ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว(ยี่สิบกว่าปีก่อน)
เพื่อนฝรั่งเศส(คนเดียวที่มีและที่เหลือ) แต่งบทกลอนบทหนึ่งส่งไปให้ข้าพเจ้า
(ตอนนั้นข้าพเจ้าออกไปพักร้อนที่ไหนสักแห่ง) บทกลอนนั้นแต่งได้ไพเราะมีความหมายดี เห็นความอ่อนโยนในใจเพื่อน การใช้คำมีจังหวะและอ่านได้ลื่นไหล
อ่านแล้วก็พอใจมาก ข้าพเจ้ารึก็ไม่มีฝีปากที่จะตอบเป็นกลอนไปถึงเพื่อนได้ ก็พอดีให้ได้เจอบทกวีบทหนึ่งของกวีเอกฝรั่งเศสที่แต่งไว้ได้ไพเราะและเต็มไปด้วยความหมายพร้อมภาพพจน์ที่สวยงามของธรรมชาติอันสงบ บทกวีนั้นจบลงด้วยใจความว่า เหนือความประทับใจของธรรมชาติที่ทอดอยู่ตรงหน้า
ความงามของภาษาตรึงใจเหมือนวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง…
ข้าพเจ้าเห็นว่า
บทนี้ตรงกับที่ใจอยากบอก จึงเลือกการ์ดรูปทิวทัศน์สวยงามยิ่งของวันก๊อก (Van Gogh) จิตรกรชั้นครู เป็นภาพทิวทัศน์ในชนบท
แสงสีฟ้าโดดเด่นในภาพนั้น แล้วบรรจงลอกบทกลอนของกวีฝรั่งเศสลงไปด้วยลายมือที่งดงาม
บอกที่มาของบทกลอนนั้น ใครเป็นผู้ประพันธ์ (ณนาทีนี้ จำบทกวีได้เพียงคร่าวๆ
เสียดายว่ามิได้บันทึกไว้ แต่สิ่งที่ไม่ลืมคือผลจากการกระทำของข้าพเจ้า) แล้วส่งกลับไปให้เพื่อนด้วยความกระหยิ่มยิ้มย่องว่า
เราได้แสดงความคิดเห็นเรื่องบทกลอนที่เขาแต่งขึ้นแล้ว
และได้เขียนสิ่งที่งามที่สุดไปให้แล้วเป็นคำชม.
อีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา
ได้รับจดหมายของเพื่อนที่(ยังมีหน้ามา)บอกว่า ได้รับการ์ดแล้ว
กวาดตาอ่านที่คัดลอกไป แล้วก็ฉีกทิ้งลงถังขยะไปเลย มันไม่มีอะไรที่เป็นของคุณ
จากตัวตนแท้ๆของคุณ ไม่มีความหมายใดๆสำหรับผม ถ้าคนที่ได้รับการศึกษาอย่างคุณ
ไม่รู้จักพูดแสดงความคิดเห็นความชอบของคุณเอง เอาแต่อ้างคำพูดคนนั้นคนนี้
เหมือนเด็กอายุสิบหก แล้วจะมีความหวังใดเหลืออีก. อ่านแล้วก็โกรธจัด
บังอาจฉีกการ์ดใบสวยที่ข้าพเจ้าหวงแหนมากทิ้ง เขียนตอบไปทันทีว่า แล้วคุณไม่คิด
ไม่ให้ค่าของความตั้งใจของฉัน ในการเลือกการ์ด ในการเลือกบทกวีที่ส่งไปให้เลยรึ (แห้ม! สับเราซะเป็นหมูบะช่อไปเลย).
วันเวลาผ่านไป
เมื่อหายโกรธ ก็มาคิดพินิจพิเคราะห์เกี่ยวกับนิสัยการใช้ภาษาของข้าพเจ้า. ไม่ว่าจะในภาษาไหน เราเคยชินตั้งแต่เด็กกับการจำประโยคสวยๆ
เพราะๆ คำคมเก๋ๆ แล้วก็นำไปใช้แบบเป็นสำนวนเบ็ดเสร็จ (จนเดี๋ยวนี้
บางทีก็ยังทำอยู่ แต่ด้วยความกลมกลืนกับสิ่งที่กำลังเขียนมากขึ้น). ครูผู้คุมวิทยานิพนธ์ชาวฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยปารีส
พูดย้ำเสมอว่า เมื่ออ่านอะไรเข้าใจแล้ว ก็ให้อธิบายสิ่งที่เข้าใจออกมาด้วยภาษาสำนวนของตนเอง
กำกับที่มาของเนื้อหาให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อ่านตามไปตรวจสอบความถูกต้องว่า
เราเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ไปยกคำพูดหรือข้อความของคนนั้นคนนี้มาใส่ลงในวิทยานิพนธ์เพื่อให้ยาวๆ. ถ้าจำเป็นก็ให้เอาไปใส่ในเชิงอรรถก็พอ. การลอกเลียนคำพูดของคนอื่นๆ ต่อให้คำพูดนั้นคมและไพเราะเพียงใด
ก็ไม่ได้บอกว่าคุณเข้าใจและคุณได้อะไรจากข้อความนั้น ยิ่งบทความถูกใจและคุณซาบซึ้งในสิ่งที่อ่าน
ก็ยิ่งง่ายแก่การย่อยสังเคราะห์และถ่ายทอดออกมาด้วยสำนวนภาษาของตัวเอง
ใช้ภาษาง่ายๆของคุณเองนั่นแหละ ที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อเข้าใจแล้ว
ย่อมพูดสิ่งยากๆซับซ้อนให้เป็นสิ่งง่ายๆได้. นั่นแหละคือการเก็บใจความและการพัฒนาวิธีการนำเสนอข้อมูลที่ดีที่สุด
และเมื่อนั้นเท่ากับว่าสิ่งที่คุณเรียนรู้จากคนอื่นมา
ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในสติปัญญาของคุณ. นี่คือแนวทางการเขียนงานวิจัยตามกฎตามขนบฝรั่งเศสที่ครูได้พร่ำสอนข้าพเจ้ามา.
บทเรียนครั้งนั้นโหดร้ายที่สุดและมีค่าที่สุดต่อชีวิต
ต่อการพัฒนาตัวเองของข้าพเจ้า. ข้าพเจ้าต้องขอบคุณเพื่อนที่ได้ทำทุกอย่างเพื่อช่วยให้ข้าพเจ้าลุกยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเองทั้งในการเรียนรู้และในการเจริญวัย และก็รู้คุณเพื่อนอยู่เสมอที่เป็นผู้เตือนประเภทไม่ไว้หน้าใคร เป็นผู้แก้สิ่งขรุขระที่ไม่งามทั้งหลาย
ให้หมดไปทีละเล็กทีละน้อย. สำนึกสิ้นในวิญญาณว่า ตราบใดที่ยังมีอีโก้ เราก็เหมือนปักตรึงอยู่กับที่.
การรู้จักถ่อมตน รับฟังคำตำหนิของคนอื่น เป็นจุดก้าวข้ามความจำกัดออกไปสู่โลกภายนอกอันกว้างใหญ่ที่ทอดอยู่เบื้องหน้า.
ขอคารวะเพื่อนคนนั้น สำนึกรู้คุณเสมอมาไม่เสื่อมคลาย เล่ามาให้เป็นอุทาหรณ์.
ตามประสาพวกเราชาวอักษรฯ
ช่างจดช่างจำคำคม สุภาษิต บทกลอน คำโคลงที่เราท่องไว้ในวัยเด็กโดยไม่รู้สึกว่าลำบากยากเย็นอะไร
เพราะความไพเราะคล้องจองของภาษาไทยที่ใช้ และเราก็จำๆกันโดยที่ครูไม่ได้บอกให้จำหรือเพราะจะต้องสอบ จำได้เพราะมันโดนใจเรานั่นเอง. มันจึงอยู่กับเรามาตลอด
แม้จะตกหล่นคำสองคำไปบ้างในวัยหกสิบกว่านี้
แต่มันยังคงไพเราะเสนาะหูและประทับใจเราเรื่อยมา. นี่คงไม่ใช่สิ่งที่เราควรแก้ไข มันเป็นเรื่องความชอบส่วนตัว แต่กระแสการส่งเมล์
ส่งลายน์ การส่งต่อข้อความในมีเดียยุคปัจจุบัน
ได้ทำลายโอกาสของการสื่อสารด้วยตัวของเราเอง
ลดทักษะการใช้ภาษาและฝังความขี้เกียจให้ลึกลง. น่าเสียดาย
อย่าปล่อยสมองดีๆของเราให้จมลงในความอืดอาด มันจะฝ่อลงๆ. อันตราย! ประเภทที่คิดมาก
ครุ่นคิดไม่หยุด ก็เสี่ยงไม่แพ้กัน จงใช้สมองอย่างพอเพียงและให้พอเหมาะเสมอระดับวุฒิภาวะของเราเถิด.
เรื่องที่นำมาให้อ่านข้างล่างนี้
เป็นตอนหนึ่งในบทความที่ว่าด้วยการพัฒนาจิตสำนึกแห่งตน ที่ปรากฏลงในรวมบทความของโชติรส
โกวิทวัฒนพงศ์ ชื่อ ยุโรปในมุมมองวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ของศูนย์ยุโรปศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2012 หน้า 296-300. ได้นำแง่คิดของนักปราชญ์ฝรั่งเศสชื่อ เดส์ก้าร์ต (René Descartes [เรอเน่
เดก้ารฺตฺ],
1597-1650) สรุปย่อๆมาให้พิจารณา...
ภาพ René Descartes (1596-1650) ผลงานของ Frans Hals ในราวปี 1649-1700. ภาพมาจากคลังสะสมของดยุ๊กแห่งออร์เลอ็องส์ (Orléans) พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ให้ซื้อมาในปี 1785 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Le Louvre,อาคาร Richelieu ชั้น 2 ห้อง 27 (เครดิตภาพ : André
Hatala, 1997, ปรากฏในวิกิพีเดีย, Public domain)
ข้าพเจ้าคิด ดังนั้นข้าพเจ้ามีตัวมีตน
ความคิดคืออะไร? เดส์ก้าร์ตปราชญ์ฝรั่งเศสกล่าวว่า ความคิดคือทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวเราและเรารู้ได้ทันทีด้วยตัวเราเอง (Principes de la
philosophie, I, 9). อาจต้องเจาะจงว่า ความคิดมีความหมายเดียวกับสติปัญญาในแง่ของพฤติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับอารมณ์
ความรู้สึกหรือความตั้งใจ เพราะความคิด คือความสำนึกของสติปัญญา (ที่ตรงข้ามกับการรับรู้ข้อมูลของประสาทสัมผัส), ก่อให้เกิดความเข้าใจและสร้างเหตุผลที่เอื้ออำนวย
ให้เข้าถึงเนื้อหาของความรู้หนึ่ง ด้วยการสังเคราะห์ข้อมูล
อันเป็นพฤติกรรมระดับสูงกว่าการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ด้วยการท่องจำหรือด้วยจินตนาการ. ปราชญ์ตะวันตกวิเคราะห์กันไว้ว่า โดยทั่วไป การคิดคือ การเชื่อตามที่ได้ยินโดยที่คิดว่าได้คิดแล้ว ความจริงเราเพียงให้ความเห็นหรือคล้อยตามความเห็น
มากกว่าคิดจริงๆ. การมีความเห็นเหมือนบุคคลรอบข้าง
เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะเราจำเป็นต้องมีบทอ้างอิง
ความเห็นของส่วนรวมนั้นมีอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาหาและก็ไม่สร้างปัญหาใดๆให้เหนื่อยใจ
เพราะทุกคนเข้าใจอยู่แล้ว. ท่าทีดังกล่าวสร้างความอบอุ่นใจเหมือนมีเกราะคุ้มครอง ให้ความรู้สึกว่าตนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ปลอดภัยด้วยประการทั้งปวง. การรู้คิดจริงๆจึงไม่เกิดกับทุกคน แต่เป็นสิ่งที่ต้องเรียนและฝึกฝน.
การคิดเป็นกระบวนการที่ยากและสับสนสำหรับสมองและในที่สุดเป็นเรื่องน่าเบื่อ. นักคิดทั้งหลายมักมีชื่อเสียงไม่ดี เอรัสมุส (Eramus, 1469-1536 ชาวฮอลแลนด์) เคยเขียนไว้ในหนังสือเรื่อง
สรรเสริญความบ้า (Eloge de la folie, 1511) ว่า เชิญปราชญ์มาร่วมงานเลี้ยงสักคนหนึ่งดูสิ เขาจะกลายเป็นผู้ทำลายบรรยากาศของงาน
เพราะถ้าเขาไม่นั่งนิ่งเงียบเหมือนอยู่ในป่าช้า เขาก็จะพูดพล่ามยาวเหยียด... นอกจากเขาจะสร้างภาพพจน์แง่ลบแก่ตัวเขาเอง เขายังไม่ได้สร้างภาพพจน์อันดีแก่ประเทศ แก่มิตรสหาย เพราะเขาไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ
ไม่รู้ว่าชาวบ้านทั่วไปคิดอะไร...
คนเริ่มคิดเมื่อไรนั้น ทั้งโสคราติซกับเปลโตตอบว่า เมื่อคนประหลาดใจ เราประหลาดใจเมื่อไม่เข้าใจ ไม่รู้ จึงเริ่มคิดหาคำตอบ พร้อมกับตั้งคำถาม สงสัย แล้วหาความหมายให้กับสิ่งที่สร้างความประหลาดใจแก่เรา. ผู้ที่คิดมากๆเข้าและหาคำตอบได้มากกว่าผู้อื่น จึงกลายเป็นปราชญ์ เป็นผู้มีอัจฉริยภาพเหนือสามัญชน และในที่สุดให้มรดกของ “การเป็นคนรู้คิด” ไว้เป็นอนุสรณ์แก่ประเทศและแก่โลก.
เดส์ก้าร์ตบันทึกไว้ว่า “นานแล้วที่ข้าพเจ้าพบว่าตั้งแต่ปีแรกๆในวัยเด็ก ข้าพเจ้าได้รับข้อคิดเห็นที่ผิดๆจำนวนมาก โดยเชื่อสนิทว่านั่นเป็นความจริง. เพราะฉะนั้นหลักการที่ข้าพเจ้าวางไว้สำหรับตัวเองบนพื้นฐานของข้อมูลผิดๆที่ข้าพเจ้าเรียนรู้มานั้น ย่อมใช้ไม่ได้หรือน่าสงสัย. ข้าพเจ้าจึงมาคิดว่า หากข้าพเจ้าต้องการสร้างสรรค์อะไรที่แน่แท้มั่นคงในโลกแห่งวิทยาการ จำเป็นที่ข้าพเจ้าจะละทิ้งข้อคิดเห็นทั้งหมดทั้งสิ้นที่ข้าพเจ้าเคยรู้และเชื่อเสมอมา แล้วเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่พื้นฐาน” (จากหนังสือ René Descartes, p. 267). เขายังเจาะจงไว้ว่า เขาไม่ต้องการเป็นหนี้ความรู้ใคร. เดส์ก้าร์ต ต้องการค้นหาความจริงในโลกด้วยวิธีการคณิตศาสตร์และเรขาคณิตวิเคราะห์เท่านั้น. เขาอยากค้นหาตัวตนของเขาเอง ด้วยเหตุและผลเป็นขั้นเป็นตอนไป โดยตัดความคิดเห็นอื่นใดที่มีมาออกหมด เพราะความคิดเห็นต่างๆที่รู้มา จะบดบังความจริงมากกว่าจะช่วยให้เข้าใจความจริง. เขาต้องการหาความเห็นส่วนตัวของเขาเอง หลุดจากการพูดตามพูดซ้ำคนอื่น.
ก่อนหน้าเดส์ก้าร์ตไม่นาน เลโอนารโด ดาวินชี กับนิโกลัย โกเปรนิก (Nicolaj Kopernik, 1471-1543) สองนักปราชญ์ในยุโรปยุคใหม่ ผู้ค้นพบความจริงใหม่ๆ กฎเกณฑ์ใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ สร้างทฤษฎีความรู้ด้วยสติปัญญา จากความคิดตรึกตรองจากเหตุปัจจัย จากการทดลอง ไม่ใช่จากความเชื่อหรือจากคำบอกเล่า. เป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุคศตวรรษที่ 17 เดียวกันนั้น นักปราชญ์ยุโรปเกือบทุกคน ให้ความสนใจคณิตศาสตร์และใช้แนวคณิตศาสตร์ ค้นหาเทคนิคและวิทยาการใหม่ๆ. คณิตศาสตร์เท่านั้น ที่เป็นเครื่องมือสำรวจจักรวาล สำรวจโลกมนุษย์โดยไม่ทำให้สับสน ทั้งนี้เพราะคำแต่ละคำที่เราใช้กัน เพียบด้วยความหมายที่เป็นมรดกจากวัฒนธรรมและจากประวัติศาสตร์. คำทั้งหลายจึงเป็นตัวจำกัดความคิดอ่านของเราโดยเราไม่รู้ตัว. แต่ตัวเลขไม่มีเนื้อหานัยแทรก ที่จะมีอิทธิพลต่อความคิดตัวเลขจึงเป็นตัวกลาง เป็นสื่อที่บริสุทธิ์กว่าและอาจใช้เป็นภาษา, เป็นทุ่นในการค้นหาความจริงได้ดีกว่า. ภาษาคณิตศาสตร์ ไม่มีความกำกวมใดๆ. หนึ่งบวกหนึ่งต้องเป็นสอง ไม่มีคำตอบอื่น. เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่า ภาษาคณิตศาสตร์ไม่มีนัยวัฒนธรรมอื่นแทรกซ้อนที่สร้างความสับสนได้ เพราะไม่ว่าเราจะเขียนจำนวนด้วยตัวเลขอาราบิค 1, 2, 3 ฯลฯ หรือตัวเลขไทย ๑, ๒, ๓ หรือตัวเลขโรมัน I, II, III, ความหมายคงที่เสมอ จึงเป็นภาษากลางที่ชนทุกชาติทุกภาษาสื่อถึงกันได้ทันที.
คนเริ่มคิดเมื่อไรนั้น ทั้งโสคราติซกับเปลโตตอบว่า เมื่อคนประหลาดใจ เราประหลาดใจเมื่อไม่เข้าใจ ไม่รู้ จึงเริ่มคิดหาคำตอบ พร้อมกับตั้งคำถาม สงสัย แล้วหาความหมายให้กับสิ่งที่สร้างความประหลาดใจแก่เรา. ผู้ที่คิดมากๆเข้าและหาคำตอบได้มากกว่าผู้อื่น จึงกลายเป็นปราชญ์ เป็นผู้มีอัจฉริยภาพเหนือสามัญชน และในที่สุดให้มรดกของ “การเป็นคนรู้คิด” ไว้เป็นอนุสรณ์แก่ประเทศและแก่โลก.
เดส์ก้าร์ตบันทึกไว้ว่า “นานแล้วที่ข้าพเจ้าพบว่าตั้งแต่ปีแรกๆในวัยเด็ก ข้าพเจ้าได้รับข้อคิดเห็นที่ผิดๆจำนวนมาก โดยเชื่อสนิทว่านั่นเป็นความจริง. เพราะฉะนั้นหลักการที่ข้าพเจ้าวางไว้สำหรับตัวเองบนพื้นฐานของข้อมูลผิดๆที่ข้าพเจ้าเรียนรู้มานั้น ย่อมใช้ไม่ได้หรือน่าสงสัย. ข้าพเจ้าจึงมาคิดว่า หากข้าพเจ้าต้องการสร้างสรรค์อะไรที่แน่แท้มั่นคงในโลกแห่งวิทยาการ จำเป็นที่ข้าพเจ้าจะละทิ้งข้อคิดเห็นทั้งหมดทั้งสิ้นที่ข้าพเจ้าเคยรู้และเชื่อเสมอมา แล้วเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่พื้นฐาน” (จากหนังสือ René Descartes, p. 267). เขายังเจาะจงไว้ว่า เขาไม่ต้องการเป็นหนี้ความรู้ใคร. เดส์ก้าร์ต ต้องการค้นหาความจริงในโลกด้วยวิธีการคณิตศาสตร์และเรขาคณิตวิเคราะห์เท่านั้น. เขาอยากค้นหาตัวตนของเขาเอง ด้วยเหตุและผลเป็นขั้นเป็นตอนไป โดยตัดความคิดเห็นอื่นใดที่มีมาออกหมด เพราะความคิดเห็นต่างๆที่รู้มา จะบดบังความจริงมากกว่าจะช่วยให้เข้าใจความจริง. เขาต้องการหาความเห็นส่วนตัวของเขาเอง หลุดจากการพูดตามพูดซ้ำคนอื่น.
ก่อนหน้าเดส์ก้าร์ตไม่นาน เลโอนารโด ดาวินชี กับนิโกลัย โกเปรนิก (Nicolaj Kopernik, 1471-1543) สองนักปราชญ์ในยุโรปยุคใหม่ ผู้ค้นพบความจริงใหม่ๆ กฎเกณฑ์ใหม่ๆทางวิทยาศาสตร์ สร้างทฤษฎีความรู้ด้วยสติปัญญา จากความคิดตรึกตรองจากเหตุปัจจัย จากการทดลอง ไม่ใช่จากความเชื่อหรือจากคำบอกเล่า. เป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุคศตวรรษที่ 17 เดียวกันนั้น นักปราชญ์ยุโรปเกือบทุกคน ให้ความสนใจคณิตศาสตร์และใช้แนวคณิตศาสตร์ ค้นหาเทคนิคและวิทยาการใหม่ๆ. คณิตศาสตร์เท่านั้น ที่เป็นเครื่องมือสำรวจจักรวาล สำรวจโลกมนุษย์โดยไม่ทำให้สับสน ทั้งนี้เพราะคำแต่ละคำที่เราใช้กัน เพียบด้วยความหมายที่เป็นมรดกจากวัฒนธรรมและจากประวัติศาสตร์. คำทั้งหลายจึงเป็นตัวจำกัดความคิดอ่านของเราโดยเราไม่รู้ตัว. แต่ตัวเลขไม่มีเนื้อหานัยแทรก ที่จะมีอิทธิพลต่อความคิดตัวเลขจึงเป็นตัวกลาง เป็นสื่อที่บริสุทธิ์กว่าและอาจใช้เป็นภาษา, เป็นทุ่นในการค้นหาความจริงได้ดีกว่า. ภาษาคณิตศาสตร์ ไม่มีความกำกวมใดๆ. หนึ่งบวกหนึ่งต้องเป็นสอง ไม่มีคำตอบอื่น. เราเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่า ภาษาคณิตศาสตร์ไม่มีนัยวัฒนธรรมอื่นแทรกซ้อนที่สร้างความสับสนได้ เพราะไม่ว่าเราจะเขียนจำนวนด้วยตัวเลขอาราบิค 1, 2, 3 ฯลฯ หรือตัวเลขไทย ๑, ๒, ๓ หรือตัวเลขโรมัน I, II, III, ความหมายคงที่เสมอ จึงเป็นภาษากลางที่ชนทุกชาติทุกภาษาสื่อถึงกันได้ทันที.
เดส์ก้าร์ต
จึงใช้วิธีการของคณิตศาสตร์และอภิปรายตามแนวของปรัชญา เพื่อหาความรู้ตั้งแต่ศูนย์ขึ้นไป ตัดความรู้ต่างๆที่เขาเรียนมาจากโรงเรียนทิ้งหมดสิ้น. เขาเริ่มจากตัวเองก่อนว่า
เขาเป็นใคร คืออะไร มีตัวตนไหมและมีอะไรเป็นต้น. เขาเริ่มหาความจริงของเขาทีละอย่างทีละขั้นๆ เมื่อได้คำตอบก็ก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่ง
โยงเกี่ยวกันเป็นลูกโซ่ที่มั่นคงและไม่หลุดสลายลง, ด้วยวิธีการแบบนี้ เขาสร้างตัวเขาเองใหม่ บุคลิกใหม่ ให้ความหมายใหม่แก่คำว่า
ผม(ข้าพเจ้า) เป็น “ข้าพเจ้า” ที่ไม่เหมือนใครเลย. เขาเนรมิต “ตัวผม” ที่รู้คิดขึ้นมา เพราะฉะนั้นเมื่อเขาอุทานออกมาว่า“ ข้าพเจ้าคิด ข้าพเจ้าจึงมีตัวตน” (Je pense donc je suis. หรือในภาษาอังกฤษว่า I think, therefore I am. สำนวนละตินที่จดจำกันในหมู่ชาวยุโรปคือ Cogito, ergo
sum.) เป็นเสียงแห่งความมั่นใจ เป็นเสียงของความสุขที่ได้ค้นพบตัวเอง ลากตัวเองออกจากความมืดอันเวิ้งว้างสู่แสงสว่าง.
แต่ยุคนั้นการเป็นคนรู้คิดเป็นภัยต่อสังคม ต่อระบบสมบูรณาญาสิทธิราชและต่อศาสนา. เดส์ก้าร์ต ต้องลี้ภัยออกจากประเทศฝรั่งเศสไปสวีเดน ไปให้ไกลจากอิทธิพลแวดล้อมที่ส่งผลต่อการค้นหาความจริงของเขา ตอนนั้นเขามีอายุ 23 ปี. งานเขียนของเขา (Les Méditations) พิมพ์เผยแพร่ออกมาในปี 1637 เท่านั้นเมื่อเขาอายุ 41 ปี. ในยุคเดียวกันนั้น กาลิเลโอ พิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลม มีแรงศูนย์ถ่วงฯลฯ และถูกคริสต์ศาสนาประณามว่าเป็นคนสติฟั่นเฟือน (ปี 1633). กาลิเลโอตกอับและอยู่ในความลำบากยากแค้นตลอดยี่สิบปีสุดท้ายของชีวิต.
แต่ยุคนั้นการเป็นคนรู้คิดเป็นภัยต่อสังคม ต่อระบบสมบูรณาญาสิทธิราชและต่อศาสนา. เดส์ก้าร์ต ต้องลี้ภัยออกจากประเทศฝรั่งเศสไปสวีเดน ไปให้ไกลจากอิทธิพลแวดล้อมที่ส่งผลต่อการค้นหาความจริงของเขา ตอนนั้นเขามีอายุ 23 ปี. งานเขียนของเขา (Les Méditations) พิมพ์เผยแพร่ออกมาในปี 1637 เท่านั้นเมื่อเขาอายุ 41 ปี. ในยุคเดียวกันนั้น กาลิเลโอ พิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลม มีแรงศูนย์ถ่วงฯลฯ และถูกคริสต์ศาสนาประณามว่าเป็นคนสติฟั่นเฟือน (ปี 1633). กาลิเลโอตกอับและอยู่ในความลำบากยากแค้นตลอดยี่สิบปีสุดท้ายของชีวิต.
ปัจจุบันสังคมตะวันตก
ค้ำจุนและปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการคิด เหมือนหรือต่างจากคนอื่น
หรือผิดแปลกจากระบบสังคม จากระบบศาสนาหรือค่านิยมของสถาบันใด. แต่ในศตวรรษที่17นั้น อาจมีโทษถึงตาย. ชาวฝรั่งเศสต้องคอยการปฏิวัติฝรั่งเศส(ปี 1789) เพื่อการมีเสรีภาพในการคิดและการมีความเห็นของตนเอง ตามบัญญัติที่ระบุไว้ในประกาศสิทธิมานุษยชนและสิทธิของประชาชนบทหนึ่งที่ว่า ไม่มีใครต้องหวาดกังวลเกี่ยวกับความคิดเห็นของตนเอง. กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพในการคิด
ในการมีความเห็นของประชาชนแต่ละคน. เสรีภาพนี้ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันในทุกประเทศ.
ในที่สุด ชาวฝรั่งเศสเรียนรู้อะไรจากงานเขียนของ
เดส์ก้าร์ต พอจะสรุปได้ว่า เขาแนะให้สงสัยไว้ก่อนว่า ข้อมูลเอกสารทั้งหมด มาจากขนบหรือธรรมเนียมที่คนอื่นวางไว้และที่ตกทอดมา เพราะฉะนั้นไม่อาจนำมาเป็นความจริงแท้แน่นอนได้ เพื่อให้ได้ความจริงหรือความรู้ที่แท้จริง ต้องคิดดังนี้
1) แบ่งปัญหาที่เผชิญออกเป็นรายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆลงไปให้มากที่สุด
ให้เป็นคำถามเล็กๆโดยที่แต่ละคำถามมีหนึ่งปัญหาเล็กปัญหาเดียว เช่นนี้สติปัญญาจะแก้ปัญหาทีละปัญหาไป อันเป็นสิ่งง่ายกว่า.
วิธีการนี้ดูจะได้ผลดีที่สุด
โดยเฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์ ที่ยังคงใช้วิธีนี้แก้ปัญหาเสมอมาจนถึงปัจจุบัน.
2) ให้พินิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ยินได้ฟังมาด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ว่าทุกส่วนมีเหตุมีผลต่อเนื่องกันอย่างแท้จริงหรือไม่ และเพื่อวัดความถูกต้องของข้อความ ต้องเปิดโอกาสรับรู้และเข้าใจข้อมูลกว้างออกไป ซึ่งเป็นการตรวจสอบความถูกต้องหรือความเป็นไปได้หรือไม่ ของข้อมูลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกับให้โอกาสเปรียบเทียบและพิสูจน์ข้อมูลว่าจริงหรือไม่จริง.
วิธีการของเดส์ก้าร์ต เป็นหลักสำคัญในการเรียนรู้ความจริงแบบวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้เกี่ยวกับปรัชญาว่าน่าเชื่อมากน้อยเพียงใด. ด้วยวิธีการนี้ปราชญ์รุ่นต่อๆมา ค้นพบจุดบกพร่องต่างๆในปรัชญาตะวันตก. เดส์ก้าร์ต จึงเป็นผู้เปิดทางของการคิดแก่โลก.
2) ให้พินิจพิจารณาข้อมูลที่ได้ยินได้ฟังมาด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ว่าทุกส่วนมีเหตุมีผลต่อเนื่องกันอย่างแท้จริงหรือไม่ และเพื่อวัดความถูกต้องของข้อความ ต้องเปิดโอกาสรับรู้และเข้าใจข้อมูลกว้างออกไป ซึ่งเป็นการตรวจสอบความถูกต้องหรือความเป็นไปได้หรือไม่ ของข้อมูลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกับให้โอกาสเปรียบเทียบและพิสูจน์ข้อมูลว่าจริงหรือไม่จริง.
วิธีการของเดส์ก้าร์ต เป็นหลักสำคัญในการเรียนรู้ความจริงแบบวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้เกี่ยวกับปรัชญาว่าน่าเชื่อมากน้อยเพียงใด. ด้วยวิธีการนี้ปราชญ์รุ่นต่อๆมา ค้นพบจุดบกพร่องต่างๆในปรัชญาตะวันตก. เดส์ก้าร์ต จึงเป็นผู้เปิดทางของการคิดแก่โลก.
แต่เมื่อฝึกคิดตามนี้จนเป็นนิสัยแล้ว ก็ยากจะหยุดอยู่ที่การเรียนรู้เท่านั้น. นิสัยแบบนี้แทรกเข้าในชีวิตสังคมด้วย ทำให้สงสัยคำพูดของทุกคนไว้ก่อนว่าไม่จริง หรือเห็นว่าการสนทนาเป็นเพียงมารยาทสังคมที่ไร้ความหมายที่แท้จริง. หากคิดเช่นนี้ย่อมทำลายความสงบในสังคม กระทบกระเทือนไปหมดทุกฝ่าย
เพราะเกิดอคติล่วงหน้าไว้แล้วว่า คนเราพูดเพื่อพูดเท่านั้น. เพราะฉะนั้นการนำลัทธิ
เดส์ก้าร์ต ไปใช้ในสังคมจึงมีภัย ซึ่งปราชญ์เองรู้ตระหนักถึงข้อนี้และได้เตือนไว้. ในทำนองเดียวกัน
ก็ทำให้นึกต่อไปถึงบทบาทของภาษาในสังคม ดังที่รู้กันแล้วว่าภาษามีหลายระดับที่อาจให้นัยความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงแม้จะสื่อเนื้อหาเดียวกัน. อย่างไรก็ดี
เดส์ก้าร์ต เป็นผู้เริ่มปูทางปรัชญาแนวใหม่ ด้วยการชี้ให้เห็นว่า
ต้องระวังความหมายซ้อนๆที่ติดมาจากวัฒนธรรมของคำแต่ละคำ, อย่ารับมันมาเต็มร้อยโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วน.
เดส์ก้าร์ต พิมพ์งานเขียนของเขาเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งก็ผิดธรรมเนียมในศตวรรษที่ 17 ที่หนังสือความรู้ วิทยาการหรือปรัชญาเขียนเป็นภาษาละติน. เขายืนยันความเป็นคนฝรั่งเศส เน้นความสำคัญของการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารกับชาวฝรั่งเศส, ให้ชาวฝรั่งเศสทุกคนเป็นผู้อ่าน, เป็นผู้ตัดสินงานเขียนของเขา, ไม่ใช่กลุ่มปัญญาชนกลุ่มน้อยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันศาสนาที่ใช้ภาษาละติน. เมื่องานเขียนของเขาพิมพ์ออกสู่สังคม 18 ปีต่อมา (1637), ปัญญาชนยุโรปตื่นตัว ต่างเริ่มจับ “ความคิด” มาเป็นหัวข้อศึกษาทางปรัชญา. ยุโรปตอนนั้นพูดภาษาฝรั่งเศส คำกล่าวของเดส์ก้าร์ต ที่ว่า “ ข้าพเจ้าคิด ข้าพเจ้าจึงมีตัวตน” ฝังอยู่ในจิตสำนึกของชาวยุโรปตั้งแต่นั้นมา, เป็นแนวศึกษาใหม่ที่เรียกว่า การเตเซียนิสซึม (cartésianisme) ที่สอนในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ปี 1662 ที่เมืองลูแว็ง (Louvain ประเทศเบลเยียม), ที่มหาวิทยาลัยซอรบอนน์ (Sorbonne) ในปี 1669 และปี 1672, และเป็นหนึ่งในหนังสือต้องอ่านในระบบการศึกษาฝรั่งเศสตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20. ฝรั่งเศสดูเหมือนจะเป็นประเทศเดียวที่บังคับสอบวิชาปรัชญาในประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย. ระบบการศึกษาฝรั่งเศส จึงยังคงให้ความสำคัญแก่การรู้จักคิด. ชื่อเดส์ก้าร์ต ใช้เรียกมหาวิทยาลัยปารีสที่ห้า (Université René Descartes). ปรัชญาของ เดส์ก้าร์ต วางเทคนิคการคิดเพราะผู้รู้คิดคือผู้ค้นพบตัวเอง, สืบทอดการหาความรู้และความจริงด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ที่เลโอนารโดและโกเปรนิกเป็นผู้บุกเบิกกรุยทางไว้.
เดส์ก้าร์ต พิมพ์งานเขียนของเขาเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งก็ผิดธรรมเนียมในศตวรรษที่ 17 ที่หนังสือความรู้ วิทยาการหรือปรัชญาเขียนเป็นภาษาละติน. เขายืนยันความเป็นคนฝรั่งเศส เน้นความสำคัญของการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารกับชาวฝรั่งเศส, ให้ชาวฝรั่งเศสทุกคนเป็นผู้อ่าน, เป็นผู้ตัดสินงานเขียนของเขา, ไม่ใช่กลุ่มปัญญาชนกลุ่มน้อยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันศาสนาที่ใช้ภาษาละติน. เมื่องานเขียนของเขาพิมพ์ออกสู่สังคม 18 ปีต่อมา (1637), ปัญญาชนยุโรปตื่นตัว ต่างเริ่มจับ “ความคิด” มาเป็นหัวข้อศึกษาทางปรัชญา. ยุโรปตอนนั้นพูดภาษาฝรั่งเศส คำกล่าวของเดส์ก้าร์ต ที่ว่า “ ข้าพเจ้าคิด ข้าพเจ้าจึงมีตัวตน” ฝังอยู่ในจิตสำนึกของชาวยุโรปตั้งแต่นั้นมา, เป็นแนวศึกษาใหม่ที่เรียกว่า การเตเซียนิสซึม (cartésianisme) ที่สอนในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ปี 1662 ที่เมืองลูแว็ง (Louvain ประเทศเบลเยียม), ที่มหาวิทยาลัยซอรบอนน์ (Sorbonne) ในปี 1669 และปี 1672, และเป็นหนึ่งในหนังสือต้องอ่านในระบบการศึกษาฝรั่งเศสตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20. ฝรั่งเศสดูเหมือนจะเป็นประเทศเดียวที่บังคับสอบวิชาปรัชญาในประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย. ระบบการศึกษาฝรั่งเศส จึงยังคงให้ความสำคัญแก่การรู้จักคิด. ชื่อเดส์ก้าร์ต ใช้เรียกมหาวิทยาลัยปารีสที่ห้า (Université René Descartes). ปรัชญาของ เดส์ก้าร์ต วางเทคนิคการคิดเพราะผู้รู้คิดคือผู้ค้นพบตัวเอง, สืบทอดการหาความรู้และความจริงด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ที่เลโอนารโดและโกเปรนิกเป็นผู้บุกเบิกกรุยทางไว้.
เดี๋ยวนี้ทุกคน
ทุกมุมโลก กินอยู่(เกือบ)แบบเดียวกัน ใช้สินค้าแบบเดียวกัน แต่งตัวเหมือนๆกัน
และแน่นอนอีกไม่นานอาจจะพูดภาษาเดียวกัน แม้กระนั้นเกือบทุกคนเชื่อมั่นว่าตัวเองคิดเป็นและคิดต่าง...
โชติรส
โกวิทวัฒนพงศ์ บันทึกเพื่อนำลงเผยแพร่ในบล็อก
เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๗.
ปิ่นเพิ่งมาเริ่มอ่านบทความคุณอาโช เรื่องนี้เรื่องแรกคะ หัวข้อ ชื่อเรื่อง น่าสนใจ ดึงให้ปิ่นเปิดอ่าน และไม่ผิดหวังเลยคะ ปิ่นได้แนวคิดใหม่ และปิ่นก็เป็นหนึ่งในคนที่ชอบอ่าน quote และถ้าถูกใจก็ชอบจดไว้ รวมทั้งโพสใน Facebook ด้วยคะ ปิ่นภาษายังไม่ดีมากพอที่จะเขียนในความเข้าใจของตัวเองในภาษาอื่น แต่ว่า บางทีปิ่นก็เขียนเกี่ยวกับความคิดตัวเองที่เกี่ยวกับ quote นั้น เป็นภาษาไทย นึกแล้วก็รู้สึกละอายใจ ว่าเราเรียนภาษาอังกฤษ และเยอรมันมานานพอสมควรแต่ไม่สามารถที่จะทำให้เราเก่งพอที่จะเขียนในคำพูดตัวเองได้ บทความนี้ทำให้ปิ่นอยากที่จะสามารถเขียนในความคิดตนเองในภาษาอื่นได้มากขึ้นคะ และอีกเรื่องที่ได้จากบทความนี้คือ คณิตศาสตร์ ปิ่นอ่านแล้ว รู้สึกดีกับวิชาคณิต มากขึ้นจริงๆคะ
ReplyDelete