาหารชุดใหญ่เป็นมื้อที่กินร่วมกันรอบวง สำรับกับข้าววางบนแผ่นหนังสีดำผืนหนึ่ง เหล่าเดอวิชทานอาหารจากจานหรือชามใหญ่เดียวกัน จะนั่งตัวเอียงอย่างจงใจเพื่อไม่ให้กินสบายเกินไปและเพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เดอวิชกินแต่พออิ่มหรือเพียงเล็กน้อย บรมครูรูมี ห้ามไม่ให้เดอวิชในคณะออกขอทาน (คณะอื่นอนุญาตให้ทำ) แต่ให้ออกหางานทำแลกเปลี่ยนเป็นอาหารแทนการออกขอทาน และไม่ให้รับเงินบริจาคจากใคร นอกจากว่าไม่ได้กินอะไรมาแล้วสามวันเต็ม
B. การสวดมนต์กับการอดอาหาร ให้กระทำติดต่อกันอย่างต่อเนื่องแม้ท้องจะร้อง(เพราะอยากอาหาร)หรือกายจะซูบผอม เดอวิชที่มีสมาธิแก่กล้าสวดมนต์ภาวนาจะพบขุมทรัพย์อื่น จะอิ่มเอิบในความสุขได้ เพราะวิญญาณที่มุ่งแต่สวดมนต์ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีกรอบจำกัด ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ วิญญาณนั้นจะแทรกซึมเข้าสู่พระผู้เป็นเจ้า เดอวิชจึงควรหมั่นเพียรในการสวดมนต์ภาวนาเสมอ
C. Faqr มีความหมายคล้ายกับการตัดวาง,การไม่ผูกพันกับอะไร. บรมครูอธิบายว่า ผู้มีญาณเข้าถึงจิตขั้นสูง,ไม่มีอะไรจะเข้าไปรังความจิตกับอารมณ์ของเขาได้,เพราะผู้ที่รู้จริงคือผู้ที่ไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว,สิ่งเลวสิ่งร้ายที่เข้าถึงตัวเขา จะถูกฟอกให้เป็นสิ่งสะอาดบริสุทธิ์. เพราะฉะนั้นเดอวิชจึงต้องเป็นผู้ที่มีอารมณ์คงที่สม่ำเสมอ.
ครูเคยยกตัวอย่างว่า หากมีคนมาเล่าให้ฟังถึงความโหดร้ายทารุณของเพื่อนคนหนึ่ง, ต้องตีความคำบอกเล่านั้นไปในทางดี ซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างน้อย70ครั้ง, และถ้ายังไม่อาจเข้าใจการกระทำของเพื่อนไปในทางดีได้, ไม่ว่าจะพยายามอย่างไรก็แล้ว, ถึงยามนั้นต้องบอกตนเองว่า เพื่อนผู้ทำผิดอาจรู้เคล็ดอะไรที่ลึกล้ำกว่าก็ได้,แล้วทำใจให้สบายเสียก็จะไม่สูญเพื่อน. ใครก็ตามที่ใฝ่หาเพื่อนที่เป็นคนดีพร้อมทุกอย่าง ย่อมไม่มีเพื่อน. ครูยังสั่งให้ตัดขาดจากสมบัตินอกกายอีกด้วย เพราะข้อพิสูจน์ความรัก(ต่อพระเจ้า)คือการให้สิ่งที่ดีที่สุด,สิ่งที่รักที่สุด.
Takya-ตักกยา หรือ"คอนแวนต์" ของครูรูมีที่ค็อนยา ได้กลายเป็นศูนย์กลางของทุกสำนักที่สถาปนาขึ้นต่อมาในโลก ที่ค็อนยาเองยังมีคอนแวนต์ขนาดเล็กอีกห้าแห่ง คอนแวนต์แบ่งเป็นสองประเภท ประเภทหนึ่งมีชื่อว่า astanas เป็นคอนแวนต์สำหรับเข้าเงียบกับเป็นที่สั่งสอนอบรมเดอวิช อีกประเภทหนึ่งมีชื่อว่า zawiyas สำหรับกิจกรรมอื่นๆ สมัยนั้นมีร่วมสิบแห่งในตุรกี, ซีเรียและในอีจิปต์ ที่อิสตันบูล มีสำนักของคณะครูรูมีทั้งหมดห้าแห่งและมี zawiyas 66 แห่ง ทุกหมู่บ้านในอานาโตเลียมีสำนักครูแบบนี้ ครูรูมีกับสำนักเดอวิชอยู่ใกล้ชิดชาวบ้านเพื่อสื่อความรู้สึกฉันท์พี่น้อง ความเป็นมนุษย์เดินดินเหมือนกัน กับการรู้จักยอมรับความเป็นอื่นแบบต่างๆ ออกไปช่วยผู้ยากจนหรืออย่างน้อยช่วยผ่อนคลายความทุกข์ ด้วยการฝึกให้รำตามเดอวิชเป็นต้น ทำให้ลืมความเศร้าเสียใจได้หรือมีกำลังใจมากขึ้น เล่ากันว่าแม้แต่ผู้หญิงบางทีก็เข้าร่วมในวงดนตรีของเดอวิช ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในเดอวิชคณะอื่นๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่16 เป็นต้นมา มีสุลต่านหรือเจ้าชายเป็นผู้สถาปนาสำนัก Takya โดยเฉพาะสุลต่าน Selim III ในศต.18 ผู้เป็นทั้งนักดนตรีกับกวี ดังกล่าวไว้ในตอนต้นว่า ตั้งแต่ปี 1925 เป็นต้นมา สำนัก Takya ทุกแห่งถูกยุบตามคำสั่งของอาตาตุค สำนักตักกยาที่เมือง Alep (ในภาษาอาหรับเขียนว่าHalab) ในประเทศซีเรีย จึงได้กลายเป็นศูนย์กลางแทน สำนักตักกยาเดิมถูกแปลงไปเป็นพิพิธภัณฑ์ เช่นที่สำนักของครูรูมีที่ค็อนยา(ดังภาพที่นำมาให้ดูในตอนต้นเรื่อง) ปัจจุบันยังมีศูนย์ที่ยึดอุดมการณ์กับแนวการครองชีวิตของครูรูมีอยู่ในอีจิปต์, ในลีเบียและที่เกาะไซพรัส-Cyprusในทะเลเมดิเตอเรเนียนตะวันออก
รูมี- Djalal al-Din Rumi เป็นใคร?
รูมีเป็นชาวเปอเชีย มีชีวิตระหว่างปีคศ.1210-1273. บิดาได้พาครอบครัวอพยพออกจากเปอเชียเพื่อหนีภัยสงครามกับพวกมองโกล และได้ย้ายมาอยู่เมืองค็อนยา ศึกษาเล่าเรียนกับบิดาแล้วไปศึกษาต่ออีกในประเทศซีเรียก่อนจะกลับมารับหน้าที่สอนเทวศาสตร์ต่อจากบิดาที่เมืองค็อนยา มีผู้ตามมาฟังคำสอนของเขาจากที่ต่างๆเป็นจำนวนมาก เมื่ออายุเพียง 37 ปี เขาได้เป็นแกนชีวิตและจิตใจของเมืองค็อนยาแล้ว ต่อมาเขาได้พบกับ Shams-al-Din Muhammad ibn 'Ali de Tabriz ผู้จะนำเขาเข้าสู่การศึกษาพินิจพิจารณาเกี่ยวศาสตร์แห่งฌาณขั้นสูงหรือmysticism ความรู้ดังกล่าวเปลี่ยนความคิดและจิตสำนึกของรูมีโดยสิ้นเชิง เมื่อ Shams ถึงแก่อสัญกรรม รูมีตัดสินใจตั้งคณะเดอวิชตามลัทธิซูฟิซึม(Sufism) และเผยแพร่คำสอนของ Shams เขาวางระเบียบการครองตนและการปฏิบัติ เพื่อฝึกฝนจิตวิญญาณให้แก่กล้าถึงขั้นสูงที่สุด เพื่อให้เข้าถึงพระเจ้าได้ในที่สุด
รูมีในจินตนาการของศิลปิน (ไม่ระบุนาม)
เดอวิชคณะของค็อนยาพิเศษตรงที่ แทนการนั่งสวดมนต์ภาวนาอยู่กับที่ พวกเขาใช้ดนตรี ใช้ท่ารำเป็นสื่อให้ร่างกายและจิตใจมุ่งสูงขึ้นไปเรื่อยๆถึงพระเจ้า เป็นแนวใหม่ที่ทั้งสง่างาม ขรึมและขลัง ผู้ร่ายรำตัวเบาประหนึ่งจะลอยเหนือพื้นและเหมือนดั่งตกอยู่ในภวังค์ลึกล้ำ (ในภาษาชาวบ้านหรือภาษานักท่องเที่ยวเรียกเดอวิชผู้ร่ายรำคณะนี้ว่า
whirling derwishes)
การร่ายรำนี้ถือว่าเป็นการประกอบพิธีศาสนาพิธีหนึ่ง รูมีเคยพูดว่าหนทางสู่พระเจ้ามีหลายทาง เราเลือกทางของดนตรีกับการร่ายรำ สานุศิษย์ต่างชื่นชมและกระตือรือร้นที่จะฝึกหัดการเข้าฌาณชั้นสูงแบบนี้ แต่ก็มีผู้ประท้วงมากเช่นกัน เพราะผิดธรรมเนียมศาสนาที่ยึดกันมา อย่างไรก็ดีผู้ท้วงติงทั้งหลายในที่สุดก็แพ้ไป เพราะเมื่อมาใกล้ชิดครูก็เกิดความเข้าใจและศรัทธา มีบทเขียนต่างๆของผู้ที่เดินทางไปตุรกีและได้เห็นการร่ายรำของเดอวิชคณะนี้ที่ค็อนยาในสมัยก่อนเช่นในศตวรรษที่17-20 รวมเป็นข้อมูลลายลักษณ์ของนักเขียนชาติต่างๆ ทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ยืนยันตรงกันถึงความงามกับความประทับใจที่มีโอกาสได้เห็นพิธีร่ายรำแบบนี้ ขั้นตอนของพิธีที่เคยปฏิบัติกันมาในยุคครู จนถึงวาระสุดท้ายเมื่อสำนักตักกยาต่างๆถูกสั่งปิด เป็นไปตามที่จะกล่าวข้างล่างนี้ การแสดงสาธิตในปัจจุบันเป็นพิธีที่รวบรัดกว่ามาก ผู้ประกอบหรือผู้ร่ายรำในพิธีก็มิได้ "เข้าถึงพระเจ้า" จริงๆ อาจเคลิ้มๆเท่านั้น เนื่องจากมีกำหนดเวลาของการสาธิตก็เป็นได้ จึงทำให้ผู้ร่ายรำไม่ได้อยู่ในสภาพจิตที่ต้องการ "เข้าถึงพระเจ้า"
พิธีร่ายรำหรือซามะ-Sama
เดอวิชเดินเข้าไปในตักกยา สวมชุดขาว(เป็นผ้าวูลแบบหนาและมีน้ำหนัก)อยู่ข้างใน เป็นชุดยาวกรมเท้า ท่อนล่างกว้างเหมือนกระโปรง ชุดขาวนี้เป็นสัญลักษณ์ของผ้าห่อศพ ยังมีเสื้อคลุมตัวนอกที่ยาวกรอมเท้าเช่นกันแต่สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของหลุมศพ มีหมวกรูปเหมือนโคน(ปลายตัด)ทรงสูงทำด้วยกำมะหยี่(ดูในภาพตอนต้นเรื่อง) หมวกทรงสูงนี้เป็นสัญลักษณ์ของหินหน้าหีบศพ ผู้ที่เดินเข้าในพิธีคนสุดท้ายคือเชอิค เขาเหมือนตัวแทนของครูรูมีผู้ตั้งคณะเดอวิชนี้ เขาเป็นเหมือนแกน เป็นจุดตัดระหว่างโลกเบื้องบน(สวรรค์)กับโลกเบื้องล่าง(มนุษย์) พระเจ้าสื่อผ่านตัวเชอิคและลงสู่เดอวิชทุกคนในที่นั้น ผ้าโพกผมที่วนเป็นหมวกบนศีรษะ เป็นสิ่งแสดงเกียรติและฐานะของเชอิค ทั้งเชอิคและเดอวิชทุกคนคำนับกันแล้วนั่งลงบนพรม เชอิคนั่งลงบนพรมสีแดงผืนเล็กผืนหนึ่ง เป็นพรมเฉพาะเขาเท่านั้น แสดงวิทยฐานะที่ต่างกัน สีแดงนี้เป็นสัญลักษณ์ของแสงตะวันตกดินที่สาดแสงสุดท้ายในท้องฟ้าในวันที่ครูรูมีถึงแก่อสัญกรรม(17ธันวาคม1273) จากนั้นนักร้องเริ่มร้องเพลงสรรเสริญพระศาสดา(โมฮะหมัด) เป็นคำพูดที่รูมีเขียนขึ้นเองว่า “ท่านผู้เป็นที่รักของพระเจ้า เป็นผู้รับสารของพระองค์... ” แล้วร้องเพลงสรรเสริญผู้ประพันธ์ดนตรี(เป็นชาวเตอร์กชื่ออิตรี-Itri ) เพลงสรรเสริญนี้ ไม่มีดนตรีประกอบ เป็นบทร้องที่ช้า ขรึมและขลัง เมื่อเพลงร้องนี้จบ คนเป่าขลุ่ยจะเริ่มเพลงขลุ่ย(เรียกว่า taqsim)
ตลอดเวลาที่ผ่านไปนั้น เชอิคนั่งอย่างสงบ มือทั้งสองวางบนเข่า เมื่อเพลงขลุ่ยจบลง เขาตบพื้น ทันใดนั้นหัวหน้านักกลองจะเริ่มตีกลองและนักดนตรีทั้งหมดจะเล่นดนตรีบทหนึ่ง(เรียกว่า peshrev) เชอิคกับเดอวิชทั้งหลายลุกขึ้น เริ่มเดินเป็นวงกลม เดอวิชทั้งหลายเดินไปช้าๆสามรอบ และเมื่อเดินถึงตำแหน่งที่เจาะจงบนพื้น(ที่เดอวิชแต่ละคนรู้ว่าตำแหน่งใด) เขาจะกลับหลังหันไปยังเดอวิชคนที่เดินข้างหลังเขามาติดๆ ทั้งสองหยุดคำนับกันอย่างนอบน้อม แล้วก็เดินวนต่อไป(เดินทวนทวนเข็มนาฬิกา) จนครบสามรอบ เมื่อเดินจบแต่ละรอบจะคำนับกันสามครั้ง สามรอบนี้คือสามขั้นตอนที่จะนำเดอวิชไปถึง"การเข้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเจ้า" สามขั้นดังนี้ shari'at เส้นทางของศาสตร์วิชา, tariqat เส้นทางที่นำไปสู่การมองเห็นด้วยญาณ, haqiqat เส้นทางที่นำไปสู่การเข้ารวมเป็นหนึ่งในพระเจ้า นี่เป็นการถ่ายทอดขั้นตอนการเรียนรู้ ให้เป็นภาพลักษณ์ที่สื่อการฝึกฝนพัฒนาตนเอง ที่เดอวิชแต่ละคนมุ่งไปสู่ นั่นคือเป้าหมายสุดท้ายในพระเจ้า
เมื่อเดินครบสามรอบแล้ว เชอิคกลับไปนั่งประจำที่ของเขาบนพรมแดง เดอวิชคนอื่นไปยืน(เรียงหน้ากระดาน)อีกมุมหนึ่ง นักร้องกับนักดนตรีบรรเลงต่อไป และในบัดดลนั้นเหล่าเดอวิชปล่อยเสื้อนอกสีดำที่คลุมตัวอยู่ให้หลุดลงจากตัวในท่าของผู้มีชัยชนะ นั่นคือเหมือนเกิดใหม่ โผล่ออกจากหลุมศพ(เสื้อคลุมสีดำ) สวมเสื้อชุดขาวผ่องบริสุทธิ์ประหนึ่งว่าเดอวิชได้กำจัดสิ่งห่อหุ้มกาย (คือเนื้อหนังมังสา) ที่เน่าเปื่อยออกไปแล้ว เชอิคลุกขึ้นยืน หัวหน้าเดอวิชพร้อมเดอวิชทุกคนเดินไปคำนับเชอิคและก้มลงจูบมือขวาของเชอิค นั่นเป็นการขออนุญาตประกอบพิธีร่ายรำ เชอิคก้มศีรษะเป็นเชิงอนุญาต เมื่อจูบมือเสร็จ หัวหน้าเดอวิชเดินไปอยู่ตรงกลางลาน ก้มลงคำนับเชอิคผู้ก้มรับคำนับเช่นกันหัวหน้าเดอวิชอยู่บนลานร่ายรำนั้นตลอดเวลาพิธี เขาจะเดินช้าๆวนไปมา เหมือนคอยสำรวจตรวจตราความถูกต้องของเดอวิชที่ประกอบพิธีอยู่ ระหว่างที่เหล่าเดอวิชประกอบพิธีเตรียมการร่ายรำนั้น มีดนตรีประกอบรวมทั้งมีคำร้องด้วยเป็นตอนๆไป เหล่าเดอวิชเดินช้าๆต่อๆไปเป็นวงกลม มือไขว้กันบนหน้าอกโดยที่ปลายนิ้วแตะบ่า เดอวิชเริ่มหมุนรอบตัวไปช้าๆแต่ไม่ได้หมุนอยู่กับที่ จะหมุนไปบนลานด้วยพร้อมกัน มือทั้งสองที่ประสานบนหน้าอกจะค่อยๆลดลงไปที่เอวแล้วลงสองข้างลำตัว แล้วกลับขึ้นไปที่เอวและยกขึ้นสูงเหนือศีรษะแล้วกางออกเต็มที่ เหมือนปีกที่จะพาเขาโบยบินสู่สวรรค์ ในขณะเดียวกันนี้ก็หมุนรอบตัวเองพร้อมกับหมุนไปรอบๆลานเร็วขึ้นๆ ท่าสุดท้ายคือมือและแขนขวาชูสูงเหนือศีรษะสู่ท้องฟ้า ในขณะที่มือและแขนซ้ายลดลงสู่พื้นดิน มีความหมายว่าแขนขวาผู้รองรับ"พรราศีหรือบุญราศี"จากพระเจ้าผ่านลงสู่หัวใจของเดอวิช ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีเต็มเปี่ยมในหัวใจของเดอวิช จะยิ่งทำให้พรราศีนั้นอบอุ่นก่อนที่จะผ่านลงสู่โลก
การรำหมุนไปรอบๆลานตักกยานั้นเป็นภาพพจน์ของการหมุนเวียนของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์ รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการกวาดรวมสรรพสิ่งรอบข้างเป็นหนึ่งเดียวและเป็นวงจรแห่งชีวิต เสียงกลองในดนตรีเตือนให้นึกถึงเสียงแตรที่เทวทูตจะเป่าในวันพิพากษาสุดท้าย (พึงรู้ว่ารากฐานของอิสลามเหมือนกับเรื่องราวของคัมภีร์ไบเบิลของชาวคริสต์ คือมีพระเจ้า, มีอับราฮัม, อีซัค, มีอาดัมกับอีฟ, มีเทวทูตกาเบรียลที่เป็นเทวทูตเด่นที่สุดจนเกือบจะเป็นเทวทูตเดียวในคติอิสลาม, มีโมเสส, พระเยซูกับวันพิพากษาสุดท้ายเป็นต้น ทั้งหมดนี้เพื่อปูทางสู่อิสลามว่างั้น) วงล้อมที่เดอวิชหมุนไปรอบลานภายในตักกยานั้น เป็นวงกลมวงเดียวในตอนแรก แล้วกลายเป็นครึ่งวงกลมสองวงอยู่ภายใน เพื่อสื่อความหมายที่ควบคู่กัน ของวิญญาณในโลกของรูปลักษณ์ กับวิญญาณในโลกของพระเจ้า.
บนลานที่ประกอบพิธีนี้มีเส้นตรงเส้นหนึ่ง (คนภายนอกไม่เห็นแต่เดอวิชจะรู้ว่าอยู่ตรงไหน) ที่เหล่าเดอวิชจะเหยียบไม่ได้เลย คือเส้นตรงที่ลากจากพรมแดงที่เชอิคนั่งหรือยืนอยู่ ถึงทางเข้าสู่ลานหรือห้องนั้น เส้นนี้คือเส้นทางที่สั้นที่สุดที่จะถึงพระเจ้า (เดอวิชจะต้องไปในทางที่ยาวทั้งคดเคี้ยวและลำบาก เป็นเส้นทางของการต่อสู้ภายในจิตสำนึกของเดอวิชหรือของมนุษย์เดินดิน)
การร่ายรำหมู่นี้จะทำสองครั้ง(สองเพลง) ครั้งที่สามเป็นการร่ายรำเดี่ยว เป็นการบอกว่าหลังจากการหมุนวนหาทางสู่พระเจ้าร่วมกับคนอื่นๆแล้ว เดอวิชแต่ละคนจะเข้าถึงพระเจ้า(แล้วแต่ความพร้อม ความเพียรพยายามที่ต่างกันในแต่ละคน) ครั้งที่สี่จะเป็นการร่ายรำของเชอิคเอง เชอิคจะร่ายรำหมุนไปบนเส้นทางตรงที่กล่าวไว้ เขาเป็นดวงอาทิตย์ที่ทอแสงกระจายออกไปทั่ว (ละไว้ให้เข้าใจว่า เขาในฐานะของดวงอาทิตย์ จริงๆแล้วไม่ได้ร่ายรำตามลำพัง แต่มีระบบจักรวาล, มีดวงดาวในท้องฟ้าที่หมุนตามรอบๆเขา) เมื่อเชอิคเริ่มร่ายรำนั้นจะมีแต่เสียงขลุ่ยเท่านั้น (นี่จะเป็นเพลงขลุ่ยเพลงที่สองและเพลงสุดท้ายในพิธี) ทำนองเพลงขลุ่ยเด่นชัดและอ้อยสร้อยแบบบีบความรู้สึก เพลงขลุ่ยจบลงก่อน แต่ตัวเชอิคจะยังคงหมุนรอบตัวไปเรื่อยๆ ตกอยู่ในภวังค์จนเมื่อเขาเข้าถึงพระเจ้า ระหว่างนี้จะไม่มีเสียงดนตรีใดๆ นอกจากเสียงฝีเท้าของเชอิคกับเสียงของเสื้อผ้าที่ใส่ที่หมุนไปแผ่กระพือออกเป็นวงกลม(เนื่องจากเป็นผ้าวูลเนื้อหนาและมีน้ำหนัก) เมื่อถึงจุดของการรวมเข้าในพระเจ้าแล้ว เชอิคจะกลับมาประจำที่ การร่ายรำสิ้นสุดลง นักร้องเริ่มสวดอัลกุระอ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอัญเชิญคำพูดของพระเจ้ามาปิดท้ายให้กำลังใจหรือรางวัลแก่เหล่าเดอวิช มีการคำนับกันอีกรอบแบบในตอนต้น แล้วอ่านบทสวดสรุปที่ครูรูมีนิพนธ์ขึ้น เป็นอันจบพิธี
การร่ายรำนี้ถือว่าเป็นการประกอบพิธีศาสนาพิธีหนึ่ง รูมีเคยพูดว่าหนทางสู่พระเจ้ามีหลายทาง เราเลือกทางของดนตรีกับการร่ายรำ สานุศิษย์ต่างชื่นชมและกระตือรือร้นที่จะฝึกหัดการเข้าฌาณชั้นสูงแบบนี้ แต่ก็มีผู้ประท้วงมากเช่นกัน เพราะผิดธรรมเนียมศาสนาที่ยึดกันมา อย่างไรก็ดีผู้ท้วงติงทั้งหลายในที่สุดก็แพ้ไป เพราะเมื่อมาใกล้ชิดครูก็เกิดความเข้าใจและศรัทธา มีบทเขียนต่างๆของผู้ที่เดินทางไปตุรกีและได้เห็นการร่ายรำของเดอวิชคณะนี้ที่ค็อนยาในสมัยก่อนเช่นในศตวรรษที่17-20 รวมเป็นข้อมูลลายลักษณ์ของนักเขียนชาติต่างๆ ทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษ ที่ยืนยันตรงกันถึงความงามกับความประทับใจที่มีโอกาสได้เห็นพิธีร่ายรำแบบนี้ ขั้นตอนของพิธีที่เคยปฏิบัติกันมาในยุคครู จนถึงวาระสุดท้ายเมื่อสำนักตักกยาต่างๆถูกสั่งปิด เป็นไปตามที่จะกล่าวข้างล่างนี้ การแสดงสาธิตในปัจจุบันเป็นพิธีที่รวบรัดกว่ามาก ผู้ประกอบหรือผู้ร่ายรำในพิธีก็มิได้ "เข้าถึงพระเจ้า" จริงๆ อาจเคลิ้มๆเท่านั้น เนื่องจากมีกำหนดเวลาของการสาธิตก็เป็นได้ จึงทำให้ผู้ร่ายรำไม่ได้อยู่ในสภาพจิตที่ต้องการ "เข้าถึงพระเจ้า"
พิธีร่ายรำหรือซามะ-Sama
เดอวิชเดินเข้าไปในตักกยา สวมชุดขาว(เป็นผ้าวูลแบบหนาและมีน้ำหนัก)อยู่ข้างใน เป็นชุดยาวกรมเท้า ท่อนล่างกว้างเหมือนกระโปรง ชุดขาวนี้เป็นสัญลักษณ์ของผ้าห่อศพ ยังมีเสื้อคลุมตัวนอกที่ยาวกรอมเท้าเช่นกันแต่สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของหลุมศพ มีหมวกรูปเหมือนโคน(ปลายตัด)ทรงสูงทำด้วยกำมะหยี่(ดูในภาพตอนต้นเรื่อง) หมวกทรงสูงนี้เป็นสัญลักษณ์ของหินหน้าหีบศพ ผู้ที่เดินเข้าในพิธีคนสุดท้ายคือเชอิค เขาเหมือนตัวแทนของครูรูมีผู้ตั้งคณะเดอวิชนี้ เขาเป็นเหมือนแกน เป็นจุดตัดระหว่างโลกเบื้องบน(สวรรค์)กับโลกเบื้องล่าง(มนุษย์) พระเจ้าสื่อผ่านตัวเชอิคและลงสู่เดอวิชทุกคนในที่นั้น ผ้าโพกผมที่วนเป็นหมวกบนศีรษะ เป็นสิ่งแสดงเกียรติและฐานะของเชอิค ทั้งเชอิคและเดอวิชทุกคนคำนับกันแล้วนั่งลงบนพรม เชอิคนั่งลงบนพรมสีแดงผืนเล็กผืนหนึ่ง เป็นพรมเฉพาะเขาเท่านั้น แสดงวิทยฐานะที่ต่างกัน สีแดงนี้เป็นสัญลักษณ์ของแสงตะวันตกดินที่สาดแสงสุดท้ายในท้องฟ้าในวันที่ครูรูมีถึงแก่อสัญกรรม(17ธันวาคม1273) จากนั้นนักร้องเริ่มร้องเพลงสรรเสริญพระศาสดา(โมฮะหมัด) เป็นคำพูดที่รูมีเขียนขึ้นเองว่า “ท่านผู้เป็นที่รักของพระเจ้า เป็นผู้รับสารของพระองค์... ” แล้วร้องเพลงสรรเสริญผู้ประพันธ์ดนตรี(เป็นชาวเตอร์กชื่ออิตรี-Itri ) เพลงสรรเสริญนี้ ไม่มีดนตรีประกอบ เป็นบทร้องที่ช้า ขรึมและขลัง เมื่อเพลงร้องนี้จบ คนเป่าขลุ่ยจะเริ่มเพลงขลุ่ย(เรียกว่า taqsim)
ตลอดเวลาที่ผ่านไปนั้น เชอิคนั่งอย่างสงบ มือทั้งสองวางบนเข่า เมื่อเพลงขลุ่ยจบลง เขาตบพื้น ทันใดนั้นหัวหน้านักกลองจะเริ่มตีกลองและนักดนตรีทั้งหมดจะเล่นดนตรีบทหนึ่ง(เรียกว่า peshrev) เชอิคกับเดอวิชทั้งหลายลุกขึ้น เริ่มเดินเป็นวงกลม เดอวิชทั้งหลายเดินไปช้าๆสามรอบ และเมื่อเดินถึงตำแหน่งที่เจาะจงบนพื้น(ที่เดอวิชแต่ละคนรู้ว่าตำแหน่งใด) เขาจะกลับหลังหันไปยังเดอวิชคนที่เดินข้างหลังเขามาติดๆ ทั้งสองหยุดคำนับกันอย่างนอบน้อม แล้วก็เดินวนต่อไป(เดินทวนทวนเข็มนาฬิกา) จนครบสามรอบ เมื่อเดินจบแต่ละรอบจะคำนับกันสามครั้ง สามรอบนี้คือสามขั้นตอนที่จะนำเดอวิชไปถึง"การเข้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเจ้า" สามขั้นดังนี้ shari'at เส้นทางของศาสตร์วิชา, tariqat เส้นทางที่นำไปสู่การมองเห็นด้วยญาณ, haqiqat เส้นทางที่นำไปสู่การเข้ารวมเป็นหนึ่งในพระเจ้า นี่เป็นการถ่ายทอดขั้นตอนการเรียนรู้ ให้เป็นภาพลักษณ์ที่สื่อการฝึกฝนพัฒนาตนเอง ที่เดอวิชแต่ละคนมุ่งไปสู่ นั่นคือเป้าหมายสุดท้ายในพระเจ้า
เมื่อเดินครบสามรอบแล้ว เชอิคกลับไปนั่งประจำที่ของเขาบนพรมแดง เดอวิชคนอื่นไปยืน(เรียงหน้ากระดาน)อีกมุมหนึ่ง นักร้องกับนักดนตรีบรรเลงต่อไป และในบัดดลนั้นเหล่าเดอวิชปล่อยเสื้อนอกสีดำที่คลุมตัวอยู่ให้หลุดลงจากตัวในท่าของผู้มีชัยชนะ นั่นคือเหมือนเกิดใหม่ โผล่ออกจากหลุมศพ(เสื้อคลุมสีดำ) สวมเสื้อชุดขาวผ่องบริสุทธิ์ประหนึ่งว่าเดอวิชได้กำจัดสิ่งห่อหุ้มกาย (คือเนื้อหนังมังสา) ที่เน่าเปื่อยออกไปแล้ว เชอิคลุกขึ้นยืน หัวหน้าเดอวิชพร้อมเดอวิชทุกคนเดินไปคำนับเชอิคและก้มลงจูบมือขวาของเชอิค นั่นเป็นการขออนุญาตประกอบพิธีร่ายรำ เชอิคก้มศีรษะเป็นเชิงอนุญาต เมื่อจูบมือเสร็จ หัวหน้าเดอวิชเดินไปอยู่ตรงกลางลาน ก้มลงคำนับเชอิคผู้ก้มรับคำนับเช่นกันหัวหน้าเดอวิชอยู่บนลานร่ายรำนั้นตลอดเวลาพิธี เขาจะเดินช้าๆวนไปมา เหมือนคอยสำรวจตรวจตราความถูกต้องของเดอวิชที่ประกอบพิธีอยู่ ระหว่างที่เหล่าเดอวิชประกอบพิธีเตรียมการร่ายรำนั้น มีดนตรีประกอบรวมทั้งมีคำร้องด้วยเป็นตอนๆไป เหล่าเดอวิชเดินช้าๆต่อๆไปเป็นวงกลม มือไขว้กันบนหน้าอกโดยที่ปลายนิ้วแตะบ่า เดอวิชเริ่มหมุนรอบตัวไปช้าๆแต่ไม่ได้หมุนอยู่กับที่ จะหมุนไปบนลานด้วยพร้อมกัน มือทั้งสองที่ประสานบนหน้าอกจะค่อยๆลดลงไปที่เอวแล้วลงสองข้างลำตัว แล้วกลับขึ้นไปที่เอวและยกขึ้นสูงเหนือศีรษะแล้วกางออกเต็มที่ เหมือนปีกที่จะพาเขาโบยบินสู่สวรรค์ ในขณะเดียวกันนี้ก็หมุนรอบตัวเองพร้อมกับหมุนไปรอบๆลานเร็วขึ้นๆ ท่าสุดท้ายคือมือและแขนขวาชูสูงเหนือศีรษะสู่ท้องฟ้า ในขณะที่มือและแขนซ้ายลดลงสู่พื้นดิน มีความหมายว่าแขนขวาผู้รองรับ"พรราศีหรือบุญราศี"จากพระเจ้าผ่านลงสู่หัวใจของเดอวิช ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีเต็มเปี่ยมในหัวใจของเดอวิช จะยิ่งทำให้พรราศีนั้นอบอุ่นก่อนที่จะผ่านลงสู่โลก
การรำหมุนไปรอบๆลานตักกยานั้นเป็นภาพพจน์ของการหมุนเวียนของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์ รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์ของการกวาดรวมสรรพสิ่งรอบข้างเป็นหนึ่งเดียวและเป็นวงจรแห่งชีวิต เสียงกลองในดนตรีเตือนให้นึกถึงเสียงแตรที่เทวทูตจะเป่าในวันพิพากษาสุดท้าย (พึงรู้ว่ารากฐานของอิสลามเหมือนกับเรื่องราวของคัมภีร์ไบเบิลของชาวคริสต์ คือมีพระเจ้า, มีอับราฮัม, อีซัค, มีอาดัมกับอีฟ, มีเทวทูตกาเบรียลที่เป็นเทวทูตเด่นที่สุดจนเกือบจะเป็นเทวทูตเดียวในคติอิสลาม, มีโมเสส, พระเยซูกับวันพิพากษาสุดท้ายเป็นต้น ทั้งหมดนี้เพื่อปูทางสู่อิสลามว่างั้น) วงล้อมที่เดอวิชหมุนไปรอบลานภายในตักกยานั้น เป็นวงกลมวงเดียวในตอนแรก แล้วกลายเป็นครึ่งวงกลมสองวงอยู่ภายใน เพื่อสื่อความหมายที่ควบคู่กัน ของวิญญาณในโลกของรูปลักษณ์ กับวิญญาณในโลกของพระเจ้า.
บนลานที่ประกอบพิธีนี้มีเส้นตรงเส้นหนึ่ง (คนภายนอกไม่เห็นแต่เดอวิชจะรู้ว่าอยู่ตรงไหน) ที่เหล่าเดอวิชจะเหยียบไม่ได้เลย คือเส้นตรงที่ลากจากพรมแดงที่เชอิคนั่งหรือยืนอยู่ ถึงทางเข้าสู่ลานหรือห้องนั้น เส้นนี้คือเส้นทางที่สั้นที่สุดที่จะถึงพระเจ้า (เดอวิชจะต้องไปในทางที่ยาวทั้งคดเคี้ยวและลำบาก เป็นเส้นทางของการต่อสู้ภายในจิตสำนึกของเดอวิชหรือของมนุษย์เดินดิน)
การร่ายรำหมู่นี้จะทำสองครั้ง(สองเพลง) ครั้งที่สามเป็นการร่ายรำเดี่ยว เป็นการบอกว่าหลังจากการหมุนวนหาทางสู่พระเจ้าร่วมกับคนอื่นๆแล้ว เดอวิชแต่ละคนจะเข้าถึงพระเจ้า(แล้วแต่ความพร้อม ความเพียรพยายามที่ต่างกันในแต่ละคน) ครั้งที่สี่จะเป็นการร่ายรำของเชอิคเอง เชอิคจะร่ายรำหมุนไปบนเส้นทางตรงที่กล่าวไว้ เขาเป็นดวงอาทิตย์ที่ทอแสงกระจายออกไปทั่ว (ละไว้ให้เข้าใจว่า เขาในฐานะของดวงอาทิตย์ จริงๆแล้วไม่ได้ร่ายรำตามลำพัง แต่มีระบบจักรวาล, มีดวงดาวในท้องฟ้าที่หมุนตามรอบๆเขา) เมื่อเชอิคเริ่มร่ายรำนั้นจะมีแต่เสียงขลุ่ยเท่านั้น (นี่จะเป็นเพลงขลุ่ยเพลงที่สองและเพลงสุดท้ายในพิธี) ทำนองเพลงขลุ่ยเด่นชัดและอ้อยสร้อยแบบบีบความรู้สึก เพลงขลุ่ยจบลงก่อน แต่ตัวเชอิคจะยังคงหมุนรอบตัวไปเรื่อยๆ ตกอยู่ในภวังค์จนเมื่อเขาเข้าถึงพระเจ้า ระหว่างนี้จะไม่มีเสียงดนตรีใดๆ นอกจากเสียงฝีเท้าของเชอิคกับเสียงของเสื้อผ้าที่ใส่ที่หมุนไปแผ่กระพือออกเป็นวงกลม(เนื่องจากเป็นผ้าวูลเนื้อหนาและมีน้ำหนัก) เมื่อถึงจุดของการรวมเข้าในพระเจ้าแล้ว เชอิคจะกลับมาประจำที่ การร่ายรำสิ้นสุดลง นักร้องเริ่มสวดอัลกุระอ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอัญเชิญคำพูดของพระเจ้ามาปิดท้ายให้กำลังใจหรือรางวัลแก่เหล่าเดอวิช มีการคำนับกันอีกรอบแบบในตอนต้น แล้วอ่านบทสวดสรุปที่ครูรูมีนิพนธ์ขึ้น เป็นอันจบพิธี
(ภาพของคนอื่นได้มาจากอินเตอเน็ต จำไม่ได้แล้วว่าที่ไหน)
งามตา ประทับใจ ดูเหมือนเป็นการร่ายรำ แบบกำลังปฏิธรรมจริงๆ
ในความสงัดก่อนตะวันขึ้น นอกสุเหร่า Alaettin Mosque ที่ค็อนยา
มิใช่เพื่อแสดงต่อนักท่องเที่ยว
จิตรกรรมประดับอยู่ภายในสุเหร่า พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับชีวิตของเดอวิช ที่ค็อนยา
การร่ายรำนี้ถือว่า เป็นเสมือนอาหารของ"ผู้ที่รักพระเจ้า" เพราะในการร่ายรำ ผู้รำพบ "ภาพแห่งความสงบ" และไม่ว่าผู้รำจะหมุนไปทางไหน เขาก็จะเห็นพระเจ้าดังที่เขียนไว้ในอัลกุระอ่าน(II,115).
ผู้ที่"จิตถึง" จะเข้าใจว่า เสียงขลุ่ยที่เชิญให้ร่ายรำ เป็นความเงียบสงัดในเสียงดนตรี และในความเร็วของการหมุนตัวรำไปนั้น เดอวิชพบที่พักอันสงบ
ภาพลักษณ์ของความสุขสงบมั่นคงไม่รู้สิ้นสุด แฝงอยู่ในความเปลี่ยนแปลงที่ไม่รู้จบ.
ครูรูมี เคยเขียนไว้ว่า
ครูรูมี เคยเขียนไว้ว่า
What nurtures our soul
Is the whirling dance Where the Loved one emerges In our trance. |
สิ่งที่หล่อเลี้ยงวิญญาณคือ
การรำ....หมุนไป...หมุนไป..ไปๆ เห็นสุดสายใจโผล่มา ในห้วงภวังค์. |
ความคิดแบบนี้ที่ทำให้พิธีรำหรือ"สะมา-sama"’ของค็อนยา เป็นเหมือนภาพสะท้อนของการหมุนเวียนของเหล่าดวงดาวในจักรวาล การหมุนตัวหรือกระโปรงสีขาว ที่หมุนแผ่กว้างเป็นวงกลม (มีเสียงจากอาการหมุนกับเสียงกระโปรงที่ตวัดตามไปๆ) ไม่ผิดไปจากดวงดาวที่หมุนไปใกล้กัน เฉียดกันหรือกระทบกัน รวมกันเป็นเสียงของท้องฟ้า ของสวรรค์ เพราะฉะนั้นการร่ายรำกับดนตรีที่ประกอบ ไม่มีจุดประสงค์ที่จะทำให้เดอวิชเคลิบเคลิ้มไปกับดนตรีที่เสนาะหู แต่เป็นสื่อให้ไปถึงดนตรีของพระเจ้า นั่นคือเข้าสู่พระองค์ ในการเคลื่อนไหว เดอวิชจะพบสิ่งที่ไม่เคลื่อนอีกแล้ว ในเวลานาทีที่ผ่านไปไม่เคยหยุดนั้น เดอวิชจะพบความไม่จบของนาทีทอง เมื่อตัวเขาเข้าถึงพระองค์
ปลาบนดินแห้งจะกระโดดสุดตัว เมื่อได้ยินเสียงน้ำเสียงคลื่นฉันใด ซูฟิลุกขึ้นร่ายรำหมุนรอบตัวเองดั่งอณูที่หมุนติ้วในแสงตะวันที่จะพาเขาไปสู่โลกที่จะไม่เน่าเปื่อยหรือสูญสลาย. นกเอ่ย จงบินขึ้น บินไปสู่ที่เกิดของเจ้า...สู่ธารน้ำแห่งชีวิต. (cf.Eva de Vitray-Meyerovitch, p.136).
ตลอดชีวิตของรูมี เขาได้เรียบเรียงหนังสือชื่อว่า masnavi หรือบางทีก็เขียนเป็น mathnawi แจกแจงลัทธิของซูฟิซึมกับบทสอนต่างๆที่ใช้กระบวนการอุปมาอุปมัยเป็นหลัก ผลงานนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมดีเด่นที่สุดเล่มหนึ่งในหมู่วรรณกรรมมิซติคของโลก นอกจากนี้ยังมีหนังสือรวมกวีนิพนธ์ ghazals และบทเขียนอื่นๆทั้งกาพย์และร้อยแก้ว แนวการเขียนแบบง่ายๆ ใจความชัดเจน ไพเราะทั้งภาษาที่ใช้กับจังหวะจะโคลน งานเขียนของรูมี ประทับใจชาวมุสลิมทุกคนและพร้อมกันยกย่องเขาเป็นบรมครู ซึ่งตรงกับคำ Mawlana ที่ชาวมุสลิมใช้เรียกเขาตั้งแต่นั้นมาและไม่เพียงแต่ชาวตุรกีเท่านั้น ระหว่างที่เขายังมีชีวิตและสอนลัทธิซูฟิซึมที่เมืองค็อนยา มีชาวมุสลิมจากทุกทิศ มาขอเรียนขอฟังคำสอนของเขาและขอเข้าเป็นเดอวิช และเมื่อรูมีถึงแก่อสัญกรรม ก็มีชาวมุสลิมหลั่งไหลมาเคารพสักการะที่สุสานของเขา ในที่สุดผู้มีจิตศรัทธาได้รวบรวมเงินบริจาคเป็นจำนวนมากและสร้างสุสานอุทิศให้แด่บรมครู ณเมืองค็อนยานั่นเอง (ดูภาพหอโดมสีเขียว เป็นที่ประดิษฐานโลงศพของเขา) จนถึงทุกวันนี้ชาวมุสลิมจากทั่วโลกเดินทางไปเมืองค็อนยา เหมือนไปจาริกแสวงบุญแบบหนึ่ง ทุกปีในวันที่17 ธันวาคม อันเป็นวันคล้ายวันอสัญกรรมของท่านครู เหล่าเดอวิชที่ยังผูกพันกับสำนักค็อนยา จะไปชุมนุมกันและประกอบพิธีร่ายรำด้วยกัน
ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมตุรกี สนับสนุนการเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รู้เห็น เกี่ยวกับศิลปะกับอุดมการณ์ของเดอวิชที่ค็อนยาในแง่ของวัฒนธรรม เป็นความพยายามที่จะรักษาธรรมเนียมที่สวยงามในอดีตไว้โดยไม่จำเป็นต้องคลั่งลัทธิ จนออกนอกเส้นทางของเสรีประชาธิปไตย ในทศวรรษที่ผ่านมา องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวของตุรกี ได้จัดให้เป็นการแสดงรำภาวนาแบบนี้ขนาดใหญ่ เช่นจัดที่ Galata Mevlevihanesi ที่อิสตันบูล (ที่หมายถึง Whirling Dervish Hall ห้องโถงใหญ่ ที่นั่งเป็นอัฒจันทร์ มีการแสดงทุกคืนวันเสาร์) เพื่อผู้ชมจำนวนมาก กลายเป็นการแสดงมากกว่าการรำภาวนาอย่างจริงจังด้วยสานุศิษย์ซูฟิ (Sufi) ในภาพรวมดูสวยงามน่าทึ่งมาก มีผู้พรรณนาไว้ว่า มองจากที่สูง เมื่อปิดไฟทั้งห้องและมีแสงสว่างสลัวๆบนกลางเวทีเท่านั้น ภาพการรำภาวนาปรากฏเหมือนกลุ่มดาวในจักรวาลกำลังหมุนติ้วรอบตัว แต่ละดวงดาวเหมือนลูกข่าง ส่องประกายเจิดจ้าเพราะเสื้อคลุมยาวที่คนรำใส่เป็นสีขาว
คลิ้กดูภาพตัวอย่างการรำภาวนาตามแบบของเดอวิช (dervish) ได้ที่นี่
http://www.youtube.com/watch?v=M2TFTrP0ots
จักรวรรดิอ็อตโตมันที่แผ่ออกไปกว้างและไกล ทำให้ดนตรี การร่ายรำและกวีนิพนธ์ของรูมี(และแบบรูมี)แผ่ออกไปไกลถึงเวียนนา ประจวบกับลูกหลานครูรูมี ผู้เดินทางไปในทุกดินแดน ก็นำไปเผยแพร่อีกด้วย มีการแปลงานเขียนของครูรูมี พร้อมการตีความของกวีเตอร์กคนต่อๆมา ออกเป็นหลายภาษา จนในที่สุดกลายเป็นแนวโน้มของวรรณกรรมคลาซสิตเตอร์ก
กวีรุ่นหลังๆจะใช้ศัพท์สำนวนของครู ดนตรีก็เช่นกัน และยังมีอิทธิพลต่องานสร้างสรรค์ด้านอื่นๆอีกเช่นด้านจิตรกรรมกับศิลปะอักษรวิจิตรเป็นต้น
ครูรูมีเขียนหนังสือไว้มาก เราผู้ไม่ได้อ่านสักเล่มของท่าน คงไม่มีอะไรจะบอกได้แต่พยายามแปลบทสอนหรือคำพูดของรูมีมาลงเป็นตัวอย่างนิดหน่อย เมื่ออ่านๆดูรวมบทคำสอน(เล่มเล็ก)ของรูมี สังเกตว่าการสอนของรูมีจะยกเรื่องมาเล่าหนึ่งเรื่อง แล้วสรุปเป็นอุทาหรณ์บอกผู้ฟัง วิธีการแบบนี้เรียกว่าเป็นการสอนแบบอุปมาอุปมัย เป็นวิธีสอนที่พระเยซูใช้ ในพุทธชาดกก็มักจะเป็นเรื่องราวเรื่องหนึ่งเกิดขึ้น เหล่าพระภิกษุสงสัยไม่เข้าใจ จึงทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจะเล่าโยงไปถึงเหตุการณ์ในอดีตชาติของผู้นั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการตีแผ่ข้อมูลให้กว้างออก ให้เป็นที่เข้าใจกันมากขึ้น ก่อนจะสรุปเป็นคำสั่งสอน นิทานหรือการเล่าเรื่องจึงเป็นวิธีการเรียนการสอนของเกือบทุกอารยธรรมมาแต่โบราณกาล และในยุคปัจจุบันก็ยังทำสืบต่อมา ที่เห็นได้ชัดและใกล้ตัวที่สุด คือการเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง
เรื่องสมบัติที่ซ่อนไว้
ชาวเมืองแบกแดดคนหนึ่ง ใช้ทรัพย์สินมรดกที่ได้อย่างฟุ่มเฟือยจนหมดตัว หลังจากที่ได้สวดมนต์ภาวนาขอพระผู้เป็นเจ้าอย่างใจจดใจจ่อติดต่อกันนาน เขาฝันว่าเสียงหนึ่งมาบอกให้รู้ว่าณมุมหนึ่งในเมืองไคโรมีสมบัติซ่อนอยู่ พ่อหนุ่มตัดสินใจเดินทางไปไคโร จะเริ่มอย่างไรดีล่ะในเมื่อเขาไม่มีเงินเลย ในที่สุดเขาคิดจะขอทาน แต่ก็ยังนึกอายอยู่ จึงเริ่มขอทานยามพลบค่ำเท่านั้น ระหว่างที่เขาเร่ร่อนไปมาในเมืองรอเวลานั้น ถูกทหารหน่วยลาดตระเวนดูแลความสงบของเมืองจับไป หาว่าเป็นขโมยและไม่ฟังเสียงใดๆโบยเฆี่ยนตีเขา พ่อหนุ่มโวยวายเสียงหลง ในที่สุดทหารหยุดฟังเขา เขาเล่าความฝันของเขาและด้วยวาทศิลป์ในการเล่าที่แสดงความบริสุทธิ์ใจเต็มที่ ทำให้ผู้กองเชื่อ ผู้กองยังชมเขาว่าเป็นคนกล้าที่อุตส่าห์เดินทางมาถึงไคโร ในขณะเดียวกันก็เป็นคนโง่ที่ออกเดินทางตามความฝันมาไกลถึงเพียงนี้ ผู้กองเล่าต่อด้วยว่า เขาเองเคยฝันบ่อยๆ ว่ามีสมบัติซ่อนไว้ที่เมืองแบกแดด ที่บ้านนั้นถนนนั้นอย่างเจาะจงด้วยซ้ำ แต่เขาไม่ไปตามฝัน ปรากฏว่าบ้านที่ผู้กองฝันถึงนั้นเป็นบ้านของพ่อหนุ่มเอง พ่อหนุ่มได้ฟังดังนั้น ก้มลงกราบขอบคุณสวรรค์และเดินทางกลับแบกแดดทันที เขาเข้าใจถ่องแท้ถึงข้อบกพร่องของตนเอง และก็ขุดพบสมบัติที่ซ่อนอยู่ในบ้านเขา
เช่นนี้แหละ เราต้องค้นหาสมบัติที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ภายในตัวเราเอง แต่การตระหนักถึงความจริงข้อนี้นั้นต้องผ่าน “การออกไปค้นหาที่อื่น” และต้องมี “คนนอก” คนหนึ่งที่มากระตุ้นเขา เช่นกันบทบาทของครูคือการกระตุ้นให้เกิดการใฝ่หา ให้กลับเข้าสู่ใจกลางแห่งตน (Mathnawi, VI,4206)
ในความรัก คนที่รักกับคนได้รับความรักเหมือนห่อหุ้มอยู่ในเสื้อตัวเดียวกัน แสงหนึ่งย่อมรวมกับอีกแสงหนึ่ง การตายคือการแต่งงานกับ "กัลปาวสาน" เมื่อวิญญาณเราเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวในพระเจ้า มันเหมือนรูปปั้นขี้ผึ้งที่หลอมละลายในไฟ เหมือนภาพสีน้ำบนกระดาษที่ตกลงในธารน้ำ(สีจางละลายไปในธารน้ำนั้น) (Ode 1078)
รูมีกล่าวว่าความทุกข์ดีกว่าสมบัติอื่นใดในโลก เพราะในความทุกข์คนเรียกหาพระเจ้า คนตระหนักถึงสิ่งที่ขาดหายไป รูมีต้องการเน้นว่าจำเป็นที่ต้องมีจิตสำนึกของการขาด ของการรอคอย ของความกังวล เพราะความรู้สึกเหล่านี้ทำให้คนออกค้นหา...ความทุกข์จึงเป็นมัคคุเทศในชีวิตคน ตราบใดที่ใจคนยังไม่มีความทุกข์ ไม่มีความอยากในสิ่งใด ตราบนั้นคนนั้นก็ไม่ใฝ่หา หากคนหยุดการแสวงหา หยุดความอยาก โลกมนุษย์ก็จะไม่มีวิวัฒนาการ ไม่ว่าจะด้านการค้าขาย วิทยาการความรู้หรือดาราศาสตร์เป็นต้น ในอัลกุระอ่านบอกว่าขณะที่มารีจะคลอดลูกนั้นนางรู้สึกเจ็บปวดเหลือเกิน นางเดินไปเกาะต้นอินทผลัม(อัลกุระอ่านXIX,23). และต้นไม้ต้นนี้ที่แห้งเหี่ยวแล้วกลับให้ดอกให้ผล ร่างกายคนเปรียบได้กับมารีและเราทุกคนอุ้มเยซูอยู่ในครรภ์ ถ้าเรารู้สึกเจ็บท้อง เยซูของเราก็จะเกิด คลอดออกมาได้ (cf.Eva de Vitray-Meyerovitch, p.113)
ครูรูมีเขียนหนังสือไว้มาก เราผู้ไม่ได้อ่านสักเล่มของท่าน คงไม่มีอะไรจะบอกได้แต่พยายามแปลบทสอนหรือคำพูดของรูมีมาลงเป็นตัวอย่างนิดหน่อย เมื่ออ่านๆดูรวมบทคำสอน(เล่มเล็ก)ของรูมี สังเกตว่าการสอนของรูมีจะยกเรื่องมาเล่าหนึ่งเรื่อง แล้วสรุปเป็นอุทาหรณ์บอกผู้ฟัง วิธีการแบบนี้เรียกว่าเป็นการสอนแบบอุปมาอุปมัย เป็นวิธีสอนที่พระเยซูใช้ ในพุทธชาดกก็มักจะเป็นเรื่องราวเรื่องหนึ่งเกิดขึ้น เหล่าพระภิกษุสงสัยไม่เข้าใจ จึงทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจะเล่าโยงไปถึงเหตุการณ์ในอดีตชาติของผู้นั้นหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการตีแผ่ข้อมูลให้กว้างออก ให้เป็นที่เข้าใจกันมากขึ้น ก่อนจะสรุปเป็นคำสั่งสอน นิทานหรือการเล่าเรื่องจึงเป็นวิธีการเรียนการสอนของเกือบทุกอารยธรรมมาแต่โบราณกาล และในยุคปัจจุบันก็ยังทำสืบต่อมา ที่เห็นได้ชัดและใกล้ตัวที่สุด คือการเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง
เรื่องสมบัติที่ซ่อนไว้
ชาวเมืองแบกแดดคนหนึ่ง ใช้ทรัพย์สินมรดกที่ได้อย่างฟุ่มเฟือยจนหมดตัว หลังจากที่ได้สวดมนต์ภาวนาขอพระผู้เป็นเจ้าอย่างใจจดใจจ่อติดต่อกันนาน เขาฝันว่าเสียงหนึ่งมาบอกให้รู้ว่าณมุมหนึ่งในเมืองไคโรมีสมบัติซ่อนอยู่ พ่อหนุ่มตัดสินใจเดินทางไปไคโร จะเริ่มอย่างไรดีล่ะในเมื่อเขาไม่มีเงินเลย ในที่สุดเขาคิดจะขอทาน แต่ก็ยังนึกอายอยู่ จึงเริ่มขอทานยามพลบค่ำเท่านั้น ระหว่างที่เขาเร่ร่อนไปมาในเมืองรอเวลานั้น ถูกทหารหน่วยลาดตระเวนดูแลความสงบของเมืองจับไป หาว่าเป็นขโมยและไม่ฟังเสียงใดๆโบยเฆี่ยนตีเขา พ่อหนุ่มโวยวายเสียงหลง ในที่สุดทหารหยุดฟังเขา เขาเล่าความฝันของเขาและด้วยวาทศิลป์ในการเล่าที่แสดงความบริสุทธิ์ใจเต็มที่ ทำให้ผู้กองเชื่อ ผู้กองยังชมเขาว่าเป็นคนกล้าที่อุตส่าห์เดินทางมาถึงไคโร ในขณะเดียวกันก็เป็นคนโง่ที่ออกเดินทางตามความฝันมาไกลถึงเพียงนี้ ผู้กองเล่าต่อด้วยว่า เขาเองเคยฝันบ่อยๆ ว่ามีสมบัติซ่อนไว้ที่เมืองแบกแดด ที่บ้านนั้นถนนนั้นอย่างเจาะจงด้วยซ้ำ แต่เขาไม่ไปตามฝัน ปรากฏว่าบ้านที่ผู้กองฝันถึงนั้นเป็นบ้านของพ่อหนุ่มเอง พ่อหนุ่มได้ฟังดังนั้น ก้มลงกราบขอบคุณสวรรค์และเดินทางกลับแบกแดดทันที เขาเข้าใจถ่องแท้ถึงข้อบกพร่องของตนเอง และก็ขุดพบสมบัติที่ซ่อนอยู่ในบ้านเขา
เช่นนี้แหละ เราต้องค้นหาสมบัติที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ภายในตัวเราเอง แต่การตระหนักถึงความจริงข้อนี้นั้นต้องผ่าน “การออกไปค้นหาที่อื่น” และต้องมี “คนนอก” คนหนึ่งที่มากระตุ้นเขา เช่นกันบทบาทของครูคือการกระตุ้นให้เกิดการใฝ่หา ให้กลับเข้าสู่ใจกลางแห่งตน (Mathnawi, VI,4206)
ในความรัก คนที่รักกับคนได้รับความรักเหมือนห่อหุ้มอยู่ในเสื้อตัวเดียวกัน แสงหนึ่งย่อมรวมกับอีกแสงหนึ่ง การตายคือการแต่งงานกับ "กัลปาวสาน" เมื่อวิญญาณเราเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวในพระเจ้า มันเหมือนรูปปั้นขี้ผึ้งที่หลอมละลายในไฟ เหมือนภาพสีน้ำบนกระดาษที่ตกลงในธารน้ำ(สีจางละลายไปในธารน้ำนั้น) (Ode 1078)
รูมีกล่าวว่าความทุกข์ดีกว่าสมบัติอื่นใดในโลก เพราะในความทุกข์คนเรียกหาพระเจ้า คนตระหนักถึงสิ่งที่ขาดหายไป รูมีต้องการเน้นว่าจำเป็นที่ต้องมีจิตสำนึกของการขาด ของการรอคอย ของความกังวล เพราะความรู้สึกเหล่านี้ทำให้คนออกค้นหา...ความทุกข์จึงเป็นมัคคุเทศในชีวิตคน ตราบใดที่ใจคนยังไม่มีความทุกข์ ไม่มีความอยากในสิ่งใด ตราบนั้นคนนั้นก็ไม่ใฝ่หา หากคนหยุดการแสวงหา หยุดความอยาก โลกมนุษย์ก็จะไม่มีวิวัฒนาการ ไม่ว่าจะด้านการค้าขาย วิทยาการความรู้หรือดาราศาสตร์เป็นต้น ในอัลกุระอ่านบอกว่าขณะที่มารีจะคลอดลูกนั้นนางรู้สึกเจ็บปวดเหลือเกิน นางเดินไปเกาะต้นอินทผลัม(อัลกุระอ่านXIX,23). และต้นไม้ต้นนี้ที่แห้งเหี่ยวแล้วกลับให้ดอกให้ผล ร่างกายคนเปรียบได้กับมารีและเราทุกคนอุ้มเยซูอยู่ในครรภ์ ถ้าเรารู้สึกเจ็บท้อง เยซูของเราก็จะเกิด คลอดออกมาได้ (cf.Eva de Vitray-Meyerovitch, p.113)
คำแนะนำเจ็ดประการจากครูรูมี
1) ให้เป็นเหมือนแม่น้ำเมื่อทำทานหรือช่วยเหลือผู้อื่น
2) ให้เป็นเหมือนดวงอาทิตย์เมื่อรู้สึกเห็นอกเห็นใจกับยินดีปรีดากับผู้อื่น
3) ให้เป็นเหมือนราตรีเมื่อต้องปกปิดความบกพร่องของผู้อื่น
4) ให้เป็นเหมือนคนตายเมื่อรู้สึกว่ากำลังจะมีโทสะ
5) ให้ถ่อมตนและรู้จักเจียมตัวเหมือนธรณี
6) ให้เป็นเหมือนทะเลเมื่อทำใจรับรู้ความแตกต่างในบุคคล
7) ใช้ชีวิตตามธรรมชาตินิสัยที่แท้จริงของตน หรือ(ถ้าทำไม่ได้ก็ให้)พยายามรักษาภาพพจน์ที่ตนได้สร้างขึ้นในสายตาของคนอื่น
ฉันเป็นเพียงอะตอมหนึ่ง1) ให้เป็นเหมือนแม่น้ำเมื่อทำทานหรือช่วยเหลือผู้อื่น
2) ให้เป็นเหมือนดวงอาทิตย์เมื่อรู้สึกเห็นอกเห็นใจกับยินดีปรีดากับผู้อื่น
3) ให้เป็นเหมือนราตรีเมื่อต้องปกปิดความบกพร่องของผู้อื่น
4) ให้เป็นเหมือนคนตายเมื่อรู้สึกว่ากำลังจะมีโทสะ
5) ให้ถ่อมตนและรู้จักเจียมตัวเหมือนธรณี
6) ให้เป็นเหมือนทะเลเมื่อทำใจรับรู้ความแตกต่างในบุคคล
7) ใช้ชีวิตตามธรรมชาตินิสัยที่แท้จริงของตน หรือ(ถ้าทำไม่ได้ก็ให้)พยายามรักษาภาพพจน์ที่ตนได้สร้างขึ้นในสายตาของคนอื่น
สำหรับคนรัก ฉันไม่มีจิตวิญญาณเหลืออีกแล้ว ฉันมีเพียงความรัก ไม่มีวิญญาณ ไม่มีความคิดอ่าน มีเพียงความมึนเมาในความรักหนึ่งรักเดียวของฉัน
ฉันต้องเดินทางข้ามฟ้าข้ามแผ่นดิน ฉันเป็นเพียงอะตอมหนึ่ง อะตอมที่หลุดจากกองสมบัติ(หมายถึงพระเจ้า)
ฉันเดิน เดินไป แต่ละก้าวพาฉันไปใกล้คนรัก ฉันเดินไปๆ ฉันออกวิ่งไปหาเขา วิ่งไปยังคนรัก
เมื่อฉันเห็นเขา ฉันหมดแรงอ่อนปวกเปียก ฉันถูกฆ่าในเมืองแห่งความรัก
จงสละชีวิตสังเวยให้คนรักและขอให้เธอพบและเข้าใจเคล็ดลับแล้วถ่ายทอดความจริงนี้เถิด....
(cf.Eva de Vitray-Meyerovitch, p.169).
โมฮะหมัดกล่าวว่า โลกเป็นเพียงเวลาขณะหนึ่ง สำหรับพวกซูฟิ(sufi) มีเวลาขณะหนึ่งที่ดูจะไม่มีวันสิ้นสุด เป็นเวลาขณะที่รวมความยืนนานของสรรพชีวิตในอดีตและในอนาคต เพราะในพระเจ้า ไม่มีเช้าหรือเย็น ครูรูมีกล่าวว่า แต่ละขณะโลกเกิดใหม่โดยที่เราไม่ทันนึก ไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอันไม่หยุดนิ่ง ชีวิตเกิดใหม่อยู่เรื่อยๆเหมือนน้ำไหลลงสู่แม่น้ำ...อดีตหรืออนาคตมีเพราะเราไปคิดว่ามันมีแยกกันอย่างเด็ดขาด ความจริงแล้วทั้งสองคือหนึ่งเดียว
มีผู้ถามครูว่าแล้วมีอะไรไหมที่อยู่นอกเหนือกาลกับสถานที่
ครูตอบว่า ใจของคน (ibid.,p.178)
คำพูดอ่อนหวานที่เราบอกแก่กัน
ฟ้าเบื้องบนเก็บไว้เป็นความลับ
วันหนึ่งความลับนี้จะกระจายลงสู่โลกดั่งสายฝน
และความลับของเราก็จะทวีเพิ่มขึ้นบนพื้นโลก
(Les quatrains de Rumi, หนังสือเล่มนี้ไม่มีการพิมพ์เลขหน้าเป็นเจตจำนงของผู้ทำ)
เป็นการดีที่จะก้าวต่อไปในแต่ละวันๆละขั้น
เหมือนน้ำที่ไหลไม่หยุดนิ่ง
เมื่อวานนี้ผ่านไปแล้ว เรื่องของเมื่อวานก็ผ่านไปแล้ว
เป็นการดีที่ในแต่ละวัน เราเล่าเรื่องใหม่
ใจเอ๋ยใจ ทุกวินาทีเจ้าโลดแล่นในสายลมเหมือนผงฝุ่น
เจ้าปล่อยวิญญาณไว้ในมือของความเศร้า แล้วเจ้ารู้สึกเป็นสุข
แต่ครั้งนี้ ข้าปล่อยเจ้าไว้ในกองไฟ
เจ้าอาจจะฉลาดขึ้น
มียามหนึ่งในวัยเด็ก เราไปโรงเรียน
มียามหนึ่ง เราพอใจคบเพื่อนฝูง
ฟังตอนจบของเรื่องเราสิว่าเป็นอย่างไร
เรามาเหมือนเมฆและหายไปเหมือนลม
ครูตอบว่า ใจของคน (ibid.,p.178)
คำพูดอ่อนหวานที่เราบอกแก่กัน
ฟ้าเบื้องบนเก็บไว้เป็นความลับ
วันหนึ่งความลับนี้จะกระจายลงสู่โลกดั่งสายฝน
และความลับของเราก็จะทวีเพิ่มขึ้นบนพื้นโลก
(Les quatrains de Rumi, หนังสือเล่มนี้ไม่มีการพิมพ์เลขหน้าเป็นเจตจำนงของผู้ทำ)
เป็นการดีที่จะก้าวต่อไปในแต่ละวันๆละขั้น
เหมือนน้ำที่ไหลไม่หยุดนิ่ง
เมื่อวานนี้ผ่านไปแล้ว เรื่องของเมื่อวานก็ผ่านไปแล้ว
เป็นการดีที่ในแต่ละวัน เราเล่าเรื่องใหม่
ใจเอ๋ยใจ ทุกวินาทีเจ้าโลดแล่นในสายลมเหมือนผงฝุ่น
เจ้าปล่อยวิญญาณไว้ในมือของความเศร้า แล้วเจ้ารู้สึกเป็นสุข
แต่ครั้งนี้ ข้าปล่อยเจ้าไว้ในกองไฟ
เจ้าอาจจะฉลาดขึ้น
มียามหนึ่งในวัยเด็ก เราไปโรงเรียน
มียามหนึ่ง เราพอใจคบเพื่อนฝูง
ฟังตอนจบของเรื่องเราสิว่าเป็นอย่างไร
เรามาเหมือนเมฆและหายไปเหมือนลม
บันทึกเดินทางของโชติรส โกวิทวัฒนพงศ์
นำมาลงในบล็อก ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๗.
------------------------------------------------------------------------------
บรรณานุกรมเกี่ยวกับอิสลามและตุรกีบางเล่ม
Eva de Vitray-Meyerovitch, Konya ou la Danse Cosmique. Editions Jacqueline Renard. Paris, 1989.
Henri Stierlin, Turquie des Seldjoukides aux Ottomans. Koln, Taschen, 1998.
Les Quatrains de Rumi, calligraphies de Hassan Massoudy. Edition Albin Michel. Paris, 2000.
Malek Chebel, Dictionnaire des symboles musulmans: rites, mystique et civilisation. Edition
Albin Michel.Paris, 1995.
Najm-oud-Dine Bammate, L'Islam et l'Occident. Editions Christian Destremau/EditionsUnesco.2000.
Oleg Grabar, The Formation of Islamic Art. Yale University Press, 1987.
Semra Germaner & Zeynep Inankur, Orientalism and Turkey. The Turkish Cultural
Service Foundation, Istanbul 1989.
Eva de Vitray-Meyerovitch, Konya ou la Danse Cosmique. Editions Jacqueline Renard. Paris, 1989.
Henri Stierlin, Turquie des Seldjoukides aux Ottomans. Koln, Taschen, 1998.
Les Quatrains de Rumi, calligraphies de Hassan Massoudy. Edition Albin Michel. Paris, 2000.
Malek Chebel, Dictionnaire des symboles musulmans: rites, mystique et civilisation. Edition
Albin Michel.Paris, 1995.
Najm-oud-Dine Bammate, L'Islam et l'Occident. Editions Christian Destremau/EditionsUnesco.2000.
Oleg Grabar, The Formation of Islamic Art. Yale University Press, 1987.
Semra Germaner & Zeynep Inankur, Orientalism and Turkey. The Turkish Cultural
Service Foundation, Istanbul 1989.
รายละเอียดตลอดจนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในอุดมการณ์และการปฏิบัติตนในคณะเดอวิชของครูรูมียังมีอีกมาก
อิสลามศึกษาก็มีเนื้อหามากและมีความสำคัญต่อเราด้วย ในเมื่อคนไทยหลายล้านคนเป็นอิสลาม ผู้เขียนหวังว่าจะมีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอิสลามต่อไป ชาวตะวันตกเช่นเดียวกับตะวันออกเป็นหนี้ปราชญ์นักคิดนักวิชาการและนักประดิษฐ์อาหรับหรืออิสลามหลายอย่าง.ผลงานของพวกเขาแผ่ออกไปในโลกควบคู่ไปกับการแผ่ของอิสลาม
ขอให้ดูเหตุการณ์สำคัญๆตั้งแต่เมื่อโมฮะหมัดถึงแก่อสัญกรรม(632)
เพราะจากนั้นอิสลามจะแผ่ออกไปสู่โลกกว้างอย่างรวดเร็ว
692 - สร้าง Dome of the Rock ที่เมืองเยรูซาเล็ม (เชื่อกันว่าโมฮะหมัดขึ้นสู่สวรรค์จากบนยอดหินนี้)
705-715 อาหรับซีเรียสร้างสุเหร่าที่เมืองดามัส เป็นสิ่งสวยมหัศจรรย์ที่สุดในยุคนั้น
754 - เมือง Córdoba เป็นศูนย์รวมวิทยาการอาหรับ ที่จะแผ่ไปไกล ถ่ายทอดไปสู่ชาวคริสต์ตั้งแต่นั้น
774 - สุลต่านฮะรุนอัลราชีดแลกเปลี่ยนพันธไมตรีกับคอนสแตนติโนเปิล และกับจักรวรรดิของCarolus Magnusในยุโรป สนับสนุนการศึกษาและศิลปะ ยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของชาวอาหรับ
833 - อาหรับสร้างหอดูดาวที่เมืองแบกแดด(ในอิรัคปัจจุบัน) พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดวงดาว, คณิตศาสตร์, พีชคณิต(ในอินเดีย), การแพทย์เป็นต้น
909 - อาหรับขยายดินแดนไปถึงตอนบนของทวีปอัฟริกา
และต่อไปรวมอาเรเบียตะวันตก ซีเรียและอีจิปต์(969)692 - สร้าง Dome of the Rock ที่เมืองเยรูซาเล็ม (เชื่อกันว่าโมฮะหมัดขึ้นสู่สวรรค์จากบนยอดหินนี้)
705-715 อาหรับซีเรียสร้างสุเหร่าที่เมืองดามัส เป็นสิ่งสวยมหัศจรรย์ที่สุดในยุคนั้น
754 - เมือง Córdoba เป็นศูนย์รวมวิทยาการอาหรับ ที่จะแผ่ไปไกล ถ่ายทอดไปสู่ชาวคริสต์ตั้งแต่นั้น
774 - สุลต่านฮะรุนอัลราชีดแลกเปลี่ยนพันธไมตรีกับคอนสแตนติโนเปิล และกับจักรวรรดิของCarolus Magnusในยุโรป สนับสนุนการศึกษาและศิลปะ ยุโรปตระหนักถึงความสำคัญของชาวอาหรับ
833 - อาหรับสร้างหอดูดาวที่เมืองแบกแดด(ในอิรัคปัจจุบัน) พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดวงดาว, คณิตศาสตร์, พีชคณิต(ในอินเดีย), การแพทย์เป็นต้น
925 - อาหรับเริ่มค้าขายลงไปถึงชายฝั่งอัฟริกาตะวันออก
980-1037 Avicenna(ibn-Sina)ชาวเปอเชียผู้เป็นทั้งนักปราชญ์และแพทย์ มีงานเขียนทั้งสองสาขา รวมทั้งด้านศาสนา ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อปรัชญากับการแพทย์ในโลกตะวันออกและตะวันตกตลอดมา หนังสือ Canon of Medicine รวมความรู้การแพทย์ของชาวโรมันกับข้อสังเกตของเขาเองจากการรักษาพยาบาล หนังสือเล่มนี้ได้เป็นมาตรฐานและเป็นคู่มือของการแพทย์ในโลกยุคกลาง
1000 - อาหรับค้นพบเลนส์ขยาย
1050 - อาหรับสถาปนาโรงเรียนสอนการแพทย์ที่เมือง Salernoในภาคใต้ของอิตาลี การแพทย์และการรักษาตามมาตรฐานของอาหรับแพร่ขยายเข้าสู่ยุโรป
1150 - เริ่มการเรียนการแปลภาษาอาหรับในตะวันตกที่โรงเรียนสอนแปลเมืองโตเลโด-Toledo ในสเปน
1158 - Frederick ที่หนึ่ง(กษัตริย์แห่งซิซีลี) สถาปนามหาวิทยาลัยยุโรปแห่งแรกที่เมืองบอลอญา-Bologna ในอิตาลี
1170 - สถาปนามหาวิทยาลัยปารีส
1171 - Averroes(ibn-Rushd,1126-98) อาหรับเชื้อสเปน ไปสอนที่ Córdoba ในสเปน. เขาเป็นนักปราชญ์ ผู้พิพากษาและนักฟิสิค. ผลงานที่สำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อวิชาปรัชญาและวิทยาศาสตร์ในยุโรปตลอดหลายศตวรรษต่อมา คือบทวิเคราะห์วิจารณ์งานของปราชญ์กรีกอริสโตเติลกับเปลโต และยังโยงปรัชญากรีกกับประเพณีอาหรับ ทำให้นักปราชญ์ยุโรปเข้าใจและเริ่มพินิจพิเคราะห์อารยธรรมกรีกโบราณ
1202 - มีการสอนคณิตศาสตร์อาหรับที่เมืองปิซา-Pisaในอิตาลี
1215 - อิสลามแผ่ไปถึงเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และอัฟริกา
และตั้งแต่ 1453 เมื่อพวกเตอร์กสถาปนาจักรวรรดิอ็อตโตมัน เมืองคอนสแตนติโนเปิลกลายเป็นศูนย์ศิลปวิทยาของโลกตะวันตกกับตะวันออกกลางจนถึงต้นศตวรรษที่20
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment